23 มิ.ย.66 เข้าถึงไว ปลอดภัย ไร้ภาะแทรกซ้อน
:ผู้สูงอายุแบบไร้รอยต่อ เขตสุขภาพที่ 10 : Highlight of the Year
วันที่ 23
มิถุนายน 2566 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และ คณะ
ประชุม ณ โรงแรมสุนิย์แกรนด์
จังหวัดอุบลราชธานี
โครงการ รูปแบบระบบสุขภาพชุมชน สู่ ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ
สำหรับผู้สูงอายุ เชิงบูรณาการ เขตสุขภาพที่ 10
เป้าหมาย เพื่อผู้สูงอายุ รู้เท่า
รู้ทัน ไม่เจ็บ ไม่ไข้ เป็นแล้วเข้าถึงไว ปลอดภัยไร้ภาะแทรกซ้อน
ประธาน โดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
หัวหน้าคณะวิทยากร โดย นพ. สมฤกษ์ จึงสมาน
ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10
ทั้งนี้
เขตสุขภาพที่ 10 โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพ ( Chief of Service Officer : CSO )
ศึกษา ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ
สำหรับผู้สูงอายุ เชิงบูรณาการ ในผู้ป่วย 3 โรคหลัก คือ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI โรคหลอดเลือดสมอง Stroke และ กระดูกสะโพกแตกหัก Hip Fracture
มี
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน Community
Health care และ ระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ
Seamless Service
โดยบูรณาการ ( Integrated )
ปฐมภูมิ
Primary care Secondary Care Tertiary Care ไปจนถึง
การบริการความเชี่ยวชาญระดับสูง Excellence
Care กิจกรรมได้แก่
การส่งเสริมป้องกันโรค Promotion
& Prevention ผสมผสานทั้งการดูแล ก่อนถึงโรงพยาบาล Pre - Hospital care
การดูแล ในโรงพยาบาล in - Hospital care
ระบบส่งต่อ interfacility transfer
การดูแล หลังจากออกจากโรงพยาบาล Post Hospital care
จังหวัดยโสธร
มีพื้นที่อำเภอต้นแบบ ที่จัดระบบบริการ ตามโครงการได้ดี 5 อำเภอ ประกอบด้วย
1.
อำเภอเมืองยโสธร 2. อำเภอเลิงนกทา
3. อำเภอมหาชนะชัย 4. อำเภอกุดชุม 5. อำเภอป่าติ้ว
จังหวัดยโสธร
ขับเคลื่อน บูรณาการผ่านกลไก พชอ.
มีกระบวนการ PAOR 4
ขั้นตอนคือ
(1) ขั้นตอนการวางแผน
(Plan) (2) ขั้นตอนการปฏิบัติ (Action)
(3) ขั้นตอนการสังเกตผล
(Observe) และ (4) ขั้นตอนสะท้อนผล
(Reflect)
จังหวัดยโสธรดำเนินงาน ภายใต้ยุทธศาสตร์ 4 สร้าง
สร้างทีม สร้างคน สร้างงาน
สร้างการเรียนรู้
จังหวัดยโสธร มีแนวคิด พญาคันคาก โมเดล
ในการพัฒนาระบบสุขภาพผู้สูงอายุ
พ : การพัฒนาระบบข้อมูล
ญ : การดูแลดุจญาติมิตร
ค : การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง
น : การดูแลต่อเนื่อง
ค : การร่วมมือของเครือข่าย
ก : การเข้าถึงการแพทย์ฉุกเฉิน