6/22/17

1-2 มิ.ย.2560 End Malaria for Good” “ประชารัฐ ร่วมใจ กำจัดโรคไข้มาลาเรีย” ณ Nevada อุบลฯ

1-2 มิ.ย.2560สาธารณสุขยโสธร ตรวจสอบภายใน_ควบคุมภายใน_ณ สสอ.คำเขื่อนแก้ว
            วันที่ 1-2 มิถุนายน 2560 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ไปพร้อมกับ นายแมน แสงภักดิ์ และคณะ ร่วมกิจกรรม
การประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ( SRRT ) ระดับอำเภอ
ในการสอบสวนและการจัดการ โรคมาลาเรีย โดยใช้ระบบ MIS เพื่อยับยั้งการแพร่ เชื้อมาลาเรีย
ที่ดื้อยา อนุพันธุ์อาติมิซินนิน ณ โรงแรมเนวาด้าแกรนด์ อุบลราชธานี มีตัวแทนทีม SRRT จาก 70 อำเภอ
และโรงพยาบาล ในเขตสุขภาพที่ 10 เข้าร่วมประชุม
หัวหน้าคณะวิทยากร โดย นางศุภศรัย สง่าวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี 
นายชาตรี ราศีบุษย์  ดร.ประยุทธ สุดาทิพย์ นายอุดมสิน รัตนธงชัย อ.สุรสวดี กิจการ และคณะ เป็นต้น
                        โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานด้านรายงานโรคการสอบสวนโรคและการจัดการโรคไข้มาลาเรียของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ

















                        






ทั้งนี้เป็นการปฏิบัติงาน ตามหนังสือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร มีหนังสือ ที่ ยส.๐๐๓๒.๐๐๓  / ว. ๑๖๓๖  ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
                        กระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้ากำจัดโรคไข้มาลาเรียให้หมดไปจากประเทศไทยในปี 2567
โดยยกระดับนโยบายจาก ควบคุมโรค เป็นกำจัดโรค from Control to Elimination ภายใต้คำขวัญการรณรงค์
ประชารัฐ ร่วมใจกำจัดโรคไข้มาลาเรีย” 
                        วันที่ 25 เมษายนของทุกปี ตรงกับวันมาลาเรียโลก ซึ่งคำขวัญในปี 2560
คือ “End Malaria for Good” หรือ ประชารัฐ ร่วมใจ กำจัดโรคไข้มาลาเรีย
                        กิจกรรม เช่น การป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย  เช่น การชุบมุ้งด้วยสารเคมี การพ่นสารเคมี การเจาะโลหิตตรวจเชื้อไข้มาลาเรีย  รวมถึงให้ความรู้ในเรื่องชีววิทยาของยุงก้นปล่องพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย
                        ในปี พ.ศ.2559 ประเทศไทยมีอัตราป่วยโรค 0.28  ต่อประชากรพันคน   ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ประเทศที่มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียน้อยกว่า 1 ต่อประชากรพันคน
                        กระทรวงสาธารณสุข มีพัฒนาแผนยุทธศาสตร์กำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ.2560-2569 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1.เร่งรัดกำจัดการแพร่เชื้อมาลาเรียในประเทศไทย 2.พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม มาตรการและรูปแบบที่เหมาะสมในการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย 3.สร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย ระดับประเทศ และนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนงานกำจัดโรคไข้มาลาเรีย และ4.ส่งเสริมให้ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลตนเองจากโรคไข้มาลาเรีย ทั้งนี้ เป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้คือภายในปี 2564 มากกว่า 95% ของอำเภอในประเทศไทยต้องไม่มีการแพร่เชื้อ และภายในปี 2567 ประเทศไทยต้องปลอดจากโรคไข้มาลาเรีย
                        การกำจัดโรคไข้มาลาเรียนี้จะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ หน่วยบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนองค์กรภาคประชาสังคม ร่วมกันขับเคลื่อนงานกำจัดโรคไข้มาลาเรียโดยนำไปปฏิบัติตามบริบทของแต่ละพื้นที่ต่อไป
                        สถานการณ์โรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย (ข้อมูล 1 มกราคม  -  31  มีนาคม 2560) พบว่า
ในปี 2560 มีผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย 1,986 ราย (คนไทย 1,604 ราย ต่างชาติ 382 ราย) โดยจำนวนผู้ป่วยลดลงจากปี 2559  ณ ช่วงเวลาเดียวกัน 17.93%  กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ 15-24 ปี  (20.04%) 25-34 ปี (18.93%) และ 35-44 ปี(12.74%) ส่วนใหญ่ผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มเกษตรกร (44.66%) ส่วนในระดับจังหวัด พบว่าจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ยะลา 1,096 ราย นราธิวาส 120 ราย สงขลา 67 ราย ระนอง 58 ราย และแม่ฮ่องสอน 83 ราย ตามลำดับ
                        โรคไข้มาลาเรีย จะมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค ส่วนแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่องจะพบในบริเวณพื้นที่ภูเขาสูง มีป่าทึบ ตามสวนยางพารา (รวมทั้งสามารถเพาะพันธุ์ในกระป๋องรองยางพารา )และตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นต้น ยุงก้นปล่องออกหากินเวลา พลบค่ำจนรุ่งสาง เมื่อยุงก้นปล่องตัวเมียที่มีเชื้อกัดคน ยุงจะปล่อยเชื้อออกจากต่อมน้ำลายเข้าสู่กระแสเลือดของคน หลังจากคนได้รับเชื้อมาลาเรีย 10-14 วัน จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น สลับร้อนหนาวและเหงื่อออก หากมีอาการดังกล่าว ขอให้รีบไปพบแพทย์ในสถานพยาบาลทุกแห่งใกล้บ้านทันที เพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรียและขอให้แจ้งประวัติการเข้าป่าหรือไปพักค้างคืนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อการรักษาที่รวดเร็ว หากไปพบแพทย์ช้าผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง ภาวะปอดบวมน้ำ ภาวะไตวาย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้
                        ประชาชนต้องทำอะไร เพื่อป้องกันโรคไข้มาลาเรีย
      ประชาชนที่อาศัยหรือเดินทางไปพักค้างคืนพื้นที่บริเวณชายแดน ป่าเขา ซึ่งมียุงพาหะนำเชื้อไข้มาลาเรีย ขอให้ระมัดระวังตนเองโดยการป้องกันไม่ให้ยุงกัด เช่น การสวมเสื้อปกปิดร่างกายให้มิดชิด การใช้ยาทากันยุงหรือยาจุดกันยุง การนอนในห้องที่มีมุ้งลวดหรือใช้มุ้งกางนอน เป็นต้น ทั้งนี้ หากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง หรืออยู่ในป่าเขาให้ใช้มุ้งชุบน้ำยาหรือใช้มุ้งชุบน้ำยาคลุมเปล ซึ่งมีสารทำให้ยุงเป็นอัมพาตและตายในระยะเวลาอันสั้น และไม่เป็นอันตรายต่อคน ที่สำคัญ เมื่อป่วยต้องรีบมาเจาะเลือดตรวจหาเชื้อ และขอให้กินยาจนครบถ้วนเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา  


No comments:

Post a Comment