11-12 ก.ย.2556 หมอเมืองจันทร์:นพ.จิระวัฒน์ คนคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ:เขต10
วันที่ 11-12 กันยายน 2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการ คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary
Care Unit:PCA) ปี 2556
ซึ่ง เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 10 เขต
10 จัดขึ้น ณ โรงแรม บ้านสวน กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท
อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ประธานในวันนี้
นพ.ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
เครือข่ายบริการที่ 10
มอบหมายให้ นาย รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
เป็นประธานและมอบนโยบายให้กับผู้เข้าร่วมประชุมในวันนี้ สรุปได้ว่า มีวัตถุประสงค์หลักคือ
ให้งานคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในระดับจังหวัดและในระดับเขต
รวมถึงพัฒนาทีมส่งเสริมการสร้างสุขภาพ (Quality Review Team:QRT) ระดับเขต
ให้เป็น ครู ก. ที่มีความรู้ ความสามารถ
เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ชี้แนะ ออกเยี่ยม กระตุ้น เพื่อพัฒนา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน Primary Care
Award:PCA
วิทยากรหลัก โดย นพ.จิระวัฒน์ วิเศษสังข์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
ซึ่ง จากการได้รับฟังแนวคิดและผลงาน
ของท่าน ผม ขอยกย่องให้ เป็น หมอเมืองจันทร์:นพ.จิระวัฒน์ วิเศษสังข์ คนคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ:เขต10
ขอยกตัวอย่าง
คำพูดและผลงานของท่านโดยสังเขป ดังนี้
....ผมเกิดจากครอบครัวที่ยากจน ในชนบท ได้พบและประสบกับ
ความทุกข์ ของประชาชน โดยเฉพาะของประชาชนที่ยากจนในชนบท ฉะนั้น เมื่อผมมีโอกาส
ได้มาทำหน้าที่ เพื่อแบ่งเบาทุกข์ ของประชาชนเหล่านั้น
ผมจึงเพียงแต่ทำตามที่ตนเองมีความรู้ ความสามารถที่จะทำได้ โชคดี ที่ผมมีโอกาสได้
มีโอกาสได้มาทำหน้าที่ในฐานะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และทำหน้าที่ผู้บริหารของ คปสอ.
เมืองจันทร์
ผมตั้งปณิธาน
ไว้ว่า เมื่อผมเป็นแพทย์ ผมจะต้องเป็นแพทย์ที่ดี
เมื่อผมเป็นผู้อำนวยการ ผมจะต้องเป็นผู้อำนวยการที่ดี
เมื่อผมเป็น ประธาน คปสอ. ผมจะต้องเป็น คปสอ. ที่ดี
เมื่อผมเป็น ประชาชน ผมจะต้องเป็น ประชาชนที่ดี
เมื่อผมเป็น ข้าราชการ ผมจะต้องเป็น ข้าราชการที่ดี
เมื่อผมเป็น พสกนิกร
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมจะต้องเป็น
พสกนิกร ที่ดี
สภาพเดิม
ของ CUP
เมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
เดิมที แทบไม่มีใครรู้จัก เป็นอำเภอเล็กๆ ประชากร เพียง 17,000 คน
คนไข้ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเมืองจันทร์
น้อยกว่า รพ.สต.ขนาดใหญ่ บางแห่ง
จากการประเมินผลงาน Ranking ผลงานCUP เมืองจันทร์ จะอยู่ลำดับ ท้ายๆ ของ จังหวัดศรีสะเกษ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 5 แห่ง
เดิมที สถานะทางการเงิน ตัวแดง ติดลบมาโดยตลอด
ไม่มีแพทย์ คนใด มาอยู่เกิน 2 ปี
และ แทบไม่มีแพทย์ จะมาปฏิบัติงานที่ นี่ เพราะ การคมนาคมไม่ดี ตลาดไม่มี
ความเจริญ ไม่มี น้ำประปา ไม่ไหล ไฟฟ้าตกๆดับๆ ค่าตอบแทนแพทย์
