12/13/17

7 ธค.2560 EOC_SAT จังหวัดปฏิบัติงานได้จริง สคร.10 อุบล ติวเข้ม_วันที่ 1_มาตรการป้องกันควบคุมโรค 4 E +2 C

7 ธค.2560 EOC_SAT จังหวัดปฏิบัติงานได้จริง สคร.10 อุบล ติวเข้ม_วันที่ 1_มาตรการป้องกันควบคุมโรค  4 E +2 C
            วันที่ 7 ธันวาคม 2560 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  บันทึกกิจกรรม
การเข้าร่วมการประชุม  เชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพทีมตระหนักรู้สถานการณ์ ( SAT : Situation Awareness Team)
ระดับ จังหวัด / เขต ปีงบประมาณ 2561   ในระหว่าง วันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2560 ณ โรงแรม
บ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนรีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี
 คณะวิทยากร โดย นพ.ดนัย เจียรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  และคณะ จากสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
วัตถุประสงค์หลักคือ พัฒนาระบบเฝ้าระวังส่งเสริมศักยภาพการจัดการ และวิเคราะห์สถานการณ์ การระบาดของโรค และภัยสุขภาพที่สำคัญ
                       
SAT : Situation Awareness Team มีภารกิจหลัก 2 ประการ คือ
1.     เฝ้าระวังเหตุการณ์ ( Event – based Surveillance)
2.     เผยแพร่ข่าวสาร
เฝ้าระวังเหตุการณ์ ( Event – based Surveillance)
            ตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติ *
            ตรวจสอบ แลยืนยันการระบาด
            สรุปสถานการณ์ และ ประเมินความเสี่ยง
เผยแพร่ข่าวสาร  information for action
แจ้งข่าวการระบาดที่ได้รับ ไปยัง หน่วยต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ในการเผยแพร่ ให้ระบุ ประเภทผู้ป่วย(Case Classification) **
 เป็นผู้ป่วยสงสัย ผู้ป่วยเข้าข่าย หรือ ผู้ป่วยยืนยัน เช่น
                        ผู้ป่วยสงสัยโรคคอตีบ เสียชีวิต 1ราย
ผู้ป่วยเข้าข่ายโรคคอตีบ เสียชีวิต 1ราย
ส่วน ผู้ป่วยยืนยัน ไม่ต้องใส่คำว่า ยืนยัน
ให้ระบุเลย เช่น ผู้ป่วยโรคคอตีบ เสียชีวิต 1ราย  เป็นต้น

จัดทำรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
สรุปสถานการณ์ การระบาดของโรคและภัยสุขภาพที่สำคัญ


นิยามในการเฝ้าระวังโรค (Case Definition for Surveillance)
ประเภทผู้ป่วย(Case Classification) **

1 ผู้ป่วยที่สงสัย(Suspected case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก
2 ผู้ป่วยที่เข้าข่าย(Probable case) หมายถึง ผู้ป่วยที่สงสัย ร่วมกับมีข้อมูลทางระบาดวิทยาเชื่อมโยงกับผู้ป่วยที่ยืนยันผล
3 ผู้ป่วยที่ยืนยันผล(Confirmed case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และ ตามเกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ 

เหตุการณ์ผิดปกติ * ของ SAT มี อะไรบ้าง
SAT ตั้ง EOC ไม่ตั้ง พิจารณาจาก 5 เหตุการณ์หลักๆ
เกิดหลาย   ตายแฮง  ต่อติด  ผิดธรรมชาติ  จำกัดเคลื่อนที่ (คน / สินค้า )
เกิดหลาย
ตายแฮง( หรือตายไว)
ต่อติด
ผิดธรรมชาติ
จำกัดเคลื่อนที่ (คน / สินค้า )

มาตรการป้องกันควบคุมโรค  4 E +2 C
4E+2C  หรือ หรือ DDT3C แล้วแต่จะเรียน
Early Detection  D
Early Diagnosis  D
Early Treatment  T
Early Control   C
Coordinating  C
Community Involvement C




SAT มี ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ  NICE  ต้องน่ารัก  ต้องดี ต้องทันสมัย ต้อง SMART

N : Network      ผู้บริหาร และ ภาคี เครือข่าย (หมวด 1 หมวด 3 )
I : information   ข้อมูลข่าวาร (หมวด 2 หมวด 4)
C : Community Participation        ความร่วมมือ ของทุกภาคส่วน (หมวด 5 หมวด 3)
E : Education     การสื่อสาร ในระดับ Health Literacy  ภายใต้หลักคิด
                        หากประชาชน รู้เรื่อง โรค นั้น แล้ว จะไม่มีใคร อยากจะเป็นโรคนั้นๆเลย  
            ฉะนั้น ต้องสร้างช่องทางการสื่อสารสุขภาพให้ เข้าถึง และ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด
หรือ SMART เช่น
S : Structure มี ICS ที่ชัดเจน  ( Incidence Command System)
M : MIS ที่ดี ( Management Information System)
A : Achievable   ..What..
R : Relationship ที่ดี ความร่วมมือ ของทุกภาคส่วน  
T : Technology ใช้ เทคโนโลยี ที่ทันสมัย(ทันเวลา และ Feedback ได้) ในการสื่อสาร ในระดับ Health Literacy

