4/17/20

27 มี.ค.63ใช้3ก ต่อสู้COVID-19 คปสอ.ค้อวัง _พชอ. กลไกหลัก หนุนเสริม_ระบบสุขภาพชุมชน

27 มี.ค.63ใช้3ก ต่อสู้COVID-19 คปสอ.ค้อวัง _พชอ. กลไกหลัก หนุนเสริม_ระบบสุขภาพชุมชน
วันที่ 27 มีนาคม 2563 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ประชุมคณะกรรมการ คปสอ.ค้อวัง ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุข อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร
ขอบคุณ และคณะกรรมการทั้งจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอค้อวัง โรงพยาบาลค้อวัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอค้อวัง ทั้ง 6 แห่ง  ที่ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะที่ดี พร้อมทั้งจะร่วมกันสนับสนุน และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ตามภาระ บทบาทหน้าที่ของตนเอง และ ยินยอมรับฟัง ข้อจำกัด และสภาพปัญหาของแต่ละหน่วย แต่ละส่วน เพื่อประมวลผล เป็นการปฏิบัติร่วมกันที่ดีต่อไป

การป้องกันและควบคุมโรคไวรัส โคโรนา หรือ COVID-19 อำเภอค้อวัง ป้องกัน 
ด้วย 3 ก ต่อสู้ COVIID-19
  ที่  1 ป้องกันตนเอง  ด้วย 5 Key Message   
                        สวมหน้ากากอนามัย กินของร้อน  ใช้ช้อนฉัน หมั่นล้างมือด้วยสบู่ อยู่ห่างกัน 
  ที่  2 เก็บกวาดเช็ดถู
                              เก็บกวาดขยะ  ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสต่างๆ  อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี
  ที่  3 สร้างเกราะ ในร่างกาย ใช้  ศีล และ ธรรม 
                              ด้วย 3 อ. 2 ส.  ศีลต้องละ ธรรมะ ต้องปฏิบัติ 
            อาหารดี อามณ์ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเว้น สุรา และ ยาสูบ 

โดย บูรณาการ ตาม ค้อวัง Model ที่ จะเสนอ ประธาน พชอ. ค้อวัง เพื่อ อนุมัติ ดังนี้
เป็นการทำงานขยายผลจากระบบสุขภาพ Health System สู่ระบบสุขภาพชุมชน Community Public Health System ด้วยการหนุนเสริมสำคัญ จาก อปท. ขับเคลื่อน ผ่านกลไก  พลัง พชอ. 

ในรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน มิติใดก็ได้ ตามบริบทของคนในพื้นที่

ด้วยการหนุนเสริมสำคัญ จาก อปท. ขับเคลื่อน ผ่านกลไก  พลัง พชอ.  ( เปรียบ พชอ.ได้กับ ดุมล้อ )

ซึ่ง พชอ. มีกลไกถึงระดับ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล : พชต. ที่มี ผอ. รพ.สต. เป็นเลขานุการ  ระดับอำเภอ เป็น การหนุนเสริม ด้านข้อมูล และ ด้านวิชาการ ผ่านกลไกการปฏิบัติระดับตำบล

งบประมาณในการขับเคลื่อนในพื้นที่ เบื้องต้น จาก 3 กองทุน เปรียบ 3 กองทุน ดั่ง ซี่ล้อ Max

1.     กองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่ (กปท) 45 บาท ต่อหัวประชากร  สมทบตาม ขนาด อปท.

เน้นการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคทุกกลุ่มวัย

หลักการคือ ใช้งบประมาณได้ ทั้ง หน่วยบริการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน

โอนเงินให้หน่วยไหน ใช้ระเบียบหน่วยนั้นในการเบิกจ่าย

ประชาชนไม่มีระเบียบ ใช้ ใบเสร็จ และ ใบสำคัญรับเงิน ประกอบแนบภาพกิจกรรม

2.     กองทุนดูแลระยะยาว(Long Term Care : LTC) ผูสูงอายุและกลุ่มอื่น ที่มีภาะวะพึ่งพิง อปท.ไม่ต้อง สมทบ

3.     กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ(ระดับจังหวัด) ดูแล โดย อบจ.  5 บาท ต่อ หัวประชากร

มีสิทธิประโยชน์ ที่มากกว่า พม. 7 – 8 รายการ หรือ ในกรณี ที่ พม. มีข้อจำกัด รวมถึง สามารถ ใช้ด้านสิ่งแวดล้อมได้ด้วย กองทุนฟื้นฟูนี้ พชต.สามารถผเสนอแผนงานโครงการได้ ( เสนอผ่าน พชอ.)

