11/30/14

24พย.2557 DHS_PCA_ผอ.รพ.สต.พร้อมนำนโยบายสู่การปฏิบัติ_คำเขื่อนแก้ว

24พย.2557 DHS_PCA_ผอ.รพ.สต.พร้อมนำนโยบายสู่การปฏิบัติ_คำเขื่อนแก้ว
                   วันที่24พฤศจิกายน 2557 วันนี้  ผมนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุม คณะกรรมการบริหาร_สาธารณสุขคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร  ณ ห้องประชุมม่านเมฆา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประธานการประชุม โดย นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประทับใจ คณะผู้บริหารเรา มีระเบียบวินัยดีมาก แต่งกาย ชุดเครื่องแบบสีกากี เข้าร่วมประชุม 
เนื้อหาที่สำคัญ ประกอบด้วย
การขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ DHS_PCA_งานคุณภาพ_การแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ
ความหมาย Definition
ระบบสุขภาพอำเภอ ตัวย่อว่า รสอ.
ภาษาอังกฤษ คือ District Health System : DHS
การขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ DHS_PCA
ตามกรอบแนวคิด Coceptaul Framework ระบบสุขภาพอำเภอ
หากมองในมุมมองเชิงระบบ  Input Process Output Result แล้ว
DHS Input คือ 6BB หรือ 6 Building Blocks
DHS Process คือ หลักการดำเนินงาน DHS ภายใต้หลัก UCCARE
DHS Result 3 ระดับ
DHS Output คือ ระบบบริการทีมีคุณภาพ ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ตอบสนองความต้องการของประชาชน
DHS Outcome คือ สถานะสุขภาพของประชาชนดี สามารถป้องกันภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพได้
DHS Impact คือ ประชาชนมีสุขภาวะ

DHS Input คือ 6BB หรือ 6 Building Blocks
            Six Plus Building Block หรือ Six Building Block หรือ 6 Block
แนวทางการพัฒนาระบบบริการ โดยใช้ Six Plus Building Block หรือ Six Building Block หรือ 6 Block
ตามกรอบระบบสุขภาพองค์ประกอบที่พึงประสงค์
The Six Building Blocks of a Health System and Desirable Attributes
Block ที่ 1 ระบบบริการ Service Delivery
Block ที่ 2 กำลังคนด้านสุขภาพ Health Manforce
Block ที่ 3 ระบบข้อมูลข่าวสาร Health Information System
Block ที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ Access to Esential Medicine
Block ที่ 5 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ Finaning
Block ที่ 6 ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล Leadership Governance
ส่วนที่เพิ่ม จาก หรือ  Plus มาคือ
Block ที่ 7 การมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ Community Participation

ที่สามารถจัดบริการให้สามารถตอบสนองการเข้าถึงและครอบคลุมของการบริการ ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย Access and Coverage  Quality and Safety
Overall Goals and Outcome 4 ประการคือ
ประการที่ 1 ความเป็นธรรม Equity
ประการที่ 2 ตอบสนองความต้องการของประชาชน Responsibility
ประการที่ 3 ป้องกันความเสี่ยงด้านสังคม และด้านการเงิน Risk Protect ( Social and Financial)
ประการที่ 4 ประสิทธิภาพ Efficiency
DHS Process คือ หลักการดำเนินงาน DHS ภายใต้หลัก UCCARE
U : ทุกภาคส่วนเป็นทีมเดียวร่วมกัน พัฒนาทุกประเด็นสุขภาพสาคัญของพื้นที่
C : ตอบสนองความต้องการ พัฒนาจนได้รับความเชื่อมั่นศรัทธา
C : ชุมชน ภาคี เป็นเจ้าของร่วมกันดาเนินการครบวงจร
A : ทีมทุกระดับมีความสุข ภูมิใจ รับรู้คุณค่า เกิดความผูกพัน
R : ไม่มีกาแพงกั้นในการแลกเปลี่ยน/ใช้ ทรัพยากรจากทุกส่วน
E : ประชาชนมีสถานะสุขภาพที่ดี

DHS Output คือ ระบบบริการทีมีคุณภาพ ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ตอบสนองความต้องการของประชาชน
            สร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วน ในการจัดการสุขภาพชุมชน
            ส่งเสริมและสนับสนุนประชาชน และชุมชน ร่วมกันดุแลสุขภาพ พึ่งตนเองได้ และไม่ทอดทิ้งกัน
            พัฒนาระบบริการสุขภาพ ให้ครอบคลุม มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ
พัฒนาการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ให้เอื้อต่อการรับความเสี่ยง จากปัจจัยทางสังคม อันคุกคามสุขภาพ

