วันที่
31 พฤษภาคม 2556 จัดระเบียบ_ยโสธรสร้างสังคม_ให้น่าอยู่
ผมนายพันธุ์ทอง
จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายสมเพชร
สร้อยสระคู นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว นายวะสันต์ ระดมเล็ก
ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง อำเภอคำเขื่อนแก้ว พ.ต.ท.ศักดิ์ชาย พิศชาติ รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว
เข้าร่วม การประชุมเชิงปฏิบัติการ ถอดแบบเรียนการจัดระเบียบสังคม ปี 2555 ณ ห้องประชุม 1 ศาลากลางจังหวัด ยโสธร
ประธานการประชุม โดย
นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร
เลขานุการการประชุม
โดย ป้องกันจังหวัดยโสธร
ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย
หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ และผู้แทนจากระดับอำเภอและส่วนราชการทุกส่วน
จากอำเภอๆละ 3
คน
นายประวัติ ถีถะแก้ว
ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร พล.ต.ต.ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยโสธร นายแพทย์ สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นายอัยการจังหวัดยโสธร นำคณะหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร และนายกเทศมนตรีเมืองยโสธรด้วย
ลงนามจัดระเบียบสังคม ให้ สังคมยโสธรอยู่ได้ร่วมกันอย่างเป็นสุข โดยให้ทุกส่วนราชการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท
ให้เป็นไปตามกฎหมาย
มาตรการการจัดระเบียบสังคมคือ
ดำเนินการจากเบา ไปหาหนัก แจ้งเตือน ปรับ สั่งพักใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาต เป็นต้น
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ให้ข้อมูลที่ประชุม ด้วยดี โย นางกชกร
ชูแก้ว นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
การจัดระเบียบสังคม
ตาม พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
พ.ศ.2551
วัฒนธรรมจังหวัดยโสธร
ร้านเกมส์ ร้านคาราโอเกะ ควบคุม
ผู้เข้าไปใช้บริการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยการ ควบคุมให้เป็นไปตามเวลา
สั่งพักใบอนุญาต
จำนวน วัน ตาม
จำนวนผู้ใช้บริการที่กระทำผิด เช่น มีเด็ก เข้าไปใช้ผิด เวลา 5 คน
พักใบอนุญาต 5 วัน มีเด็ก เข้าไปใช้ผิด เวลา 10 คนพักใบอนุญาต 10 วัน เป็นต้น
กรณีที่กระทำ ผิดซ้ำซาก ให้พิจารณา
งดต่อใบอนุญาต เป็นต้น
กรณี ที่ มีการตรวจสอบ พบการกระทำผิด
เงื่อนไข จากการตรวจสอบของอำเภอ ให้ นำผล การตรวจสอบ มามีผล ต่อการพิจารณาการต่อใบอนุญาตในปีต่อๆไปด้วย
ปัญหาที่ผ่านมา คือ ร้านคาราโอเกะ กับ
สถานบริการ นั้น บางแห่ง แยกกันไม่ออก
คาราโอเกะ นั้น
ต้องไม่มีบริการเครื่องดื่ม อัลกอฮอล์ หากมี บริการเครื่องดื่ม อัลกอฮอล์ ถือเป็น สถานบริการ
ที่อยู่ในความดูแล ของ ฝ่ายปกครอง
สรรพสามิตจังหวัดยโสธร
คำถาม ทำไม สรรพสามิต ออกใบอนุญาต
ให้ขายสุรา มากมายนัก รวมทั้ง สถานที่ ใกล้หรือรอบๆ
วัด และสถานศึกษา คำตอบ
1.ค่าธรรมเนียม การออกใบอนุญาต ถูกมากๆ เดิม 11 บาท ต่อปี ปัจจุบัน ปรับเป็น
ค่าธรรมเนียมการขายสุราในประเทศ
250 บาท ต่อปี ค่าธรรมเนียมการขายสุราต่างประเทศ1,100 บาท
ต่อปี เป็นต้น
2. การออกใบอนุญาต ต้อง
ออกให้กับผู้ค้าที่มีหลักแหล่ง ถาวร โดยทางปฏิบัติ สรรพสามิต ไม่สามารถออกตรวจสอบก่อนการออกใบอนุญาตได้
จึงให้ผู้ประกอบการ รับรองตนเองว่า ถูกต้องตาม ระเบียบ
หากประชาชนพบว่า ไม่ถูกต้อง ให้
ร้องเรียน มายัง สรรพสามิต จังหวัด เพื่อ เพิกถอนใบอนุญาตได้
( ถือ เป็น
ช่องว่าง ให้ มีกระตุ้นให้ส่งเสริมการขาย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้ง่าย)
เทศบาลเมืองยโสธร
การปฏิบัติตาม พรบ.สาธารณสุข พ.ศ.