 ลำพังเพียง 3 กองทุนคงไม่เพียงพอ ต้องระดมจากแหล่งอื่น ๆ อีก เช่น การจัดกิจกรรม เดน วิ่ง ปั่น เพื่อสุขภาพ งบผ้าป่า งบบริจาค งบจากการระดมทุนเฉพาะกิจ ต่าง ๆ เป็นต้น

ใช้  RIT ในการคืนข้อมูล ให้ประชาชนทุกระดับ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็น วัคซีน ในการขจัดโรคไม่ติดต่อ ในชุมชนได้ เช่น Heaith Literacy : HL ของ โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดัน  เป็นต้น 























            วาระหลักในวันนี้ คือ  การเน้น ย้ำ พร้อมให้บริการประชาชน ทั้งใมสถานบริการ และ นอกสถานบริการ
ทั้ง 2 บทบาทคือ
บทบาทที่1 ตามภารกิจ หลักหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
บทบาทที่2 การปฏิบัติ และให้ความร่วมมือกับ องค์กรต่างๆ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

1 ล้างมือเป็นนิสัย 2 ไอจามให้ปิดปาก 3 สวมหน้ากากอนามัย 4 ไม่ไปที่ชุมชน 5 พักตนเมื่อเป็นไข้
               อสม. ต้อง การสื่อสาร 5 Key Messages ปฏิบัติตนป้องกัน COVID-19 ง่ายๆ ถึงประชาชน ให้ครอบคลุมมากที่สุด

1 ล้างมือเป็นนิสัย 2 ไอจามให้ปิดปาก 3 สวมหน้ากากอนามัย 4 ไม่ไปที่ชุมชน 5 พักตนเมื่อเป็นไข้

ล้างมือเป็นนิสัย
ล้างมือด้วยสบู่ หรือด้วย Gel ล้างมือ ครั้งละ 20-30 วินาที  ตามการล้างมือ 7 ขั้นตอน
            1.ขี่หน้า ขี่หน้า ( ฝ่ามือถูฝ่ามือ รวมซอกนิ้ว)
            2.ขี่หลัง ขี่หลัง ( ฝ่ามือถูหลังมือ รวมซอกนิ้ว)
            3.ถูหลัง ถูหลัง ( ฝ่ามือถูหลังมือ )
            4.ระวังมะเหงก   (ฝ่ามือขัดหลังนิ้ว  กำมือเป็นกำปั้นแล้วใช้ฝ่ามือถูหลังนิ้ว สลับข้างกัน )
            5.นิ้วเอกอย่ากาย  ( หมุนรอบหัวแม่มือ)
            6.ปลายมือย่ารอ (ปลายมือ เซะแคะแกะเกาขี้ไคลออกให้มากที่สุด)
            7.ข้อมือให้สะอาด ( หมุนรอบข้อมือ)
ไอ จาม ให้ปิดปาก   การไอ จำม ที่ถูกวิธี  
- เมื่อรู้สึกว่าจะไอ จาม ควรหากระดาษชำระ หรือทิชชู่ มาปิดปาก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคกระจาย แล้วนำไป ทิ้งในถังขยะปิดให้เรียบร้อย
- เมื่อรู้สึกว่าจะไอ จาม แล้วไม่มีกระดาษชำระ ควรใช้การไอ จามใส่ข้อศอก โดยยกแขนข้างใดข้างหนึ่งมาจับไหล่ ตัวเองฝั่งตรงข้าม และยกมุมข้อศอกปิดปากและจมูกตนเองก่อนจาม ไอทุกครั้งไม่ควรไอ จามใส่มือ
- หลังจากไอ จามเสร็จแล้ว ควรรีบล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เพื่อกำจัดเชื้อโรค ไม่ให้แพร่กระจาย
สวมหน้ากากอนามัย   วิธีการสวมหน้ากากอนามัย Mask ที่ถูกต้อง 
1.     หันหน้ากากด้านสีเขียวเข้มออก เอาสีขาวเข้าหาหน้าตัวเอง
2.     จะมีด้านหนึ่งที่มีโลหะเส้นเล็กๆ อยู่ภายใน ให้เอาตำแหน่งนั้นไว้ที่สันจมูก
3.     คล้องเชือกไว้กับหู ปรับตำแหน่งให้พอดี
4.     ดึงหน้ากากส่วนล่างให้ลงมาปิดคาง
5.     กดตรงส่วนของโลหะบนสันจมูก ให้โค้งรับสันจมูกพอดี เพื่อให้หน้ากากแนบชิดใบหน้าให้ได้มากที่สุด
6.     ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน และไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น
พระเอกหน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้า ( Mask ผ้า )   ปัจจุบัน หากไม่ป่วย แนะนำให้ใช้ วัสดุทางการแพทย์ ที่ง่ายและใช้ได้ผลมากที่สุด คือหน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้า( Mask ผ้า ) ซึ่งสามารถผลิตได้เอง ซัก ตากแดด สามารถใช้ซ้ำได้ เป็น 100 ครั้ง ประหยัด ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะหาก ใส่หน้ากากทางการแพทย์ จะสร้างขยะ มากมาย และพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งเป็นภาระการจัดเก็บและการทำลาย หากนำไปเผา ก็จะสร้างมลพิษฝุ่นจิ๋ว PM2.5 เป็นภาระต่อสังคมได้อีกด้วย
ไม่ไปที่ชุมชน  ภาษาฝรั่ง ว่า Social Distancing หรือ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ
              