DHS Outcome คือ สถานะสุขภาพของประชาชนดี สามารถป้องกันภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพได้
            เป้าประสงค์ที่ 1. อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด     ไม่น้อยกว่า 80 ปี 
เป้าประสงค์ที่ 2. อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 72 ปี
PDCA กับ PCA เกี่ยวข้องกันอย่างไร
โดย Cocept การเริ่มจาก ทำงานในหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ทำไปปรับไป บ่ดีเฮ็ดใหม่ PDCA
เมื่อทุกงาน ทำ PDCA ได้ผลดีแล้ว ตัว D ก็จะหายไป กลายเป็น PCA
เปรียบเทียบระหว่าง PCA และ DHS
DHS ข้อกำหนด   Unity     หมวด PCA          หมวด  1 หมวด  2
DHS ข้อกำหนด   Community Participation หมวด PCA หมวด  3 หมวด  6.1
DHS ข้อกำหนด   Customer Focus             หมวด PCA หมวด  3 หมวด  6.1
DHS ข้อกำหนด   Appraciaation                 หมวด PCA หมวด  5
DHS ข้อกำหนด   Resource Sharing           หมวด PCA หมวด  2 หมวด  5 หมวด  6.1     หมวด  6.2
DHS ข้อกำหนด   Essential Care                หมวด PCA หมวด  6.1 หมวด  4

ระดับคะแนน การประเมิน ในแต่ละ กระบวนงาน
คะแนน 1 เริ่ม มีแนวทาง
คะแนน 2 ขยาย มี ODOP
คะแนน 3 ระบบ มีผลลัพธ์
คะแนน 4 เรียนรู้ ทบทวน
คะแนน 5 บูรณาการ ทุกระบบ
            บทสรุป ถ้าท่านทำงาน PCA แล้ว เอาเครื่องมือ DHSPCA เป็นตัวประเมิน ในแต่ละหน่วยแล้ว
นำผลงานมารวมกันในภาพรวม จะสามารถประเมิน DHS ในระดับ อำเภอได้

เรื่อง การจัดกิจกรรม 5 ธันวามหาราช 2557
การจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 87 พรรษา 5 ธันวาคม 2557 ณ สนามหน้าที่ว่าการ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เตรียมพร้อม ให้แล้วเสร็จ ภายในเย็น วันที่ 2 ธันวาคม 2557 ให้พร้อม จัดแสดงวันที่ 3-5 ธันวาคม 2557
การเตรียมความพร้อม การจัดนิทรรศการ เน้นภาพ กิจกรรม พอสว. พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข และ พอ.สว. เป็นลักษณะ นิทรรศการมีชีวิต  ที่สามารถให้บริการได้ทั้ง 3 วัน
            กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมด้านทันตสุขภาพ การให้บริการอื่นๆ การตรวจชันสูตร
ผู้รับผิดชอบ โดย ทญ.อติพร พลทรัพย์ หัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นางอนงค์ลักษณ์ ฤทธิวุฒิ หน.กลุ่มการพยาบาล นายทรงพล พลชัย หน.กลุ่มงานบริหาร นางนัยนา ดวงศรี หน.งาน PCU
            ทีมงาน จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประกอบด้วย โซนดงแคนใหญ่ โซนกู่จาน
หัวหน้าทีม โดย นางมนัชยา กองทำ เลขานุการ โดย นายศุภสิทธิ ตั้งจิต
กิจกรรมมีชีวิตประกอบด้วย
วันที่ 3 ธันวาคม 2557        การแพทย์ทางเลือก หมอเขียว กิจกรรม ยา 9 เม็ด โดย โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
วันที่ 4 ธันวาคม 2557        บริการทันตกรรม โดยกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
วันที่ 5 ธันวาคม 2557        การเล่นเกมที่เกี่ยวกับสุขภาพ โดย โซนดงแคนใหญ่ และ นวดเพื่อสุขภาพ โดย โซนกู่จาน
มติที่ประชุม รับทราบ
เรื่อง การคัดเลือก อสม.ดีเด่น ปี 2558
กำหนดการ ส่งรายชื่อ  อสม.ดีเด่น ทั้ง 10 สาขา วันที่  4 ธันวาคม 2557  
คัดเลือก อสม.ดีเด่น ระดับจังหวัด วันที่ 9 ธันวาคม 2557 ณ ณ โรงแรมเจพี เอมเมอรัลด์ จังหวัดยโสธร
มติที่ประชุม ให้ รพ.สต.ทุกแห่ง ส่งรายชื่อ อสม.ดีเด่น ทั้ง 10 สาขา เข้ารับการคัดเลือก ในวันที่ วันที่  4 ธันวาคม 2557 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว

การลงมือปฏิบัติ โครงการการลดสารเคมีในเกษตรกร ในทุกพื้อนที 























No comments:

Post a Comment