๒๔๓๕ ในเขตเทศบาลเมืองยโสธร
นางวิภาวดี เจียมเจริญศิลป์
หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดยโสธร
ให้การบริการผู้มีปัญหาทางสังคม ตาม พรบ.3 ฉบับ
พรบ.คุ้มครองเด็ก 2546 (เด็ก
คือ ผู้อายุ ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์)
เช่น
สตรีมาคนเดียว ไม่มีที่พัก ให้มาพักได้ พรุ่งนี้ บ้านพักเด็ก มีค่ารถ ส่งกลับ บ้าน
เป็นต้น
พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว
2550
ติดต่อ ศูนย์ปฏิบัติการ อยู่ที่ พม.จ.ยโสธร
พรบ.ป้องกันการค้ามนุษย์ 2551
ติดต่อ ศูนย์ปฏิบัติการ อยู่ที่ พม.จ.ยโสธร
ทำหน้าที่เป็น สถานแรกรับ และ
สถานที่พักชั่วคาว สำหรับ ผู้ที่มีปัญหา
สามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ ศูนย์พึ่งได้ OSCC สายด่วน
1300 (One Stop Service Center)
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดยโสธร
พรบ.หอพัก 2507 นายทะเบียน
โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร
ปัญหา ที่พบบ่อย คือ 1.หอพักหญิง
ปล่อยให้เด็ก ชาย เข้า หอพัก หญิงได้ หอพักชาย ปล่อยให้เด็ก หญิง เข้า
หอพักชายได้
2. ปล่อยให้ เด็ก
มีการเข้าไป มั่วสุม ในหอพัก (ยุยง
ส่งเสริม ให้เด้ก กระทำผิด ตาม พรบ.คุ้มครองเด็ก 2546 )
จัดหางานจังหวัดยโสธร
พรบ.แรงงานต่างด้าว
แรงงานต่างด้าว จะทำงานได้ ต้อง
ขออนุญาต จาก แรงงานจังหวัดยโสธร
กรณีไม่มีใบอนุญาตทำงาน นายจ้าง ปรับ
นายจ้าง 10,000
บาท/ลูกจ้าง 1 คน ไม่มีโทษจำคุก
(ที่ผ่านมาทำได้เพียง
การแจ้งเตือน ยังไม่มีการดำเนินคดี )
ลูกจ้าง มีโทษ ทั้งปรับ และจำคุก ด้วย
คำถาม กรณีคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
จะสามารถให้ความช่วยเหลือทางสังคมแก่ คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ได้หรือไม่ เช่น เงินค่าส่งกลับ เป็นต้น
ปัญหา คือ บุคคลต่างด้าว มีมาตั้งรกราก
นานมาก มีฐานะ อาชีพ ที่ดี ในสังคม แต่ไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติได้ เนื่องจาก
ประเทศต้นทางไม่ยอมรับ เนื่องจากมาอยู่นาน 20-30ปี เป็นต้น
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดยโสธร
ดูแลเรื่อง การเรี่ยไร
และการเล่นบั้งไฟ นอกฤดู
การเล่นบั้งไฟ ในบางครั้ง มีพระสงฆ์
เข้าไปร่วมด้วย
ทางพระ
มีพระวิญญาธิการ ทำหน้าที่ ในการ จับกุม คุมประพฤติ พระภิกษุ รวมทั้งการจับ ปรับ
โดย ตำรวจ และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
การเรี่ยไร จากพระ พระจริง พระปลอม
ออกมาเรี่ยไร ตามถนน หนทาง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นการเรี่ยไร
ในทางปฏิบัติจริง
คำถาม มีกรณีใดบ้าง ที่ต้องขออนุญาต
ขออนุญาตที่ไหน ได้หลักฐานอะไร ไปแสดง ว่าได้ทำถูกต้อง
รวมถึง
การเรี่ยไร ในกิจกรรม ซองผ้าป่าตามประเพณี ด้วยหรือไม่
หากปฏิบัติไม่ถูกต้อง
จะมีบทกำหนด โทษ แก่ผู้กระทำผิดด้วยหรือไม่
ตำรวจภูธร
ปัญหาสังคม ปัญหา ใดๆ ตำรวจ
จะเกี่ยวข้อง กับ ทุกๆ พ.ร.บ. เกือบทุก หน่วยงาน เพราะ กฎหมายวิธีพิจารณาความ
