11 พ.ค.65 พชอ. จังหวัดยโสธร : RIT: คุณค่า พชอ. คุณค่า คนเลิงนกทา
วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
และคณะ
ร่วม งาน ณ โรงแรม เจพี ยโสธร
RIT: คุณค่า พชอ. คุณค่า คนเลิงนกทา
Relationship Information Team
กิจกรรม ขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ( พชอ.)
จังหวัดยโสธร
เป้าหมายหลัก
บำบัดทุกข์ บำรุงสุข
แนวทาง พื้นที่เป็นฐาน
ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
กลวิธี ตามบริบทของพื้นที่
นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร
มอบหมายให้ นพ.ธีระพงษ์ แก้วภมร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร เป็นประธานในพิธี
ประเด็นการพัฒนาคุรภาพชีวิต
ที่ทำร่วมกัน ทุกอำเภอ 3 ประเด็นแรก
1.
พัฒนาการเด็กปฐมวัย ( IQ EQ ) เด็กไทย IQ เกิน 100 เป็นเป้าหมาย
2.
การจัดการขยะ
3.
การลดอุบัติเหตุทางถนน
ในโอกาสนี้
นายสุพิช สามารถ นายอำเภอเลิงนกทา นำคณะกรรมการ พชอ.เลิงนกทา จากทุกภาคส่วน
เข้าร่วมกิจกรรม
อำเภอเลิงนกทา
นำเสนอผลงาน โดย นายศิริรักษ์ คุณสุทธิ์ ผู้ช่วย สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
ประเด็นการพัฒนาร่วมกัน ของ
พชอ.เลิงนกทา ประกอบด้วย
เป็นเป้าหมายร่วมกัน 5 ประเด็นดังนี้
1. วาระคุณภาพชีวิต
การป้องกันอบุติเหตุ จากการจราจรทางบก
กำหนดจุดเสี่ยง กำหนดมาตรการ นำเสนอความก้าวหน้า
2. วาระคุณภาพชีวิต อำเภอสะอาด เป้าหมาย สุขกาย สุขใจ.. ประชาชนอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
หลักการ ความรับผิดชอบต่อสังคม “ผู้ก่อขยะ คือ ผู้เก็บขยะ”
ใช้ 3 R ในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ ระดับบุคคล ครัวเรือน โรงเรียน ชุมชน องค์กร
หน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน
เน้นแผนการก่อสร้างบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูล ให้ครบตามเป้าหมาย
ทุกตำบล
เป้าหมาย ในอนาคต คนเลิงนกทา จะกินปลาดิบ ก้อยดิบ ซกเล็ก
ได้อย่างปลอดภัย
โดยมี บ่อบำบัดสิ่งปฏิกูล ของ เทศบาลตำบลสามแยก เป็น
ศูนย์การเรียนรุ้ที่ดี ของ อำเภอเลิงนกทา
บูรณาการ ให้ บ่อบำบัดแห่งนี้ รอบๆ
เป็นสวนสาธารระ สามารถเป็นสถานที่ออกกำลังกาย อีกแห่งหนึ่งได้ในอนาคต อันใกล้นี้
3. วาระคุณภาพชีวิต เกษตรอินทรีย์
เป้าหมาย อาหารปลอดภัย ลด PM
2.5
บูรณาการ ศาสตร์พระราชา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. วาระคุณภาพชีวิต การออกกำลังกาย
ส่งเสริม ทุกระดับ ตั้งแต่ บุคคล ครัวเรือน โรงเรียน
ชุมชน องค์กร หน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน
จัดสถานที่ให้เอื้อต่อการออกกำลังกาย
5. วาระคุณภาพชีวิต
ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและสุขภาพจิต
Strategy ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รักาลที่ 9 : Think Big Act Small
ประเด็น
คืออะไร
เอาเป้าหมายเป็นหลัก มากกว่า ระดับ Process
ประเด็น KRA : Key Result Area
มาตรการสำคัญในการขับเคลื่อน
( Strategy )
วัดความสำเร็จ
( KPI : Key Performance Indicator) อย่างไร ( STOP to Start )
มี Small Success อะไรบ้าง นำไปต่อยอด ขยายผลได้อย่างไร
พัฒนาการเด็กปฐมวัย ( IQ EQ )
เด็กไทย IQ เกิน 100 เป็นเป้าหมาย
มาตรการ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน
การสำรวจไอคิว-ไอคิว เด็กชั้น ป.1 พบเด็กไทยไอคิวสูงขึ้นเกินค่ามาตรฐานถึง
10.4 จุด
กระทรวงสาธารณสุขเปิดผลการสำรวจนักเรียนชั้น ป.1 พบเด็กไทยฉลาดมากมีไอคิวสูงขึ้นเกินค่ามาตรฐานถึง 10.4%
ขณะที่ระดับอีคิวปกติ 83.4%
วันที่ 11 พ.ค. 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี
และรมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า
กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการสำรวจระดับสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี 2564 ทั่วประเทศ
สามารถสรุปได้ดังนี้
เด็กไทยมีระดับสติปัญญา (ไอคิว) เฉลี่ย 102.8 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติและผ่านเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 ที่กำหนดให้เด็กไทยมีไอคิวไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
100 และเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 พบเด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง
4.5 จุด
ส่วนเด็กที่ไอคิวต่ำกว่า 90 ลดลงจาก 31.8% เหลือ 21.7%
สะท้อนความสำเร็จจากความร่วมมือของทุกฝ่ายในการพัฒนาเด็กไทยให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