สามารถเบิกได้ตามระเบียบทางราชการ แต่ ไม่มีเงินให้เบิก
ภายใต้ วิกฤติ ย่อมมีโอกาส หาก ทั้งโรงพยาบาลเมืองจันทร์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองจันทร์
เราร่วมมือกัน หากพวกเราพร้อม เราจะไม่พูดว่า คนไม่พอ เพราะ คนไม่พอ เขาเอาไป
โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
เราจะไม่พูดว่า
คนไม่พอ เพราะหากไม่พอ เราจะช่วยกันทำ
ช่วยกันทำ คืออะไร คือ
ทำได้ด้วยกันทุกอย่าง ตัดหญ้าได้ แม้แต่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล แล้ว จะมีอะไร
อื่นอีก ที่ จนท.คนอื่นๆจะทำไม่ได้ ปลูกต้นไม้ช่วยกัน รดน้ำ ใส่ปุ๋ยต้นไม้
จัดดูแลทำความสะอาด ให้บริการที่ดีร่วมกัน ไหว้คนไข้ได้ เพราะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลไหว้คนไข้
หัวหน้าฝ่าย แพทย์ ทุกคนไหว้คนไข้ เดิมทีปีละ
คน ก็ไม่มีคนมาคลอด ปัจจุบัน ปีหนึ่งๆ หลายร้อยคน
เราจะไม่พูดว่า เงินไม่มี เงินไม่มี เราช่วยกันหา วิธีการหาเงินเข้า โรงพยาบาล
ง่ายที่สุดคือ การให้บริการที่ดี บริการที่ดีได้
คนให้บริการต้องพร้อมเราต้องพัฒนาคนของเราให้พร้อม โดยเฉพาะคนที่ต้องพัฒนาคนแรกคือ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และ สาธารณสุขอำเภอ เมื่อ สองคนนี้พร้อม คนอื่นๆก้พร้อม
เมื่อพร้อม ความร่วมมือ จากชาวบ้านก็ตามมา เราได้อาคาร เราได้ห้องประชุม สวยๆ
เราได้ สถานที่สวนหย่อม ร่มรื่น สวยงาม เราได้ โรงอาหารที่ทันสมัย เราได้มีโอกาสไปพัฒนาองค์กรร่วมกันเสมอๆ
เราจะไม่พูดว่า ของไม่มี
ของไม่มี เราช่วยกันหา เราแบ่งกันใช้ เครื่องมือ ทุกอย่างสามารถใช้ร่วมกันได้
เราจะไม่พูดว่า เป็นความผิดพลาดของใคร
หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น เราจะมองไปที่ระบบ เราจะวางระบบ ให้เออำนวย
ต่อการให้บริการที่ดี
บริการเล็กๆ น้อยๆ
เราใส่ใจเสมอ หากมีคนไข้นอนรักษาตัวที่ IPD แต่
เขาจำเป็นต้องไปเลือกตั้ง เราก็จัดรถ รับ ส่ง ไปลงคะแนนให้ด้วย
ชาวบ้านไม่มีค่ารถกลับบ้าน
เราจัดรถ รับ ส่ง ถึงบ้าน เป็นต้น
ที่โรงพยาบาลเมืองจันทร์
ไม่ต้องขออนุมัติซื้อตู้เก็บเอกสาร OPD เพราะเรา ใช้ระบบ Paperless
สามารถเชื่อมข้อมูลถึง รพ.สต.ได้ การบันทึกเอกสารหลังการให้บริการต้องมีคุณภาพ
เพราะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สามารถนำทีม บันทึกข้อมูลได้ด้วยตนเอง
ปัจจุบัน คนไข้ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเมืองจันทร์
มีมากพอสมควร จนสามารถ เพียงพอแก่การให้บริการ
สถานะการเงินของเรา
จากติดลบระดับ 7
กลับกลาย เป็นบวก
การประเมินผลงาน Ranking ผลงานCUP เมืองจันทร์ เคยอยู่ลำดับ ท้ายๆ ของ จังหวัดศรีสะเกษ
ปัจจุบัน กลับมาอยู่ในอันดับต้นๆ
ทั้งหมดไม่ได้มาเพราะโชคช่วย
แต่ด้วยพวกเรา ร่วมมือกัน ทั้ง
โรงพยาบาลเมืองจันทร์
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองจันทร์ รพ.สต.ทุกแห่ง และภาคีเครือข่ายของเรา เราร่วมมือกัน
จน กระทรวงสาธารณสุข มาสนใจ นำบริบทของเรา ไปเป็นต้นแบบ ประกอบการออกเป็น นโยบาย DHS District Health System
ในปัจจุบัน
DHS HA PCA คือ งานคุณภาพ หากเราทำงาน คุณภาพ ให้มีคุณภาพ
แล้วคุณภาพที่ดีก็จะตกแก่ประชาชน
นั่นคือ สิ่งมุ่งหวังสูงสุดที่พวกราทุกคนปรารถนา ....
