3/22/20

10 มี.ค.63 ร่วมด้วยช่วยสู้ COVID-19หน้ากากผ้า Gel ล้างมือ ผอ.สาวียะ และคณะ กศน.อ.ค้อวัง ฝึกอาชีพ ให้ทุกตำบล

10 มี.ค.63 ร่วมด้วยช่วยสู้ COVID-19หน้ากากผ้า Gel ล้างมือ ผอ.สาวียะ และคณะ กศน.อ.ค้อวัง ฝึกอาชีพ ให้ทุกตำบล
วันที่ 10 มีนาคม 2563 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ ร่วมเป็นวิทยากร ให้ความรู้  กลุ่ม นักศึกษาและกลุ่มอาชีพ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร
ทั้งนี้   ผอ.สาวียะ และคณะ กศน.อ.ค้อวัง ฝึกอบรม ให้กับกลุ่มอาชีพ จากทุกตำบล เพื่อทำ  หน้ากากผ้า และGel ล้างมือ
เนื้อหาเรื่อง สื่อสารความเสี่ยงป้องกันการตื่นตระหนก แต่ให้ทุกคนตระหนัก ให้ความรัก ซึ่งกันและกัน เน้นการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไวรัส โคโรนา 2019 หรือ COVID19

กินร้อน ช้อนฉัน หมั่นล้างมือด้วยสบู่ อยู่ห่างกัน 

ญาติ พี่น้องเรา ที่กลับมาจากต่างประเทศ ไม่ใช่ผู้ร้าย ไม่ใช่ผู้ป่วย เขายังคงเป็น ญาติ พี่น้องเรา เหมือนเดิม
ไม่มีใครอยากจากบ้าน จากพี่จากน้องไปต่างประเทศ หรือแม้แต่ไปกรุงเทพ เขาไปเพราะเขาอยากช่วยครอบครัว อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น วันนี้เขาหนีภัยกลับมา พวกเราต้องร่วมกัน พร้อมต้อนรับ แต่ ให้รักด้วยความห่วงใย ตามคำแนะนำของ หมออนามัย ตามคำแนะนำของ อสม. เรานะครับ

ยุทธวิธี สู้กับ COVID-19 ที่สำคัญ 5 ประการ หรือ 5 Key Messages
หากเป็นการต่อสู้กับ เชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 มียุทธวิธีที่สำคัญ 5 ประการ หรือ 5 Key Messages

1 ล้างมือเป็นนิสัย 2 ไอจามให้ปิดปาก 3 สวมหน้ากากอนามัย 4 ไม่ไปที่ชุมชน 5 พักตนเมื่อเป็นไข้
               ผู้นำ และ นักศึกษ กศน. ต้อง การสื่อสาร 5 Key Messages ปฏิบัติตนป้องกัน COVID-19 ง่ายๆ ถึงประชาชน ให้ครอบคลุมมากที่สุด

1 ล้างมือเป็นนิสัย 2 ไอจามให้ปิดปาก 3 สวมหน้ากากอนามัย 4 ไม่ไปที่ชุมชน 5 พักตนเมื่อเป็นไข้

