5/31/17

18พ.ค.2560 SRRT จ.ยโสธร_เครือข่าย วิชาการเข้มข้น ป้องกันควบคุมโรคยั่งยืน

18พ.ค.2560 SRRT จ.ยโสธร_เครือข่าย วิชาการเข้มข้น ป้องกันควบคุมโรคยั่งยืน

            วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และ คณะ เข้าร่วม ประชุมการพัฒนาศักยภาพ
เครือข่าย SRRT จังหวัดยโสธร ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ประธานเปิดงานและให้แนวทางการำงาน โดย นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
            คณะวิทยากร โดย อ.นพ.วิทยา สวัสดิวุฒิพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค
อ.ชัยนันต์ บุตรกาล จาก สำนักงานควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี
วัตถุประสงค์หลัก คือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดต่อ
และพัฒนาศักยภาพการเขียนรายงานการสอบสวนโรค การนำเสนอผลการสอบสวนโรค และการนำเสนอผลงานเด่น ด้านการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดต่อ(Good Practice)
            ฝ่ายเลขานุการการจัดประชุม โดย หน.จรรยา ดวงแก้ว หัวน้ากลุ่มงาน และคณะจากกลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร










            ขอชื่นชม และ เป็นกำลังใจ ให้กับผู้นำเสนอผลงานวิชาการ ในเวทีนี้ทุกๆท่าน ครับ
ในการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย SRRT จังหวัดยโสธร ประจำปี 2560 รายชื่อดังนี้

คำประทับใจ อาทิเช่น อาหารเป็นพิษ
การนิยามอาหาร หลัก หากมีลาบที่ไม่ปรุงสุก ให้พิจารณาอันดับแรก
           
หากอาการรอง อาจเพิ่ม
            การนิยามอาการ ในการค้นหา อาจนำมาจากอาการของ Index Case
กรณี DHF การเสนอข้อมูล BI HI CI หากมี ข้อมูล ก่อนการรณรงค์ ระหว่าง การรณรงค์และหลังการ การรณรงค์จะสมบูรณ์มาก
            ที่บ้านโคกนาโก เกิด DHF หน้าแล้ง ... ชาวบ้าน ยอมให้มีลูกน้ำใน ภาชนะเก็บกักน้ำ มากกว่าจะยอมขาดแคลนน้ำ
           
ที่บ้านหนองคู  มีการสำรวจ BI HI CI  และ ผล Lab แสดงราย Case
            DHF สั้นสุด 3 สูงสุด 14 วัน
            หากเป็นยุงตัวใหม่ ที่กัดคนมีเชื้อ ไปกัดคนอื่น
            ตัวบอกได้ คือ HI CI ลงหรือไม่
โรคสุกใส
            เป็น Common Source คือ รับเชื้อจากแหล่งเดียวกัน
            ความสำคัญ ของเราคือ มีเป็น Pneumonia ด้วยหรือไม่
หรือ มีผู้ร่วมบ้าน ผู้สัมผัส เป็น สุกใส หรือ เป็น สุกใส ด้วยหรือไม่
อันตรายคือ สุกใส เชื้อจะเก็บ แฝงไว้ในร่างกายที่ปมประสาท
            เวลามีความเครียด แล้ว เชื้อจะออกมา แสดงออกมา ในรูปแบบของ เชื้อ งูสวัด

Paper แม่และลูก นี้ มีโอกาสไปต่อได้ถึงระดับประเทศ
กรณี แม่และลูก เด็กติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ จากกระแสเลือด ติดเชื้อจากแม่ ไปสู่ ลูก
ฉะนั้น index Case เป็นแม่  จึงให้ความสำคัญกับแม่
            ข้อสงสัยว่าเป็นได้ทั้ง หัด เดงกี่ ต้องจากผล LAB
หากสามารถป้องกัน การเสียชีวิตจาก เกล็ดเลือดต่ำได้ ถือว่า คุ้ม
           
            ในการวิจารณ์ผล ควรระบุ มือเท้าปาก แม้ผล lab ไม่แสดง enterovius
แต่ สามารถชี้ได้ว่าเป็น มือเท้าปาก เพราะ
1อาการและอาการแสดงเข้าทุกอย่าง รวมทั้ง 2มีระยะฟักตัว ที่เข้าได้ กับ มือเท้าปาก
            การเก็บตัวอย่าง ใช้ VTM หรือ UTM ให้ ระบุ ในการวิจารณ์ผลด้วย
ในระยะ 7 วันแรก เก็บ Throat Swab
ในระยะ 7 วันหลัง เชื้อ ลงลำไส้แล้ว เก็บ stool ด้วย
การให้คำแนะนำ เพราะ เด็กป่วย จะมีเชื้อออกทางอุจาระ
ฉะนั้น การทำความสะอาดและมาตรการเฉพาะใน ศูนย์เด็กคงไมเพียงพอ ต้อง ใน มาตรการคอบครัวด้วย

            คำเขื่อนแก้ว มือเท้าปาก ศูนย์เด็ก Entero Virus 71 แน่นอน
การเฝ้าระวัง มือเท้าปาก จุดประสงค์สำคัญ คือเพื่อเฝ้าระวัง Entero Virus 71 ซึ่งทำให้ เกิด สมองอักเสบ

อธิบายเพิ่มด้วยว่า มีผู้มีอาการเหล่านี้มาก่อนหรือไม่
หรือมีอาการ สมองอักเสบ ด้วยหรือไม่
            ต้องเก็บใน ice pack และ นำส่ง ภายใน 24 ชม.
ล้างน้ำ โถส้วมให้สะอาดด้วยน้ำ ที่ไม่ใส่น้ำยา ก่อน แล้วให้เด็ก นั่งกลับข้าง อึ แล้ว ตักเอา ให้เพียงพอ



ขอแสดงความยินดี กับตัวแทนคนดีศรีระบาด ระดับตำบล / อำเภอ
1) อ.เมืองยโสธร - นางจริยา บุญทัย -นางสาวกัลยพัทธ์ เตโช
2) อ.ทรายมูล -นางสาวสุปรานี  ในจิตร
3) อ.กุดชุม -นางจิราวรรณ สุวรรณศรี
4) อ.คำเขื่อนแก้ว -นางเดือน  ตั้งจิตร
5) อ.ป่าติ้ว -นายนิรันต์ ถึงแสง
6) อ.มหาชนะชัย -นางสาวกุลิสรา  ตั้งมั่น
7) อ.ค้อวัง -นายภาณุวัฒน์  บุญโญ
8) อ.ไทยเจริญ  -นายณัฐพงษ์ พลมาตร
9) อ.เลิงนกทา -นายจินดา  แก้วจันทร์
ระดับอำเภอ -นายเดชา  ป้องศรี
ระดับรพท. -นายสมพร  จันทร์แก้ว


วันที่ 19 พค.60 สสจ.ยส.ขอชิญ ผู้รับผิดชอบงาน ควบคุมโรค รพ.สต.ทุกแห่ง เข้าประชุม เรื่องการบันทึกข้อมูลโรคที่ต้องเฝ้าระวัง จาก HosXP  ณ สสจ.ยส. เวลา 09.0 น. 

No comments:

Post a Comment