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขอเป็นกำลังใจให้
นพ.จิระวัตร
วิเศษสังข์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ทำงาน ตามปณิธานของท่าน ตลอดไป และ ให้โชคดี
ได้รับ รางวัล แพทย์ชนบทดีเด่น
ปี 2556 ในอนาคต อันใกล้ครับ ....
ทั้งนี้
มีผู้เข้าร่วมประชุม จาก เครือข่าย มุกศรีโสธรเจริญราชธานี ในเวทีนี้ จำนวน 70 คน
เฉพาะ ในส่วนของ จังหวัดยโสธร
ประกอบด้วย
๑ นางอารีรัตน์ เนติวัชรเวช พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ สสจ.ยโสธร
๒ นายวีรพงษ์ ยางเดี่ยว นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.เมืองยโสธร
๓ นายประดิษ ภูมิแสน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.ทรายมูล
๕ นางวิลาวรรณ ไชยมี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.กุดชุม
๖ นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
๗ นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สสอ.คำเขื่อนแก้ว
๘ นายไพศาล กอมะณี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.ป่าติ้ว
๙ นายสมชาติ ยอดดี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.มหาชนะชัย
๑๐ นางรัตนา มั่นคง พยาบาลวิชาชีพ
ชำนาญการ รพร.เลิงนกทา
๑๑ นายเดชา
องอาจ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสอ.ไทยเจริญ
๑๒ นางอาภารัตน์ ผาจำปา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต.ตูม
๑๓ นางอารยา เจริญรัตน์ หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน ศสม.เมืองยศ
๑๔ นางเมตตา
วงศ์พันธ์ หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน PCU.บ้านท่าศรีธรรม
๑๕ นางสมจิต รากวงค์ พยาบาลวิชาชีพ
ชำนาญการ รพ.สต.ทุ่งนางโอก
๑๖ นางอุดมลักษณ์ พันธ์เลิศ พยาบาลวิชาชีพ
ชำนาญการ รพ.สต.หนองหิน
๑๗ นายเดชา
ป้องศรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต.โคกยาว
๑๘ นายอำนาจ สลับศรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต.หนองหมี
๑๙ นายยุทธกร
ชมวงค์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต.นาโส่
๒๐ นางฉลวยศรี
ไชยนา พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพ.สต.โพนทัน
๒๑ นายกฤษดา จักรไชย เภสัชกร
ปฏิบัติการ รพ.สต.ดงแคนใหญ่
๒๒ นางสุจีร์ คล่องการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต.กระจาย
๒๓ นายธนกร วอทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต.โพธิ์ศรี
๒๔ นางสุนันญา แสงแก้ว พยาบาลวิชาชีพ
ชำนาญการ รพ.สต.กุดแห่
๒๕ นายอรชุน มาลาพันธ์ พยาบาลวิชาชีพ
ชำนาญการ รพ.สต.นากอก
๒๖ นางแสงมณี
เย็นเสมอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต.ส้มผ่อ
๒๗ นางสาวกิตติกา ค่ำครวญ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข รพ.สต.ส้มผ่อ
๒๘ นางนรรถฐิยา ผลขาว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต.หนองคูน้อย
๒๙ นายวุฒินันท์
สุดบอนิจ หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน PCU.รพ.ไทยเจริญ
๓๐ นางอริยวรรณ
จันทร์สว่าง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ รพ.คำเขื่อนแก้ว
๓๑ นายภานุวัฒน์ บุญโญ นักวิชาการสาธารณสุข PCU ค้อวัง
No comments:
Post a Comment