8 ธค.2560 EOC_SAT สคร.10 อุบล _Risk = Likelihood x Severity ความเสี่ยง = โอกาส x ความรุนแรง
วันที่ 8
ธันวาคม 2560 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง บันทึกกิจกรรม
การเข้าร่วมการประชุม เชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพทีมตระหนักรู้สถานการณ์
( SAT :
Situation Awareness Team)
ระดับ จังหวัด / เขต ปีงบประมาณ
2561 ในระหว่าง วันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2560 ณ โรงแรม
บ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนรีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี
คณะวิทยากร โดย นพ.ดนัย เจียรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่
10 จังหวัดอุบลราชธานี
และคณะ
จากสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
วัตถุประสงค์หลักคือ
พัฒนาระบบเฝ้าระวังส่งเสริมศักยภาพการจัดการ และวิเคราะห์สถานการณ์ การระบาดของโรค
และภัยสุขภาพที่สำคัญ
การประเมินระดับความเสี่ยง (Risk Assessment)
พิจารณา จาก 2 ส่วนสำคัญคือ
1. ความน่าจะเกิด
หรือ โอกาสที่จะเกิด (Likelihood หรือ Probability )
2. ความรุนแรง
หรือ ผลกระทบ (Severity หรือ Impact หรือ Negative
Consequence) ที่จะเกิดขึ้นของปัจจัยหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่อาจมีผลกระทบต่อความไม่สำเร็จขององค์กร เพื่อจะนำมาประเมินค่าความเสี่ยงและโอกาสที่จะเกิดขึ้น
ปัจจัยหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่อาจมีผลกระทบต่อความไม่สำเร็จขององค์กร
สิ่งคุกคามหรือ ที่มีผลกระทบ เรียกทั่วไป ว่า Hazardous
เช่น รถชนกัน Hazardous คือ แรงกล ที่ชนกัน
เช่น โรคต่างๆ Hazardous คือ เชื้อโรค หรือ สิ่งที่ให้ก่อโรค เช่น สารปรอท สารตะกั่ว แสง สี เสียง
เป็นต้น
การประเมินความเป็นไปได้
(Likelihood)พิจารณาได้ในรูปแบบของความถี่ (Frequency) หรือโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง
โดย อาจ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ 4 ระดับ หรือ
4 ระดับ ตามที่องค์กรเหนสมควร
การประเมิน
ความรุนแรง หรือ ผลกระทบ ประเมินผลกระทบของความเสี่ยง
ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้
ผลกระทบด้านการเงิน เป็นผลกระทบหรือความเสียหายที่เกิดจากความเสี่ยง และสามารถประเมินค่าเป็นตัวเงิน และ ไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเงิน เช่น
– ผลกระทบจาก ค่าความเสียหายในด้านต่าง ๆ ต่อทรัพย์สิน
– ผลกระทบจาก การลงทุน /การร่วมลงทุน
– ผลกระทบ ค่าใช้จ่ายการลงทุนหรือการบรรลุวัตถุประสงค์ในระดับต่าง ๆ
– ผลกระทบ ต่อการเบิกจ่ายงบประมาณ
ผลกระทบด้านการเงิน เป็นผลกระทบหรือความเสียหายที่เกิดจากความเสี่ยง และสามารถประเมินค่าเป็นตัวเงิน และ ไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเงิน เช่น
– ผลกระทบจาก ค่าความเสียหายในด้านต่าง ๆ ต่อทรัพย์สิน
– ผลกระทบจาก การลงทุน /การร่วมลงทุน
– ผลกระทบ ค่าใช้จ่ายการลงทุนหรือการบรรลุวัตถุประสงค์ในระดับต่าง ๆ
– ผลกระทบ ต่อการเบิกจ่ายงบประมาณ
อย่างไรก็ดี
ผลกระทบตามหัวข้อนี้
โดยทั่วไปจะมีผลต่อระบบการดำเนินงานต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์กร ได้แก่
– ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก นโยบายรัฐบาล และกฎหมาย
– ผลกระทบจากการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ
– ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก นโยบายรัฐบาล และกฎหมาย
– ผลกระทบจากการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ
ผลกระทบด้านชื่อเสียงขององค์กร เป็นความเสียหายต่อชื่อเสียง
ไม่ว่าจะเป็นผลจากการดำเนินงานทั้งทางตรงและทางอ้อม
ที่ส่งผลต่อภาพพจน์และความเชื่อถือขององค์กรหรือขององค์กร
การประเมินระดับความเสี่ยง
ซึ่งจะแบ่งระดับของความเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับ 4 ระดับ 5 ระดับ ตามที่องค์กรเห็นสมควร
และมีค่าความเสี่ยงรวมเท่ากับ
ระดับโอกาส x
ระดับความรุนแรง เช่น หาก
เป็น 5 ระดับ ค่าความเสี่ยงรวม(Level of Risk) เท่ากับ 25 คะแนน
หาก เป็น 3 ระดับ ค่าความเสี่ยงรวม
เท่ากับ 9 คะแนน เป็นต้น
วิธีที่นิยม คือ การนำผลที่ได้จากการประเมินความเป็นไปได้และผลกระทบ
มาจัดทำแผนผังประเมินความเสี่ยง ระดับ ค่าความเสี่ยงรวม (Risk Assessment
Matrix) ในรูปแบบของตาราง 3x3 หรือ 4x4 หรือ 5x5
ตามที่องค์กรเห็นสมควร ตามสูตร
Risk = LS = Likelihood x Severity
ความเสี่ยง = โอกาส x ความรุนแรง
ข้อจริง 1. ความรุนแรง ของแต่ละ โรค หรือ เหตุการณ์ ส่วนมาก จะไม่เปลี่ยนแปลง เช่น
SAR รุนแรง มากกว่า DHF สารเคมี Cyanide รุนแรง มากกว่า ผงซักฟอก
ข้อจริง 2. โอกาสเกิด เป็นตัวแปรผันตามบริบทในแต่ละพื้นที่ เช่น ใน อังกฤษ โอกาสเกิด DHF
มีน้อยกว่า
ใน เอเชีย
ในประเทศไทย โอกาสที่จะได้รับพิษจาก Cyanide มีน้อยกว่า โอกาสที่จะได้รับพิษจาก ผงซักฟอก
ในประเทศไทย โอกาสที่จะเกิด SAR มีน้อย เพราะมี มาตรการการควบคุมที่ดี แต่ โอกาสเกิด DHF
มีมากกว่า เป็นต้น
ข้อจริง 3. ความเสี่ยง ตามสูตรด้านบน ส่วนมาก จึงต้องให้ความสำคัญกับ
โอกาสการเกิด
ฉะนั้น การควบคุม หรือมาตรการ ต่างๆ จึง ต้อง
ออกมาเพื่อ ปิดกั้น โอกาส การเกิดความเสี่ยง ให้มากที่สุด
เกณฑ์ความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง
*
ระดับความเสี่ยงปานกลาง การควบคุมความเสี่ยงต้องมีการติดตามผลและประเมินผลต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริงอย่างมีประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล
และมีผู้รับผิดชอบโดยตรง เช่น มีแผนปฏิบัติคู่มือปฏิบัติงาน มีการมอบหมายที่ชัดเจน
ฯ
ความสำคัญของการควบคุมในปัจจุบัน
ในการจัดการความเสี่ยง ผู้รับผิดชอบต้องมีการรวบรวม ประมวลข้อมูล และศึกษาระบบการควบคุมภายใน หรือการบริหารจัดการที่ได้มีการปฏิบัติจริงในปัจจุบัน (ระดับการควบคุม) เพื่อให้การดำเนินงานในขั้นต่อไปเกิดประสิทธิภาพ
ในการจัดการความเสี่ยง ผู้รับผิดชอบต้องมีการรวบรวม ประมวลข้อมูล และศึกษาระบบการควบคุมภายใน หรือการบริหารจัดการที่ได้มีการปฏิบัติจริงในปัจจุบัน (ระดับการควบคุม) เพื่อให้การดำเนินงานในขั้นต่อไปเกิดประสิทธิภาพ
การควบคุม
พิจารณาได้จาก
– หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– แผนงาน/โครงการ
– แผนปฏิบัติงานประจำ
– งานของคณะกรรมการบริหารของ องค์กร หรือคณะทำงานภายในหน่วยงาน
– ฯลฯ
– หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– แผนงาน/โครงการ
– แผนปฏิบัติงานประจำ
– งานของคณะกรรมการบริหารของ องค์กร หรือคณะทำงานภายในหน่วยงาน
– ฯลฯ
การพิจารณาการควบคุมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดการความเสี่ยง
และการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในขั้นตอนต่อไปไม่เกิดความซ้ำซ้อน
และสร้างมูลค่าเพิ่มในการบรรลุพันธกิจก้าวสู่วิสัยทัศน์ขององค์กร
ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำรายละเอียดแผนบริหารความเสี่ยงขององค์กรได้ดี
ขอบคุณ
ข้อมูลประกอบ จาก
http://www.itgthailand.com/tag/risk-assessment-matrix/
No comments:
Post a Comment