การรักษาระยะห่างทางสังคม(Social Distancing) ที่จะส่งผลต่อการลดจำนวนผู้ป่วยขององค์การอนามัยโลกหรือฮู(WHO) ระบุว่า หากคนในประเทศไทย 90 % ร่วมกันรักษาระยะห่างจะทำให้ตัวเลขผู้ป่วยลดลงทันที
Social Distancing นี้ หากทำ ได้ถึง 90 % จะส่งผลให้สามารถลดการติดเชื้อได้ดี

               การรักษาระยะห่างทางสังคม ที่ดีที่สุดคือ การหยุด อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ
หากจำเป็นต้องไป ต้อง เว้นระยะห่าง อย่างน้อย 1 เมตร ในทุกๆกิจกรรม ทั้งบนรถโดยสาร การจัดห้องประชุม หรือ การยื่น การหยิบ จับระหว่างกัน เป็นต้น

พักตนเมื่อเป็นไข้
            หากรู้ หรือได้รับแจ้งว่า มีไข้ ควรพักตนเอง อยู่ในบ้าน ให้หายไข้ก่อน หากมีอาการ ไอ      อย่างน้อย 14 วัน
คำว่าพักตนคือ ครบระยะเวลา 14 วัน ทั้งนี้ ระหว่างการพักตน จะมีปัญหาตามมาคือ เซ็ง เบื่อ หงุดหงิด ต้องหากิจกรรม เพื่อความเพลิดเพลิน หรือ ทำสิ่งอื่นๆ ที่ก่อประโยชน์ เช่น ทำความสะอาดบ้าน จัดตู้เสื้อผ้า ปลูก รดน้ำต้นไม้ ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง และอื่นๆ ตามเหมาะสม
            แต่หาก ยังไม่หายเบื่อ เซ็ง ให้ปรึกษา หมออนามัย ได้ทุกแห่งทั่วประเทศครับ


ตรวจหา COVID-19 ฟรีได้ไหม
 สำหรับผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ฯสามารถตรวจหา COVID-19 ฟรีนั้น สามารถเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์ (บัตรทอง ประกันสังคม ราชการ) ซึ่งมีเกณฑ์การตรวจฟรี ได้แก่
           1. มีประวัติเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในช่วง 14 วัน ก่อนมีอาการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
            - เดินทางมาจากเขตติดโรค/พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
            - ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค/พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
            - สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย/ผู้ป่วยยืนยัน
            - เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน
 
และบวกกับมีอาการของ COVID-19 คือ มีไข้สูง 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับอาการอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ

2. ผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีประวัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
            - ใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย COVID-19
            - เป็นบุคลากรทางการแพทย์
            - เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบที่รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
            - เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้
หากต้องการสอบถามข้อมูล/ปรึกษา/ขอคำแนะนำเรื่อง COVID-19 โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

No comments:

Post a Comment