4/18/16

11เมย.2559ผู้ตรวจฯสาธารณสุข_ให้กำลังใจ ดงแคนใหญ่_จุดบริการสงกรานต์_คำเขื่อนแก้ว ยโสธร

11เมย.2559ผู้ตรวจฯสาธารณสุข_ให้กำลังใจ ดงแคนใหญ่_จุดบริการสงกรานต์_คำเขื่อนแก้ว ยโสธร

วันที่ 11 เมษายน 2559  เวลา 09.39 น. วันนี้ ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว  และคณะ เตรียมความพร้อม  กิจกรรม ตามที่ นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ที่มีกำหนดการ ตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจ ศูนย์บริการประชาชน ในเขต อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ในวันนี้ ที่ 11 เมษายน 2559 ตามกำหนดการ ดังนี้
เวลา 08.30 น. แวะ ตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจ จุดตรวจ บริเวณหน้า โรงเรียนชุมชนดงแคนใหญ่
โดย มี นายสมศักดิ์ บุญทำนุก นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว นำคณะกรรมการ คปถ. ผู้บริหารท้องถิ่น และภาคประชาชนให้การต้อนรับ
ขอบพระคุณ ทุกๆ ท่านที่เข้าร่วมกิจกรรม และ จนท.ทุกคนที่ร่วมปฏิบัติงานด้วยดี
ในจุดตรวจร่วมบริการประชาชนจุดนี้ นายขจรเกียรติ อุปยโสธร ได้จัดให้มีศูนย์สร่างเมา บริการประชาชน โดยมีทั้ง บริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์แผนปัจจุบันด้วย

โดย รัฐบาลมีนโยบายให้ ทุกจังหวัดเตรียมความพร้อม ในการป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์นั้น  อำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้ดำเนินการตามมาตรการ ๑ ๒ ๓ ๔ หรือ ๑๐ รสขม สำหรับบริการประชาชน ระหว่างวันที่ ๑๑ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๙ โดยตั้งจุดตรวจหลัก ป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขึ้น จำนวน ๒ แห่ง คือ
จุดตรวจหลักที่ ๑ ถนนแจ้งสนิทบริเวณหน้า อบต. ย่อ
จุดตรวจหลักที่ ๒ ถนนแจ้งสนิทบริเวณหน้า โรงเรียนชุมชนดงแคนใหญ่
                   ทั้งนี้ ได้ร่วมกัน รณรงค์ โครงการ ยโสธรขับขี่ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุทางถนน ๓๖๕ วัน และ ประชาสัมพันธ์ กระตุ้นเตือน ประชาชน ตาม มาตรการ ๑๐ รสขม เข้มข้น เข้มงวดในช่วง เทศกาลสงกรานต์
เน้น 10 รสขม_คำเขื่อนแก้ว_ป้องกันอุบัติเหตุ_Accident
ซึ่ง มาตรการดังกล่าว เรียกง่ายๆว่า 10 รสขม หรือ 1234 คือ 1ร. 2ส. 3ข. 4ม. ก็ได้ ครับ
รวมความแล้ว หากกระทำผิด จาก 10 ประการนี้ จะถูก จับและปรับ ครับ ประกอบด้วย
1) : ความ เร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด 
2) : ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจรจราจร 
3) : ขับรถย้อนศร 
4) : ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 
5) : ไม่มีใบขับขี่ 
6) :แซงในที่คับขัน 
7) : าสุรา ขณะขับขี่
8) :ไม่สวมหมวกนิรภัย 
9):มอเตอร์ไซค์ไม่ปลอดภัย 

10) :ใช้มือถือขณะขับรถ(โทรศัพท์)

































ทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีกรอบยุทธศาสตร์การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน 5 ด้าน ( 5 E ) ได้แก่
E1. ยุทธศาสตร์ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement)
E 2. ยุทธศาสตร์ด้านวิศวกรรมจราจร (Engineering)
E 3. ยุทธศาสตร์ด้านการให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์และสร้างการมีส่วนร่วม (Education and Empowerment)
E 4. ยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Service)
E 5. ยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ติดตามและประเมินผล (Evaluation)

No comments:

Post a Comment