8 พ.ค.65 WHO พบไทยคุม COVID-19 ได้ดีด้วย 5 ปัจจัย_ผู้บริหาร_การมีส่วนร่วม_ระบบสุขภาพเข้มแข็ง
วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
บันทึก
ข้อมูล จาก
ความว่า เมื่อวันที่
5 พ.ค.
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
และ นพ.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย
แถลงผลสรุปการจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า
หรือ Universal Health and Preparedness Review (UHPR) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่
21-29 พ.ค.ที่ผ่านมา
นายอนุทิน กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เลือกประเทศไทยเป็นประเทศต้นแบบลำดับที่ 3 นำร่องจัดกิจกรรมการทบทวน UHPR ในการรับมือการระบาดใหญ่ของโควิด
เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี
และข้อเสนอแนะระหว่างประเทศสมาชิก WHO ข้อสรุปเบื้องต้นจากการทบทวน
โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ WHO และทีมประเทศไทย พบว่า
ประเทศไทยมีการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโควิด19 เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่น ปรับตัวไปตามสถานการณ์
และเน้นการปฏิบัติได้จริง โดยพบปัจจัยสำคัญ คือ
1. มีการสนับสนุนโดยผู้บริหารระดับสูง
2. ระบบสาธารณสุขมีความเข้มแข็งจากการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบปฐมภูมิมากว่า
4 ทศวรรษ
3. มีความร่วมมือเชื่อมต่อทุกภาคส่วน
ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และภาคการศึกษา รวมถึง อสม.
4. มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนและชุมชน
และ
5. มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม และการวิจัยเพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล
ส่วนอุปสรรคและความท้าทายที่พัฒนาได้ คือ บูรณาการข้อมูลจากหลายแหล่ง การดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น แรงงาน ผู้อาศัยในชุมชนแออัด ให้เข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น เตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินในเขตเมือง และระบบปฐมภูมิ ต่อยอดสร้างความยั่งยืนการใช้นวัตกรรมต่างๆ และการจัดการขยะทางการแพทย์ หรือขยะติดเชื้อ โดยมีข้อเสนอให้เพิ่มการลงทุนเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ใช้งานต่อเนื่อง พัฒนากำลังคนแบบสหสาขา นำกลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีไปเตรียมพร้อมรับมือการระบาดครั้งต่อไป พัฒนาสุขภาพ สุขภาวะของประชาชน รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ยกระดับขีดความสามารถการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีน ยา ชุดตรวจ และเวชภัณฑ์ พัฒนากลยุทธ์ในการบูรณาการข้อมูล ค้นหาและบันทึกตัวอย่างที่ดี บทเรียนที่สำคัญในการจัดการกับการระบาดใหญ่เพื่อเผยแพร่ต่อไป
“ประเทศไทยได้รับคำชมจากผู้เชี่ยวชาญ WHO
ถึงนโยบายและมาตรการดูแลประชาชน
ทั้งการรักษาพยาบาลผู้ป่วยและการฉีดวัคซีนโควิด ทางองค์การอนามัยโลก ระบุว่า
ยินดีสนับสนุนและร่วมทำงานกับประเทศไทย โดยขอให้ประเทศไทยจัดทำรายงาน UHPR เสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เพื่อขอความเห็นชอบ นอกจากนี้
ให้เตรียมแถลงประสบการณ์ UHPR ในที่ประชุม World
Health Assembly (WHA) ปลาย พ.ค. 2565 และร่วมกับอีก
3 ประเทศนำร่องทบทวนปรับปรุงกระบวนการ UHPR ให้ดียิ่งขึ้นก่อนนำไปใช้ในประเทศอื่นๆ” นายอนุทิน กล่าว
ด้าน นพ.จอส กล่าวว่า หลักพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ประเทศใดๆ
เตรียมพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ดี คือ 1. ผู้นำทางการเมืองระดับสูง
รับเรื่องเป็นพันธสัญญา 2. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และ 3.
กรอบความรับผิดชอบ 3 ด้าน ได้แก่
สุขภาพถ้วนหน้า การเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และสุขภาวะที่ดีขึ้นของประชากร
นอกจากนี้ ความสำเร็จจะเกิดได้ขึ้นกับการนำไปสู่การลงมือปฏิบัติ
โดยถือเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ซึ่ง ดร.สมิลา อัสมา ผู้ช่วย
ผอ.ใหญ่องค์การอนามัยโลก ชื่นชมรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องนี้
สำหรับกิจกรรมการทบทวน UHPR มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องป้องกันควบคุมโรคโควิด19
ในสถานประกอบการ การดูแลแรงงานทุกเชื้อชาติ
ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ชลบุรี และสมุทรสาคร
กิจกรรมหน่วยงานเครือข่ายและชุมชนใน กทม. การฝึกซ้อมแผนด้วยสถานการณ์สมมติ
โดยหน่วยงานจากกระทรวงต่างๆ ที่ร่วมดำเนินมาตรการรับมือภาวะฉุกเฉินกรณีโรคโควิด19
และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการป้องกันควบคุมโรค
ทำให้เห็นการประสานงานหลายภาคส่วนจนถึงในระดับชุมชน
No comments:
Post a Comment