ยกตัวอย่าง การดำเนินงาน เช่น  มาตรการป้องกันควบคุมโรค  4 E  + 2 C

โรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonosis) ส่วนใหญ่ติดต่อโดยการสัมผัสกับปัสสาวะ หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ ซึ่งมักมีการแพร่ระบาดในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว (เดือนกันยายน-พฤศจิกายน) และช่วงหลังน้ำท่วม เพราะระยะเวลานี้พื้นดินแฉะ มีน้ำขัง เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและสะสมของเชื้อในธรรมชาติ จึงควรมีมาตรการป้องกันและการเฝ้าระวังโรค
อย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย

มาตรการป้องกันควบคุมโรค  4E+2C
1.   สำหรับเจ้าหน้าที่ / บุคลากรสาธารณสุข เตรียมการป้องกันควบคุมโรค
§ จัดระบบเฝ้าระวังโรค โดยจัดทำข้อมูล รง.506 ร่วมกับการสอบสวนโรค  แลกเปลี่ยนข้อมูล  รายงานโรคในสัตว์  พร้อมทั้งสำรวจ / รวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิส  เช่น  จำนวนประชากรวัยทำงานเพศชาย / หญิง  จำนวนคนป่วย / ตาย  การประกอบอาชีพ  เช่น  จำนวนชาวนา  ชาวสวน  ชาวไร่  ผู้เลี้ยงสัตว์ (วัว  ควาย / สุกร) จำนวนประชากรหนู (หรือความชุกชุมของหนู)  ปริมาณน้ำฝน  ลักษณะภูมิประเทศ  พื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี  พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง  แหล่งน้ำใช้ร่วมกันทั้งคนและสัตว์  แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หรือเชิงนิเวศน์
§ วิเคราะห์ความเสี่ยง จากสภาพปัญหา เตรียมวางแผนกำหนดกิจกรรมควบคุมโรค  เช่น  การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม  การรณรงค์กำจัดหนูพร้อมๆ  กัน 
§ พัฒนาศักยภาพบุคลากรเครือข่าย  เช่น  สถานพยาบาล  ครู  แกนนำชุมชน  อสม. 
โดยนำมาตรการ 4
E  + 2 C  มาใช้ ได้แก่
      1. Early  Detection
            2. Early  Diagnosis
      3. Early  Treatment
            4. Early  Control
            5. Coordination
            6. Community  Involvement
มีรายละเอียดดังนี้
            1. Early  Detection  เป็นการค้นหาผู้ป่วย โดย  อสม.
            2. Early  Diagnosis  เป็นการวินิจฉัยโรคโดยใช้หลัก
(1)   มีประวัติลุยน้ำ
(2)   มีไข้สูง
(3)   ปวดศีรษะรุนแรง
(4)   ปวดเจ็บกล้ามเนื้อ
     



3. Early  Treatment  เป็นการรักษาเบื้องต้นโดยเร็ว  ดังนี้
(1)   ถ้าไข้มากกว่า 39 องศาเซลเซียส  ให้รักษาเบื้องต้นด้วย  Doxycycline (100)  1 x 2  เช้า - เย็น  นาน  5 7  วัน  ติดตามการรักษาทุกวัน  ถ้าผู้ป่วยรู้สึกไม่ดีขึ้นภายใน  3  วัน  ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
(2)   ถ้ามีความดันโลหิต ≤ 90-60  mmHg.  หรือ อัตราการหายใจ ³  24  ครั้งนาที  ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
            4. Early  Control  เป็นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่เสี่ยง
(1)   สอบสวนโรคในผู้ป่วยทุกราย  เพื่อให้ทราบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
(2)   ดำเนินการป้องกันควบคุม  ลดการแพร่กระจายของเชื้อและลดโอกาสติดเชื้อในคน
(3)   เฝ้าระวังผู้ป่วยรายอื่นในพื้นที่
            5. Coordination  ประสานงานกับปศุสัตว์และเกษตรกรในพื้นที่เพื่อ
(1)    กำหนดพื้นที่เฉพาะสำหรับเลี้ยงสัตว์  เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนของโรคจากเยี่ยวสัตว์ลงสู่แหล่งน้ำ
(2)    เฝ้าระวังโรคในสัตว์  ถ้าสัตว์ตั้งท้องหากติดโรคมักจะแท้งหรือลูกออกมาผิดปกติ
(3)    ปรับปรุงพื้นที่เกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม ไม่ให้รกและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค
(4)    กำจัดสัตว์รังโรค  โดยรณรงค์การกำจัดหนู  ทั้งหนูบ้าน  หนูนา  โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม  โดยเฉพาะรอบบริเวณแหล่งน้ำที่ประชาชนใช้ประโยชน์เป็นประจำ
6. Community Involvement  หรือ  Empowerment  เป็นการสร้างพลังให้แก่ชุมชน  โดยเน้นให้ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการร่วมคิดร่วมวางแผน  และร่วมดำเนินการกระตุ้นให้ประชาชนทั้งในครอบครัวรับรู้และตระหนักถึงอันตรายของโรค
§ ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ  เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองเพื่อลดโอกาสต่อการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่อาจปนเปื้อนเชื้อโดยตรง
§ วิเคราะห์ข้อมูลการเจ็บป่วยของคนในพื้นที่ย้อนหลัง 5 ปี ว่ามีผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสหรือไม่ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ และวางแผนการป้องกันเชิงรุกในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง
§ กรณีที่พบผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ ควรรีบแจ้งและทำการประชาสัมพันธ์เรื่องการป้องกันการติดเชื้อให้กับประชาชนในพื้นที่ทราบและตระหนักถึงความสำคัญของโรคเลปโตสไปโรสิส
ในพื้นที่นั้นๆโดยเร็ว เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และลดโอกาสการระบาดของโรคภายในพื้นที่
§ กรณีน้ำท่วมขังหรือเกิดอุทกภัย  ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ควรสังเกตอาการไข้หรืออาการผิดปกติของตนเอง หากมีอาการควรรีบไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้การรักษาโรคเลปโตสไปโรสิสอย่างทันท่วงที
§ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน  สรุปปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข



2. สำหรับประชาชนทั่วไป
ประชาชนต้องรู้จักป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคนี้ โดย หลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ
เข้าสู่ร่างกาย  ซึ่งทำได้ง่ายๆ  คือ
-       ไม่เดินลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือที่ชื้นแฉะมีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า  เช่น  ชาวนา  ชาวสวน  คนงานขุดลอกท่อระบายน้ำ  ควรสวมรองเท้าบู๊ท  ใส่ถุงมือที่กันน้ำได้  เมื่อต้องเข้าไปในป่าควรสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิดกันผิวหนัง
ถูกขีดข่วนเป็นรอยแผล  และป้องกันผิวหนังสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่อาจมีเชื้อโรคโดยตรง
-       ถ้ามีบาดแผลตามตัว  ควรงดการลงแช่ในน้ำ
-       ไม่ใช้น้ำในแหล่งน้ำที่มีวัว ควายลงไป
-       หลังเสร็จภารกิจที่ต้องสัมผัสน้ำหรือที่ชื้นแฉะแล้ว  ควรรีบอาบน้ำชำระร่างกาย  หรือล้างมือล้างเท้าให้สะอาด  เช็ดให้แห้ง
-       ผักสด  ผลไม้ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ  ครั้ง
-       ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ  หากจำเป็นต้องเก็บไว้  ควรใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดป้องกันไม่ให้หนูมาเยี่ยวรดได้
-       ผู้ที่รับประทานหนู ควรสวมถุงมือระหว่างชำแหละและควรทำให้สุกก่อนรับประทาน

3. สำหรับประชาชนในพื้นที่ที่เคยประสบอุทกภัยหรือมีน้ำท่วมขัง
        ประชาชนต้องรู้จักป้องกันการสัมผัสกับน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อ  เช่น  หลีกเลี่ยงการย่ำน้ำเป็นเวลานานหรือสวมรองเท้าบู๊ทที่เหมาะสมสามารถป้องกันน้ำได้  หมั่นล้างมือเท้าให้สะอาด  เช็ดให้แห้ง  ถ้ามีอาการ
ปวดศีรษะรุนแรง มีไข้สูง รีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่ามีการย่ำน้ำลุยโคลนที่มีน้ำขัง
        ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยเป็นประจำ ชุมชนจะต้องร่วมมือกันดำเนินการป้องกันการเกิดน้ำท่วมขัง
โดย  สำรวจพื้นที่เสี่ยง ปรับสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น  ระบบระบายน้ำ  ทำแนวทางเดินที่สูงกว่าพื้นปกติ  ถางหญ้าบริเวณทางเดินและใกล้ทางเดินเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่ของหนู จัดเตรียมกระสอบทรายหรือวัสดุอื่นทำเป็น
แนวป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น  รวมทั้งมีแผนปฏิบัติการ  เช่น  จัดเตรียมพื้นที่พักพิงชั่วคราว  รวมทั้งแนวทาง
การกำจัดขยะ  ส้วม  เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรค  น้ำดื่ม  น้ำใช้  ฯลฯ  สำหรับผู้ประสบภัยไว้ล่วงหน้า

4. สำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วย

     การวินิจฉัยแยกแยะโรคอย่างรวดเร็วและแม่นยำถูกต้อง และดำเนินการรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญ
โดยมีแนวทางการวินิจฉัยและรักษา ที่ชัดเจน เป็นต้น 

No comments:

Post a Comment