ล้างมือเป็นนิสัย
ล้างมือด้วยสบู่ หรือด้วย Gel ล้างมือ ครั้งละ 20-30 วินาที  ตามการล้างมือ 7 ขั้นตอน
            1.ขี่หน้า ขี่หน้า ( ฝ่ามือถูฝ่ามือ รวมซอกนิ้ว)
            2.ขี่หลัง ขี่หลัง ( ฝ่ามือถูหลังมือ รวมซอกนิ้ว)
            3.ถูหลัง ถูหลัง ( ฝ่ามือถูหลังมือ )
            4.ระวังมะเหงก   (ฝ่ามือขัดหลังนิ้ว  กำมือเป็นกำปั้นแล้วใช้ฝ่ามือถูหลังนิ้ว สลับข้างกัน )
            5.นิ้วเอกอย่ากาย  ( หมุนรอบหัวแม่มือ)
            6.ปลายมือย่ารอ (ปลายมือ เซะแคะแกะเกาขี้ไคลออกให้มากที่สุด)
            7.ข้อมือให้สะอาด ( หมุนรอบข้อมือ)
ไอ จาม ให้ปิดปาก   การไอ จำม ที่ถูกวิธี  
- เมื่อรู้สึกว่าจะไอ จาม ควรหากระดาษชำระ หรือทิชชู่ มาปิดปาก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคกระจาย แล้วนำไป ทิ้งในถังขยะปิดให้เรียบร้อย
- เมื่อรู้สึกว่าจะไอ จาม แล้วไม่มีกระดาษชำระ ควรใช้การไอ จามใส่ข้อศอก โดยยกแขนข้างใดข้างหนึ่งมาจับไหล่ ตัวเองฝั่งตรงข้าม และยกมุมข้อศอกปิดปากและจมูกตนเองก่อนจาม ไอทุกครั้งไม่ควรไอ จามใส่มือ
- หลังจากไอ จามเสร็จแล้ว ควรรีบล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เพื่อกำจัดเชื้อโรค ไม่ให้แพร่กระจาย
สวมหน้ากากอนามัย   วิธีการสวมหน้ากากอนามัย Mask ที่ถูกต้อง 
1.     หันหน้ากากด้านสีเขียวเข้มออก เอาสีขาวเข้าหาหน้าตัวเอง
2.     จะมีด้านหนึ่งที่มีโลหะเส้นเล็กๆ อยู่ภายใน ให้เอาตำแหน่งนั้นไว้ที่สันจมูก
3.     คล้องเชือกไว้กับหู ปรับตำแหน่งให้พอดี
4.     ดึงหน้ากากส่วนล่างให้ลงมาปิดคาง
5.     กดตรงส่วนของโลหะบนสันจมูก ให้โค้งรับสันจมูกพอดี เพื่อให้หน้ากากแนบชิดใบหน้าให้ได้มากที่สุด
6.     ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน และไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น


จาก 5 ยุทธวิธีด้านบน มียุธภัณฑ์ หรือ อาวุธ ที่ต่อสู้กับ COVID-19 ได้ไหม ตอบว่ามี คคือ หน้ากากอนามัยครับ


พระเอกหน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้า ( Mask ผ้า )   ปัจจุบัน หากไม่ป่วย แนะนำให้ใช้ วัสดุทางการแพทย์ ที่ง่ายและใช้ได้ผลมากที่สุด คือหน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้า( Mask ผ้า ) ซึ่งสามารถผลิตได้เอง ซัก ตากแดด สามารถใช้ซ้ำได้ เป็น 100 ครั้ง ประหยัด ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะหาก ใส่หน้ากากทางการแพทย์ จะสร้างขยะ มากมาย และพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งเป็นภาระการจัดเก็บและการทำลาย หากนำไปเผา ก็จะสร้างมลพิษฝุ่นจิ๋ว PM2.5 เป็นภาระต่อสังคมได้อีกด้วย
ไม่ไปที่ชุมชน  ภาษาฝรั่ง ว่า Social Distancing หรือ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ
              
การรักษาระยะห่างทางสังคม(Social Distancing) ที่จะส่งผลต่อการลดจำนวนผู้ป่วยขององค์การอนามัยโลกหรือฮู(WHO) ระบุว่า หากคนในประเทศไทย 90 % ร่วมกันรักษาระยะห่างจะทำให้ตัวเลขผู้ป่วยลดลงทันที
Social Distancing นี้ หากทำ แต่ไม่ถึง 90 % ไม่ส่งผลให้สามารถลดการติเชื้อได้

               การรักษาระยะห่างทางสังคม ที่ดีที่สุดคือ การหยุด อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ
หากจำเป็นต้องไป ต้อง เว้นระยะห่าง อย่างน้อย 1 เมตร ในทุกๆกิจกรรม ทั้งบนรถโดยสาร การจัดห้องประชุม หรือ การยื่น การหยิบ จับระหว่างกัน เป็นต้น

