11/14/14


5 พย.2557: 6block & นโยบายสู่การปฏิบัติ_แผนปฏิบัติการสาธารณสุขยโสธร

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2558 ณ ห้องประชุม โรงแรม ภูดารา รีสอร์ท อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

ประธานการประชุมและมอบนโยบาย โดย นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

วัตถุประสงค์หลักคือ การจัดทำและบูรณาการแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2558 ของหน่วยงานในสังกัด สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร ประจำปี 2558

            วิทยากร เรื่อง การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ โดย นพ.จักราวุธ จุฑสงฆ์

รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร(นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน)

 













การพัฒนาระบบสุขภาพที่เป็นการทำงานเพื่อให้ประชาชนสามารถ Self Care ได้นั้น ต้องเริ่มที่การพัฒนาจากกระดับปัจเจกบุคคล ขายเป็นชุมชน เป็นตำบล เป็นอำเภอต่อไป

ในระดับปัจเจกนั้น มีเป้าหมายที่การพัฒนา อสม.ต้นแบบ 3 2

ในระดับหมู่บ้าน มีเป้าหมายที่การพัฒนาที่หมู่บ้านจัดการสุขภาพ

ในระดับตำบล มีเป้าหมายที่การพัฒนาที่ตำบลจัดการสุขภาพ

สำหรับหมู่บ้านจัดการสุขภาพนั้น แนวทางการพัฒนาที่เป็นรูปแบบการบูรณาการ กับการพัฒนาหมู่บ้านแบบบูรณาการ ตามโครงการหมู่บ้านยโสธรโมเดล ซึ่ง หมู่บ้านยโสธรโมเดล มีอำเภอละ 3 หมู่บ้าน รวม 27 หมู่บ้าน มีเป้าหมายการพัฒนาเพื่อให้ ประชาชน กินอิ่ม นอนอุ่น มีเงินออม ในขณะเดียวกัน หมู่บ้านจัดการสุขภาพของเราก็มีวัตถุประสงค์เพื่อ สุขภาพดี วิสาหกิจยั่งยืน หรือ 3 ดี สุขภาพดี เป็นคนดี และมีรายได้ดี

 

วิสัยทัศน์กระทรวงสาธารณสุข: ภายในทศวรรษต่อไป คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้น

เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน

พันธกิจ: 2 ประการ

พันธกิจที่ 1. กำหนดนโยบาย มาตรฐาน กฎหมายและบริหารจัดการบนฐานข้อมูลที่มีคุณภาพและการจัดการความรู้ รวมถึงการติดตามกำกับประเมินผล (Regulator)

พันธกิจที่ 2. จัดระบบบริการตั้งแต่ระดับปฐมภูมิจนถึงบริการศูนย์ความเป็นเลิศที่มีคุณภาพ ครอบคลุมและระบบส่งต่อที่ไร้ร้อยต่อ (Provider)

เป้าประสงค์: (ที่เราทำทุกอย่างเพื่อสนับสนุน)

เป้าประสงค์ที่ 1. อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด     ไม่น้อยกว่า 80 ปี 

เป้าประสงค์ที่ 1. อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 72 ปี

ยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่เน้นหนัก ประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาและจัดระบบบริการ ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ครอบคลุม ประชาชนสามารถ เข้าถึงบริการได้

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาระบบบริหาร จัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการ

ทั้งนี้ มีรายละเอียดในแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย

1. กลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) เดิมคือ

2. กลุ่มเด็กวัยเรียน (5 – 14 ปี) เดิมคือ

3. กลุ่มเด็กวัยรุ่น (15 – 21 ปี) เดิมคือ

4. กลุ่มเด็กวัยทางาน (15 – 59 ปี) เดิมคือ

5. กลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) และกลุ่มคนพิการ เดิมคือ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและจัดระบบบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ครอบคลุม ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้  PSC_CDAS

6. ด้านระบบบริการปฐมภูมิ (Primary care)

7. ด้านระบบบริการทุติยภูมิ และตติยภูมิ (Secondary care)

8. ด้านระบบควบคุมโรค (Communicable Disiase Control)

9. ด้านระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Cosumer Protection)

10. ด้านการป้องกันและบำบัดรักษายาเสพติด (Drug)

11. ด้านการต่างประเทศและอาเซียน (ASEAN)

12. ด้านการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสาธารณสุขชายแดนภาคใต้ (South)

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการ LE4M

13. ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Legislative)

14. ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environment)

15. ด้านพัฒนาบุคลากร (Man)

16. การเงินการคลัง (Money)

17. ยาและเวชภัณฑ์/ พัสดุ (Material)

18. ปราบปรามทุจริต (Manage)

 
Six Plus Building Block หรือ Six Building Block หรือ 6 Block

แนวทางการพัฒนาระบบบริการ
โดยใช้ Six Plus Building Block หรือ Six Building Block หรือ 6 Block

ตามกรอบระบบสุขภาพ: องค์ประกอบที่พึงประสงค์

The Six Building Blocks of a Health System and Desirable Attributes

Block ที่ 1 ระบบบริการ Service Delivery

Block ที่ 2 กำลังคนด้านสุขภาพ Health Manforce

Block ที่ 3 ระบบข้อมูลข่าวสาร Health Information System

Block ที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ Access to Esential Medicine

Block ที่ 5 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ Finaning

Block ที่ 6 ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล Leadership Governance

ส่วนที่เพิ่ม จาก หรือ  Plus มาคือ

Block ที่ 7 การมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ Community Participation

ที่สามารถจัดบริการให้สามารถตอบสนองการเข้าถึงและครอบคลุมของการบริการ ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย

Access and Coverage

Quality and Safety

Overall Goals and Outcome 4 ประการคือ

ประการที่ 1 ความเป็นธรรม Equity

ประการที่ 2 ตอบสนองความต้องการของประชาชน Responsibility

ประการที่ 3 ป้องกันความเสี่ยงด้านสังคม และด้านการเงิน Risk Protect ( Social and Financial)

ประการที่ 4 ประสิทธิภาพ Efficiency

6 building blocks เชื่อมโยงกับ 3 ยุทธศาสตร์หลักอย่างไร

จาก 6 building blocks นั้นจะพบว่า

ยุทธศาสตร์ที่ 1สุขภาพตามกลุ่มวัย และ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านจัดระบบบริการ นั้น จะครอบคลุม ใน Block ที่ 1

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ระบบบริหารจัดการนั้น จะครอบคลุม ใน Block ที่ 2 3 4 5 6

ข้อเสนอจากที่ประชุม เช่น นายสุชาติ ไชยสัจ สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

            ประสบการณ์การพัฒนา DHSPCA สามารถตอบคำถามการทำงานร่วมกันในระดับอำเภอได้ ฉะนั้นจึงจำลองแบบ DHS ไปทำในระดับตำบล เรียกว่า THS Tambon Health System พวกเราสามารถร่วมกันทำได้ ขอเพียงมีการสนับสนุนที่ดีจากผู้บริหาร ในเรื่องที่สำคัญ คือ การสนับสนุนงบประมาณ เพื่อให้บรรลุ KPI ต่อไป

No comments:

Post a Comment