5 พ.ย.63 อนุสาวรีย์ชีวิต_วัดสวนแก้ว : 3 เป็น พระพะยอมให้คุณธรรมนำการพัฒนา_ กินเป็น อยู่เป็น คิดเป็น ต่อเนื่องด้วย ให้ ทำเป็น
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอค้อวัง ไปพร้อมกับ นางยุพิน ภัทรกุลพงศ์ นายอำเภอค้อวัง ประธาน พชอ.ค้อวัง และคณะเครือข่าย พชอ.ค้อวัง เดินทาง ไปขอรับคำแนะนำ จากวิทยากร การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับโลก ณ วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี
สถานที่นี้ เปรียบได้ดั่ง อนุสาวรีย์ชีวิต ที่เป็นอนุสาวรีย์มีชีวิต คำว่ามีชีวิต คือ
มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ทั้งด้านสุขภาพกาย
สุขภาพใจ สุขภาพสังคม
หรือ อาจเรียกได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิบัติ
หรือ ทำ
ตามนโยบาย ดวงตาเห็น ทำ
ใครเห็นสิ่งใดดี ที่ควร ทำ ก็จง ทำ สิ่งนั้น ส่งผลให้เกิด
คุณภาพชีวิตตน คุณภาพชีวิตคน คุณภาพชีวิตสังคม
จิตที่คิดให้ สบายกว่า จิตคิดที่จะเอา
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิบัติ มีตัวชี้วัด
ที่สำคัญคือ ผลงานจากการทำงาน
ทุกคนต้องมีงาน
มีความรับผิดชอบ
คนรวย
ต้องช่วยคนจน คนฉลาด ต้องช่วยเหลือคนที่ฉลาดน้อยกว่า
คนแข็งแรง
ต้องช่วยคนที่อ่อนแอกว่า
การเปลี่ยนแปลง ด้านสถานที่ ไม่มีศาสนวัตถุ เช่น
โบสถ์ วิหาร มาก แต่ เพิ่มพื้นที่ได้มาก จาก 10 ไร่ วัดแห่งนี้ปัจจุบัน มี 218 ไร่
ขยายสาขาไปทั่วไประเทศ 11 สาขา 3,900 ไร่
เป็นต้น
คติที่ท่านใช้ : ผู้นำศาสนาใด
ปล่อยปะ ละเลย ให้ ศาสนิกชน อดอยาก ยากแค้น ศาสนานั้นจะรุ่งเรืองได้เป็นไม่มี
พัฒนาแบบผสมผสาน
ทุก ๆ ด้าน รวมถึงการปลูกพืช ผัก ผลไม้ เป็นผสมผสาน ไม่เน้นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว
วัดนี้ ไม่เลี้ยงขอทาน เพราะ ไม่เอาคน 4 ขี้
ขี้เกียจ ขี้ขโมย ขี้เมา ขี้ขอ
อย่าตึงจนทำอะไรไม่ได้
อย่าหย่อนยานจนเกินไป จนหาแก่สารใด ๆ ไม่ได้
ทางสายกลาง ให้วัดเราเป็นที่พึ่งของผู้คนได้
ส่งเสริมผู้คนพึ่งตนเองได้
หากตึงตามพระวินัย กอดวินัย ก็ นั่ง หลับตา
ภาวนา ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นอะไร
หากหย่อนเกินไป ก็ทำเป็นเชิงพานิชย์อย่างเดียว
อาจจะสบาย แต่ประชาขนไม่ได้อะไร เป็นต้น
วิทยากรหลัก โดย ท่านเจ้าคุณ พระจับกัง หรือ พระราชธรรมนิเทศ หรือ
พระพยอม กัลยาโณ
พระนักเทศน์ชื่อดัง เจ้าอาวาส วัดสวนแก้ว ผู้พัฒนามูลนิธิวัดสวนแก้วจนเป็นพ่อพระของผู้ยากไร้
ผู้มีความอดทน มุ่งมั่น ตั้งใจ
ในการสืบทอดพระพุทธศาสนา ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน มาเป็นเวลายาวนากว่า 40
ปี