อย่างไรก็ตามยังมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีไอคิวในเกณฑ์ต่ำกว่า 70 อยู่ถึง 4.2% ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากลที่กำหนดให้ไม่เกิน
2% แสดงว่า ยังมีเด็กกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่ส่งผลต่อสติปัญญาในช่วงแรกเกิดถึง
5 ปี ซึ่งพบในกลุ่มขาดโอกาสทางสังคม เช่น
ครอบครัวที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ เด็กที่เกิดจากมารดาวัยรุ่น
ครอบครัวขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูเด็กขณะที่ตั้งครรภ์
สำหรับเด็กที่มีระดับสติปัญญาในเกณฑ์ฉลาดมาก คือ
ไอคิวมากกว่า 130 พบสูงถึง 10.4%
เป็นผลจากได้รับการส่งเสริมศักยภาพอย่างเต็มที่จากครอบครัวและสังคม
ซึ่งทุกหน่วยงานควรนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาให้ครอบคลุมทั้งประเทศ
ส่วนผลสำรวจความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) พบอยู่ในเกณฑ์ปกติ 83.4% แสดงว่าเด็กยังมีความสามารถในการรู้จัก เข้าใจ ควบคุมอารมณ์
สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เอาชนะอุปสรรคในชีวิต และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จและความสุขในอนาคต
“การที่เด็กไทยมีระดับไอคิวสูงขึ้น
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานแนวทางแก้ปัญหาขาดแคลนสารไอโอดีนในเด็ก
ทำให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยมากขึ้น
จึงขอให้กรมสุขภาพจิตและกรมอนามัยเพิ่มเรื่องความรอบรู้ด้านไอโอดีนให้แก่ อสม.
เพื่ออธิบายต่อกับชาวบ้านถึงความสำคัญในการให้เด็กได้บริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีน”
นายอนุทินกล่าว
ด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กล่าวว่า ช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา
ประเทศไทยมีการสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทยต่อเนื่อง
เพื่อติดตามสถานการณ์และวางแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งการสำรวจครั้งก่อนหน้าในปี 2559
พบว่า เด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีระดับสติปัญญาหรือไอคิวเฉลี่ยเท่ากับ
98.2 แม้จะอยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ยังต่ำกว่าค่ามาตรฐานสากลที่ 100
แต่การสำรวจครั้งล่าสุดปี 2564 มีค่าเฉลี่ยเกินระดับ
100 แล้ว ถือเป็นทิศทางที่ดีได้ตั้งเป้าที่พัฒนาระดับสติปัญญาเฉลี่ยของเด็กไทยให้ถึง
103 ในปี 2570
ผลการสำรวจในปี 2564 จะให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผน
กำหนดเป้าหมาย
เพื่อผลักดันให้มีการพัฒนาและส่งเสริมสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กไทยในทุกจังหวัดอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
นำไปสู่ผลลัพธ์คือ เด็กไทยมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
มีศักยภาพและวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่เหมาะสม
และเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของประเทศต่อไป
ขณะที่อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า
การศึกษาครั้งนี้ยังมีข้อมูลครบถ้วน 61 จังหวัด ได้แจ้งพื้นที่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์แล้ว ส่วนอีก 16
จังหวัด เนื่องจากสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ทำให้การสำรวจข้อมูลไม่ครบถ้วน
และแม้ครอบครัวไทยจะต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายด้าน
แต่เด็กไทยยังมีอีคิวอยู่ในเกณฑ์ปกติถึง 83.4% ซึ่งเด็กที่มีอีคิวดีจะมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเอง
สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เอาชนะปัญหาอุปสรรคในชีวิต
และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
ทั้งนี้
กระทรวงสาธารณสุขจะพัฒนาและค้นคว้าแนวทางส่งเสริมศักยภาพของเด็กไทยอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะในครอบครัวที่ขาดโอกาสทางสังคม
ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างพัฒนาการและสติปัญญาของเด็กให้พร้อมมุ่งสู่การเป็นพลเมืองในศตวรรษที่
21 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
12 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย
ส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก และพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์
และสังคม
ขอบคุณ เนื้อหาประกอบจาก https://workpointtoday.com/iq-eq/
No comments:
Post a Comment