26 ก.ย.2556 จนท.รพ.สต.เตรียมบำบัด_ยาเสพติดปี2557_ยโสธร
ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์
การปฏิบัติงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ณ ห้องพญาแถน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ปี
2557 ยังคงเน้นให้การบำบัดด้วยระบบสมัครใจต่อไป ซึ่ง กระทรวงสาธารณสุข
ต้องเตรียมความพร้อม และปรับแผนการให้บริการตามนโยบายใหม่ดังนี้
เจ้าหน้าที่
สาธารณสุข ทุกระดับ จนถึง รพ.สต.ต้องพร้อมให้บริการบำบัดยาเสพติด
ตามนโยบายดังนี้
ให้คัดกรองผู้เสพทุกรายเข้ามารับการบำบัด
โดยคัดกรองจำแนกบำบัดอกเป็น 4 กลุ่มหลัก
ดังนี้
กลุ่มผู้ใช้เป็นครั้งคราว ( User ) กลุ่มผู้เสพ ( Abuser ) กลุ่มผู้ติด (Addict ) กลุ่มผู้ติดเรื้อรัง (
Hard-Core )
กลุ่ม1. ผู้ใช้เป็นครั้งคราว ( User
) ให้การบำบัดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใน รพ.สต.โดยการให้คำแนะนำ หรือให้ความรู้
( Brief Advise: BA ) จำนวน 1-2 ครั้ง ในเวลา
2 สัปดาห์ ดำเนินการติดตามดูแลในชุมชน 2-4 ครั้ง ใน 6 เดือน
กลุ่ม2. กลุ่มผู้เสพ ( Abuser ) ให้การบำบัดโดยพยาบาลวิชาชีพ ใน รพ.สต.
โดยการให้คำปรึกษาแบบสั้น ( Brief Interview: BI ) นาน 15-30
นาที จำนวน 4 ครั้ง ในเวลา 1 เดือน นัดพบเพื่อบำบัดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ประเมินพฤติกรรมด้วยการสัมภาษณ์
(Interview ) และควร มีการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดด้วย หรือการเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
9 วัน หลังการบำบัดให้ประเมินพฤติกรรมร่วมกับการตรวจปัสสาวะซ้ำ
หากพฤติกรรมไม่เปลี่ยนแปลง ให้ส่งต่อเพื่อเข้ารับการบำบัด ในโรงพยาบาล หรือ
สถานบำบัด โดยเทคนิค การสัมภาษณ์ เพื่อสร้างแรงจูงใจ ( Motivation Interview:
MI ) หรือการบำบัดผู้ป่วยนอกด้วยระบบ Modified Matrix
Program
หรือบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม
( Cognitive
Behavior Therapy: CBT)
ร่วมกับ
การให้ยาบำบัดอาการในระยะเวลา 1-2 เดือน หลังการบำบัดมีการติดตาม 4-7
ครั้ง ใน 1 ปี
กลุ่ม3. กลุ่มผู้ติด (Addict ) และกลุ่ม4. กลุ่มผู้ติดเรื้อรัง
( Hard-Core ) ติดรุนแรง
หรือมีโรคแทรกทางกาย จิตใจ สังคม ( Cor_Mobid) ให้การช่วยเหลือโดยการส่งต่อ
เพื่อรักษาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือ สถานบำบัดเฉพาะด้าน หรือศูนย์วิวัฒน์พลเมือง(เฉพาะกลุ่มติด)
หรือ โรงเรียนแพทย์ หลังการบำบัดมีการติดตาม 4-7 ครั้ง
ใน
1 ปี
ข้อเสนอที่ดี ขอชื่นชมข้อเสนอจาก
จากนางจันทร์เพ็ญ นิยมพงศ์ จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร เสนอให้จัดองค์กรศูนย์บำบัดกลางระดับจังหวัด:One Stop Service : ช่วยเหลือ ผู้เสพ ผู้ติด จริงๆ โดยก้าวข้ามผลประโยชน์ ของพนักงานเจ้าหน้าที่
หรือเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้อง อื่นๆ ในวงจรของยาเสพติด
แต่ศูนย์ที่จัดตั้งนี้นี้ ให้ วัตถุประสงค์หลักคือ
ให้การช่วยเหลือ ผู้ที่ต้องการ เข้ารับการบำบัดด้วยระบบสมัครใจ
ให้สามารถพ้นทุกข์ได้
จริงๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียน เจ้าหน้าที่ ก อำเภอ ต่างๆ มาปฏิบัติงาน ณ
สถานที่ที่มีอยู่แล้ว เช่น ห้องศาลเด็กและเยาวชนเดิม อาคารหลังเก่า
ศาลากลางจังหวัดยโสธร เป็นต้น
ข้อค้นพบที่ดี
ผู้ที่ผ่านการบำบัดตาม
หลักพระพุทธศาสนา CBTB
( Cognitive Behavior Therapy: CBT)
จะกลับไปเสพซ้ำ น้อยมาก (ไม่เกินร้อยละ 5 )
ศูนย์แรก ที่วัดหนองไคร้ หลวงปู่ปะสาร
ท่านเมตตา ทำต่อเนื่อง มา ตลอด 6 ปี งบประมาณ ไม่มีไม่เป็นไร เพราะพระ
ท่านบิณฑบาตทุกวัน
อนึ่ง ปี 2557 สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ระยะที่ 3 ปี 2557 มีมาตรการ แผนงาน กิจกรรมดำเนินงาน 7
แผนหลัก ซึ่งมีจุดเน้นของแผนปฏิบัติการไว้ 10 ประการ
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ
เกิดการบูรณาการการประสานงานอย่างเป็นระบบระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประชุม ในครั้งนี้ขึ้น
มีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดในพื้นที่ รวม 30 คน
จัดการประชุมด้วยดีโดย โดย นางนิภาภรณ์ ภาคพรหม หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นางพิสมัย
รัตนเดช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นายนพพร
รากวงศ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และคณะ
No comments:
Post a Comment