อุทิศ เวลา ให้กับการสงเคราะห์ โลก ประมาณวันละ 18 ชั่วโมง
คุณภาพชีวิตดี วัดจาก 3 เป็น ของตนเอง
คือ กินเป็น อยู่เป็น คิดเป็น
ส่วน การพัฒนาคุณภาพชีวิตสังคม ต้องเพิ่ม อีก 1
เป็น คือ หาวิธี การ ให้คน ทำเป็น
เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ทุกคนสามารถทำ
หรือ ปฏิบัติได้
ตามนโยบาย ดวงตาเห็น ทำ ดวงตาใครเห็นสิ่งใดดี
ที่ควร ทำ ก็จง ทำ สิ่งนั้น
ทำดี เริ่มที่ตนเอง อัตตาหิ อัตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ได้ดีที่สุด
ศรัทธา ของวัดสวนแก้วเรา คือ เรา ทำ เพื่อ
ให้เกิด ธรรม
การมอบหมายงานเหมาะสมเช่น คนแก่ เก็บใบไม้
คัดแยกกิ่งไม้เล็ก ๆ
ผู้พิการขา แต่แขนแข็งแรง ให้ดายหญ้า เป็นต้น
เพราะ นั่งดายหญ้าได้นาน ไม่หลบหนีไปไหน เป็นต้น
ฝึก และ บ่มเพาะ จากรุ่น สู่รุ่น
เพื่อความยั่งยืน ในอนาคต สืบไป
ขอบคุณ ทุกคำแนะนำที่ดีในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนคนค้อวังเราต่อไปครับ
ขยัน ตื่นก่อน ได้ก่อน มีก่อน เรียนก่อน เป็นก่อน รวยก่อน
เร็ว ๆ ไวๆ เป็นหัวใจ คนไทยก้าวหน้า
อืดอาด ยืดยาด เป็นคุณสมบัติ คนด้อยพัฒนา
ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ หรือ พชอ.ค้อวัง เรา มีประเด็นการพัฒนาร่วมกัน 4 เรื่อง
เรื่องที่
1 อุบัติเหตุ เลขา
โดย ตำรวจ เรื่องที่
2 เกษตรอินทรีย์ เลขา
โดย เกษตร
เรื่องที่
3 ยาเสพติด เลขา
โดย ปกครอง เรื่องที่
4 พัฒนาเด็ก IQ
EQ เลขา โดย สาธารณสุข โรงพยาบาล
ขอบคุณ คณะที่ปรึกษา พชอ.ค้อวัง ฝ่ายสงฆ์
เจ้าคณะอำเภอค้อวัง พระครูปริยัติคณาภิรักษ์ (ผุดผ่อง
ป.ธ.๔)
เจ้าอาวาส วัดสว่าง
เลขานุการ พระครูพิพัฒนชัยคุณ (เทพพิทักษ์ ) เจ้าอาวาส วัดชัยชนะ
เจ้าคณะตำบลค้อวัง - กุดน้ำใส เขต ๑ พระครูวิสาลวรธรรม (อนันต์ ) เจ้าอาวาส วัดบ้านเปาะ
เจ้าคณะตำบลค้อวัง - กุดน้ำใส เขต ๒ พระครูสุคันธวนาภิบาล (สำราญ ธมฺมปาโล) เจ้าอาวาส วัดป่าลำดวน
เจ้าคณะตำบลค้อวัง - กุดน้ำใส เขต ๓ พระครูวิโรจน์คัมภีรเขต (เฉลิม ) เจ้าอาวาส วัดค้อวัง
เจ้าคณะตำบลน้ำอ้อม พระครูบวรฐิติคุณ (สุดใจ ) เจ้าอาวาส วัดสิงห์ทอง
เจ้าคณะตำบลฟ้าห่วน พระครูกมลธรรมพินิจ (อนงค์ ) เจ้าอาวาส ฟ้าห่วนเหนื
ขอบคุณ
ทุกคำแนะนำที่ดีในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนคนค้อวังเราต่อไปครับ
วันนี้ ผมมาวิ่งรอบๆ วัดแห่งนี้ ในขณะที่พระอาจารย์พระพะยอม สร้างอุทยานแห่งการเรียนรู้ ขุดบ่อ เป็นธนาคารน้ำ ให้กับชุมชน เป็นสถานที่พักผ่อน หย่อนใจ ออกกำลังกาย
คาดหวังว่า ในอนาคต ผมจะนำกระบอกไม้ไผ่ (ธนาคารบุญ) มาถวานพระอาจารย์ และ มาวิ่ง ออกกำลังกาย ณ สถานที่นี้ อีกครั้ง ให้ได้ อย่างน้อย 10.5 กม. ..
No comments:
Post a Comment