22 พ.ค.66 ไม่อวดเหล้าเบียร์ในสื่อ ออนไลน์ & ไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ : อำเภอเลิงนกทา จ.ยโสธร
วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 นายพันธุ์ทอง
จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทาและ คณะ
ปฏิบัติงาน เรื่อง การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบ : ATCU
เป้าหมายการขับเคลื่อนร่วมกัน
1.
คนเลิงนกทา ไม่โชว์ เหล้า เบียร์
ในเฟช ใน ไลน์
2.
คนเลิงนกทา
ไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
ประชาชนคนเลิงนกทา สืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ
สำนึกร่วมกันทุกคนร่วมใจ
: ไม่โชว์ เหล้า เบียร์
ในเฟช ใน ไลน์
1. ประชุม กำหนดมาตรการ ร่วมกัน ณ ห้องประชุม
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
วิทยากรให้คำแนะนำจาก
สำนักงานควบคุมโรค เขต 10 อุบลราชธานี
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร สำนักงานสรรพสามิตจังหวัดยโสธร
2.
ชุดปฏิบัติการระดับอำเภอ และลงพื้นที่ สร้างการรับรู้ ให้กับร้านค้า
ร้านชำ ในพื้นที่
โดยชุดปฏิบัติการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ Alcohlo and Tobacco Control Operation Unit : ATCU )
ขอบคุณคณะทำงานทุกๆท่านครับ
ทั้งนี้ในระดับจังหวัด นายวิรุจ วิชัยบุญ ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ประธานการประชุม คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดยโสธร
กำหนดแนวทางการปฏิบัติ ติดตาม ประเมินผล ขับเคลื่อนการดำเนินงาน
โดย มุ่งสู่ ยโสธร จังหวัดคุณธรรม
จุดร่วมทุกพื้นที่คือ "งานบุญปลอดเหล้า" ขับเคลื่อน สู่ระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทสไทย
เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของประชากรกลุ่มอายุ 15-49 ปี
เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพในลำดับที่ 7 ของการตายและพิการของประชากรทั้งหมด
มีคนเสียชีวิตด้วยโรคการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประมาณ 3 ล้านคนต่อปี และจากรายงานขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี พ.ศ.2564 ประเทศไทยมีปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ต่อหัว สูงเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียนรองจากสิงคโปร์
สำหรับ จากสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดยโสธร พบว่า วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี มีแนวโน้มการดื่มเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 14 ในปี 2544 เพิ่มเป็น ร้อยละ 14.6 ในปี 2560 ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกัน และแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดนักดื่มหน้าใหม่ เพิ่มมากขึ้น จังหวัดยโสธร จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประจำปี 2566 ด้วย 5 มาตรการหลัก ประกอบด้วย
1. มาตรการขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด/
2.มาตรการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินการสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดแอลกอฮอล์และยาสูบ/
3.มาตรการป้องกันนักดื่ม นักสูบหน้าใหม่ โดยขับเคลื่อนการดำเนินงานในสถานศึกษาปลอดแอลกอฮอล์และยาสูบ/
(ยาเสพติด
สารเสพติด มีจุดเริ่มจาก บุหรี่ )
4.มาตรการช่วยผู้สูบผู้ดื่มให้ ลด ละ เลิกโดยการค้นหา คัดกรอง ด้วยเครื่องมือ ASSIST และบำบัดรักษาในคลินิกปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทุกระดับ
5.มาตรการ สร้างสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ปลอดภัยและเข้มแข็งปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
No comments:
Post a Comment