2 ก.ย.2556 นายกฯไทย_ทำดีได้ความคิดดีจากเวทีดีดีระดับโลก_ยิ่งลักษณ์:โทนี่ แบลร์
วันที่ 2 กันยายน
2556 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขอชื่นชม รัฐบาลไทย ที่ได้ จัดให้มี
การประชุมดีดีนี้ขึ้น เวทีปาฐกถา เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์" หรือUniting
for the future ที่โรงแรมพลาซ่าแอธินี กรุงเทพมหานคร
ประธานการเปิดประชุมโดย
ฯพณฯ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
"โทนี่ แบลร์" ชู 5
แนวทางสร้างปรองดอง ติงแก้รัฐธรรมนูญ แค่เปลือก-ยุติธรรมต้องไร้อคติ
ในการปาฐกถาพิเศษเรื่อง
"ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์" หรือ Uniting for the
future : Learning from each other’s experiences ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2556มีอดีตผู้นำสหราชอาณาจักร และผู้ทรงคุณวุฒิหลายรายเข้าร่วมงาน
พร้อมเสนอแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ นายโทนี
แบลร์ Tony Blair อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
กล่าวตอนหนึ่งว่า สาเหตุที่ได้มาร่วมงานนี้
เนื่องจากผู้จัดงานเชิญมาโดยไม่ได้รับเงินรับทองอะไร
แต่มาเพราะว่าเชื่อในกระบวนการสมานฉันท์และปรองดอง ไม่ใช่มาเพื่อบรรยาย
แต่มาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม
สุดท้ายแล้วจะแก้ไขปัญหาอย่างไรเป็นหน้าที่ของคนไทย นายแบลร์ กล่าวต่อว่า
อยากบอกหลัก 5 ประการของการทำงานเรื่องปรองดอง จากประสบการณ์ที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการปรองดองหลายสถานการณ์
ได้แก่
ประการที่
1 คือ การปรองดองเกิดขึ้นได้
ก็ต่อเมื่อสังคมมีความรู้สึกอยากแบ่งปันมากกว่าแบ่งแยก
หรือหมายความว่าเรามีความรู้สึกไม่พอใจเกิดขึ้น แต่ก็อยู่ในบริบทที่สังคมรู้สึก
ต้องการเห็นโอกาสมากกว่าไม่พออกพอใจในอดีต
สิ่งที่สำคัญคือการเจรจาต่อรองสันติภาพและการผนึกกำลังร่วมกันที่จะแบ่งปันโอกาส
ประการที่
2 สังคมจะต้องอยู่กับสถานการณ์ที่พูดถึงเรื่องการปรองดอง หมายความว่าเป็นความขัดแย้งที่มีการปรองดอง อดีตสามารถนำมาวิเคราะห์ได้
แต่ไม่ควรตัดสิน ทั้งนี้ก็เพื่อความพอใจของทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม
เราต้องยอมรับว่าจะอย่างไรก็ตามเราต้องมีสองฝ่าย และเราไม่สามารถข้ามพ้นได้
แต่สามารถตรวจวิเคราะห์อดีตเพื่อเดินสู่อนาคตได้
สิ่งที่ยากที่สุด
คือ การยอมรับความไม่พอใจและการปล่อยตัวนักโทษ ดังนั้นความปรองดองจะไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความคิดในอดีต
แต่เป็นความคิดที่จะนำไปสู่อนาคต ทั้งนี้ หากวิเคราะห์เหตุการณ์ในประเทศไทย
เราจะเห็นประเด็นต่างๆ ที่คล้ายคลึงกัน
คือเรื่องของความทุกข์ของญาติเหยื่อที่เสียชีวิตก็ยังอยู่ แต่การปรองดองต้องก้าวข้ามมันไป
ประการที่
3 คือ เราไม่สามารถลบล้างความอยุติธรรมได้
แต่สาระที่แท้จริงคือสามารถตั้งกรอบการทำงานที่ทุกคนเห็นว่ายุติธรรมได้
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ซึ่งประเทศไทยมีกรอบอยู่แล้ว
คุณสามารถลงรายละเอียดเพิ่มเติมในผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
สำหรับประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