พักตนเมื่อเป็นไข้
            หากรู้ หรือได้รับแจ้งว่า มีไข้ ควรพักตนเอง อยู่ในบ้าน ให้หายไข้ก่อน หากมีอาการ ไอ      อย่างน้อย 14 วัน
คำว่าพักตนคือ ครบระยะเวลา 14 วัน ทั้งนี้ ระหว่างการพักตน จะมีปัญหาตามมาคือ เซ็ง เบื่อ หงุดหงิด ต้องหากิจกรรม เพื่อความเพลิดเพลิน หรือ ทำสิ่งอื่นๆ ที่ก่อประโยชน์ เช่น ทำความสะอาดบ้าน จัดตู้เสื้อผ้า ปลูก รดน้ำต้นไม้ ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง และอื่นๆ ตามเหมาะสม
            แต่หาก ยังไม่หายเบื่อ เซ็ง ให้ปรึกษา หมออนามัย ได้ทุกแห่งทั่วประเทศครับ

เปลี่ยนจากความกลัว ให้มีความรักต่อกัน และแปลงเป็นความกล้า ที่จะเผชิญ กับสถานการณ์ อย่างมีสติดังนี้
กินร้อน ช้อนฉัน หมั่นล้างมือด้วยสบู่ อยู่ห่างกัน 
นอกจาก แนวปฏิบัติทั่วไป กินร้อน ช้อนฉัน หมั่นล้างมือด้วยสบู่ อยู่ห่างกัน  แล้ว
ทุกๆคนต้องสร้างและป้องกันตนเองให้แข็งแกร่ง ตาม มาตรการ 3 ก.
สาธารณสุขอำเภอค้อวัง เน้น 3 ก  ต่อสู้ COVID
ก  ที่ 1 หน้ากากอนามัย                 เน้นในผู้ป่วย และ ผู้เกี่ยวข้อง
               ผู้ป่วย หากรู้ว่าตนเองป่วย หรือมีไข้ ต้องมีจิตสำนึก รับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย
   ล้างมือเป็นนิสัย ไอจามให้ปิดปาก สวมหน้ากากอนามัย ไม่ไปในที่ชุมชน และพักตนเมื่อเป็นไข้
            คำว่าพักตนคือ ครบระยะเวลา 14 วัน ตามที่กำหนด  ( แนวทางที่กำหนด รายละเอียดด้านล่าง )
ก  ที่ 2 เก็บขยะ   เน้น ความสะอาด ทั้งใน และ รอบๆ บ้าน
               ดูแลสิ่งของเครื่องใช้ให้สะอาด ไม่ควรใช้สิ่งของ เครื่องใช้ร่วมกับบุคลอื่น

ก  ที่ 3 เกราะภายในร่างกาย          ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะต่อสู้ได้แทบๆทุกๆโรค
                        การสร้างเกราะ ให้กับตนเอง ง่ายๆ ด้วย 3 อ. เว้น 2 ส.
            อาหาร   ออกกำลังกาย อารมณ์  งด สุรา และ งด ยาสูบ
เกราะ รอบกาย คือ ไม่ไปที่ชุมชน อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ งดการปฏิสัมพันธ์กันให้มากที่สุด
หากจำไปต้องไป หรือเข้าไปพบปะบุคคลอื่น ควรเว้นระยะห่างระหว่างกัน 6 ฟุต หรือ อย่างน้อย 1 เมตร
            ไม่จำเป็นไม่ควรเข้าไปในสถานที่ที่มีคนมากๆ  เป็นต้น











ตรวจหา COVID-19 ฟรีได้ไหม
 สำหรับผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ฯสามารถตรวจหา COVID-19 ฟรีนั้น สามารถเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์ (บัตรทอง ประกันสังคม ราชการ) ซึ่งมีเกณฑ์การตรวจฟรี ได้แก่
           1. มีประวัติเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในช่วง 14 วัน ก่อนมีอาการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
            - เดินทางมาจากเขตติดโรค/พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
            - ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค/พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
            - สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย/ผู้ป่วยยืนยัน
            - เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน
 
และบวกกับมีอาการของ COVID-19 คือ มีไข้สูง 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับอาการอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ

2. ผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีประวัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
            - ใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย COVID-19
            - เป็นบุคลากรทางการแพทย์
            - เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบที่รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
            - เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้

หากต้องการสอบถามข้อมูล/ปรึกษา/ขอคำแนะนำเรื่อง COVID-19 โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

No comments:

Post a Comment