กำหนด ให้ ตำรวจ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
ที่กำลังเป็นปัญหาสังคม จังหวัดยโสธร คือ
ปัญหาด้านการพนัน ทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด
บางอย่างทำเป็นกระบวนการใหญ่โต เช่น การพนันบั้งไฟ เป็นต้น
ข้อเสนอ การออกหน่วยตรวจร่วม
ในทุกหน่วย ที่ขอความร่วมมือกับตำรวจ ควรมีค่าเดินทางให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย
สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดยโสธร
พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 รวมทั้งการคุ้มครองแรงงานเด็ก
และแรงงานหญิง ด้วย
ปัญหา คือ การใช้แรงงานเด็ก ( อายุ ต่ำกว่า 18 ปี ) สภาพปัญหา จังหวัดยโสธร
ที่ผ่านมา มี การใช้แรงงานเด็ก ประมาณ 16 คน ( ปั้มน้ำมัน
บิ๊กซี ซาบิน่า)
ปัญหา การให้มีวันลา วันหยุด และ
ค่าแรง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดยโสธร
สิทธิประโยชน์
และการสงเคราะห์ผู้ประกันตน ครอบคลุมถึง แรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาต ทำงาน ด้วย
สภาพปัญหา
จังหวัดยโสธร ที่ผ่านมา ยังไม่ครอบคลุม สถานประกอบการ ที่ประกอบการ ในเวลากลางคืน
(เพราะตามกฎหมาย
อนุญาตให้ เข้าตรวจสอบได้ ตั้งแต่ พระอาทิตย์ขึ้น ถึง พระอาทิตย์ตก)
กิจการที่ไม่เข้าสู้ระบบ
ประกันสังคม เช่น แม่บ้าน หาบเร่ แผงลอย
การเพาะปลูกเป็นฤดูกาล เป็นต้น
สำนักงานสรรพากรพื้นที่จังหวัดยโสธร
จุดเริ่มของการเสียภาษีเงินได้ คือ
เริ่มจาก กรประเมินตนเอง
หอพัก จัดเก็บภาษี ประเมินตามอาคารสิ่งปลูกสร้างได้ง่าย
ปัญหา
ที่ผ่านมา สถานประกอบการ สถานเริงรมย์ นอกระบบ ไม่มีใคร แสดงตนว่าเป็น
เจ้าของผู้ประกอบการ ไม่สมัครใจที่จะเสียภาษีเงินได้ เพราะมีภาระภาษี หลายได้ ทั้งภาษี สรรพสามิต ภาษีใบอนุญาต
ผู้ที่อยู่ในระบบ สรรพากร
จะส่งเสริมให้ มีการเสียภาษีรายได้ อย่างต่อเนื่อง ต่อไป
ปัญหาที่ผ่านมา
คือ ข้าราชการ เช่น ข้าราชการครู บางคน ไม่ยอม ยื่นเสียภาษี (ซึ่ง ถือเป็นการกระทำผิดวินัย)
ตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ สามารถ
อายัดบัญชี นำส่ง การเสียภาษีได้ หรือ ขายทรัพย์สิน นำส่งภาษีเงินได้แก่หลวงได้
การปฏิบัติ ควรหักภาษี ณ ที่จ่าย
ให้สัมพันธ์ กับ รายได้ ที่ได้รับ
สำนักงานโยธาธิการจังหวัดยโสธร
ควบคุมให้เป็นไปตาม
พรบ.ผังเมืองรวม 2555
ผู้ดูแล คือ อปท. ต่างๆ
หน้าที่ของประชาชน คือ
ตรวจสอบว่า
กิจการเรา อยู่ใน ผังเมืองรวม ประเภทกิจการใด และ เข้าข่าย พรบ.ควบคุมอาคาร
หรือไม่
สำนักงานป้องกันจังหวัดยโสธร
กรณีตัวอย่าง สถานบริการ ร้าน วันวาน คือพวกเราต้องทำงานแบบูรณาการ
(ตรวจในภาพรวม ในทุกๆเรื่อง ทั้ง ควบคุมอาคาร แรงงาน การุคุ้มครองเด็ก
ประกันสังคม ยาเสพติด อัลกอฮอล์ สุรา ภาษี ดูแลเรื่อง สถานบริการ พรบ.บัตรประชาชน เป็นต้น)
ผู้ที่ออกปฏิบัติงาน
มีแต่เสีย กับเสีย โดนต่อว่า โดนเพ่งเล็ง และเสียเงิน ควรจะมีสิ่งที่ได้ด้วย
กำลังแก้ไขปัญหาทั้งระบบให้เป็นรูปธรรมต่อไป