หรือประเด็นว่าใครขึ้นมายึดอำนาจนั้น ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นแค่พื้นผิว
แต่ลึกลงไปคือความไม่เห็นชอบของแต่ละฝ่าย การปรองดองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุยในประเด็นที่ลึกลงไปในแง่ของความยุติธรรมและความสมดุล
ไม่ว่าจะเห็นขัดแย้งอย่างไรก็ต้องทำให้เห็นว่ามีทางเดินไปสู่อนาคตได้
ประการที่
4 คือ หลักการประชาธิปไตยที่แท้และใช้งานได้
หมายความว่าในแต่ละประเทศมีการแบ่งแยกกัน มีพรรค ชนชั้น ศาสนา เชื้อชาติ และสีผิว
ในประเทศไทยมีการแบ่งแยกมากมาย แต่เป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม 2-3 อย่างที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือ
ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องของการลงคะแนนเสียงเฉยๆ
ไม่ใช่เรื่องที่ว่าคนส่วนใหญ่เข้าไปมีอำนาจ
แต่ประชาธิปไตยเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดที่ว่าคนส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มน้อยอย่างไร
หากคิดว่าประชาธิปไตยคือการชนะทุกอย่าง จะทำให้คนกลุ่มน้อยรู้สึกว่าถูกกีดกันในทุกเรื่อง
"ผมเห็นว่าประชาธิปไตยคือพหุภาคี ไม่ใช่อำนาจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
แต่เป็นเรื่องการมีพื้นที่แบ่งปันทำงานกันได้ แบ่งปันค่านิยมบางอย่างร่วมกัน
ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของความคิด นี่คิดแกนของประชาธิปไตย
ส่วนเรื่องหลักนิติธรรมต้องดำเนินไปไม่เอนเอียง ไม่ว่าจะเป็นตุลาการหรือรัฐบาลต้องตรวจสอบได้
กระบวนการยุติธรรมต้องมีความเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคติ
นี่คือกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง" นายแบลร์ กล่าว
ประการที่
5 คือ หลักการที่นำไปปฏิบัติได้จริง แต่ปัจจุบันหลงลืมไป การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ง่าย
ถ้ารัฐบาลมีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ การปรองดองจะง่ายขึ้นถ้ารัฐบาลกำลังทำงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประชาชนรู้สึกดีขึ้น
หรืออีกนัยหนึ่งคือให้ประชาชนรู้สึกว่ากระบวนการสันติภาพนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ดังนั้นประเด็นที่รัฐบาลจะเดินหาประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น คือ
ประเด็นที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ท้าทายของรัฐบาล
นี่คือ
หลักการทั้ง 5
ข้อ ในการทำงานเรื่องปรองดองของผม
กระบวนการนี้ไม่ง่าย
และบางครั้งคุณอาจก้าวไปสู่เหตุการณ์ที่ว่าความแตกต่างไม่สามารถนำไปสู่ความปรองดองได้เลย
แต่สิ่งที่สำคัญในการปรองดอง คือ
อย่ายอมแพ้ เพราะเป็นอนาคตของประเทศ แม้จะดูยากแค่ไหน แต่ก็คุ้มค่าที่จะปรองดอง"
"ขอย้ำว่า ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ในทุกประสบการณ์ที่ผมทำมา
ผู้นำต้องอยู่หน้าขบวนการปรองดอง และประชาชนต้องตามหลังมาด้วย
ฉะนั้นอย่ายอมแพ้ และอยากจะบอกว่า คุณไม่สามารถลบเลือนความแตกต่างได้
แต่ยืนยันว่าหากสามารถทำงานร่วมกัน ก็จะนำผลประโยชน์ไปสู่ประชาชนได้อย่างมหาศาล"
นายแบลร์ ระบุทิ้งท้าย
No comments:
Post a Comment