22 มีค.2561 ประชุมวิชาการสาธารณสุข ณ ราชาวดี_จ.ขอนแก่น
วันที่ 22 มีนาคม 2561 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
บันทึก กิจกรรม
การเข้าร่วมประชุมตามโครงการประชุมวิชาการ
55 ปี คืนสู่เหย้าศิษย์เก่า วสส.ขอนแก่น (SCPHKK Reunion)
ณ โรงแรม ราชาวดี จังหวัดขอนแก่น
นพ.วณิช เลาหะพันธ์ อดีต ผู้อำนวยการ
วสส.ขอนแก่น คนแรก (เกษียณ ตค. 2532 ) ปีหน้าจะอายุครบ 90 ปี
ก่อนมาทำหน้าที่ ผอ.วสส. ที่ผลิต
หมออนามัย เคยทำงานที่ อนามัยจังหวัดอุบลราชธานี
ประมาณปี พ.ศ. 2500 วิชาการแพทย์
ที่ได้เรียนมาจากกรุงเพพฯ และราชแพทย์วิทยาลัยนั้น ดูจะไม่เพียงพอเลย และ
จะสำเร็จไม่ได้เลย หากไม่มี หมออนามัยในชุมชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคลากร
เอนกประสงค์ ตรงกับการจัดการปัญหาสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
ลำพังเพียง
เราที่เป็นแพทย์ คนเดียว นั้นการทำงานต่างๆ
ไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้แน่ แต่มอลเห็นว่า หมออนามัย
มีประโยชน์ต่อประชาชนมากมาย ฉะนั้นจึงอาสา เข้ามาเป็น ผู้อำนวยการ การผลิต
หมออนามัย เพื่อ ผลิต ให้ตรงกับการต่อสู้กับปัญหาสาธารณสุข แบบอเนกประสงค์ หรือ ที่ในปัจจุบัน เรียก โก้ๆว่า
แบบเวชศาสตร์ครอบครัว ผสมผสาน ต่อเนื่อง และเชื่อมโยง นั่นเอง
เป็นครุ ผู้ให้สังคม
ให้ศิษย์ มารุ่นแล้ว รุ่นเล่า พึ่งมีวันนี้ ที่ได้รับเกียรติ เป็นที่สุด
ในการเชิดชู ในฐานะ ครู ของหมออนามัย ด้วยมี หมออนามัย ตั้งแต่รุ่นที่ 1 จนถึง
รุ่นปัจจุบัน เข้าร่วมงาน ปัจจุบัน คือรุ่นที่ 80 แล้ว
ในฐานะตัวแทนของครูทุกคน
ซาบซึ้งและขอบคุณ น้องๆ ลูกๆทุกคนเป็นอย่างยิ่ง
ขออานิสงส์การทำคุณงามความดีของพวกเราทุกคน จงส่งผลหนุนเนื่องให้พวกเราทุกคน
มีสุขภาพที่แข็งแรง และมีแต่ความสุข ความเจริญ
การจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคล 3 part
การวางแผน การผลิต การพัฒนา
นพ.พีระ อารีรัตน์
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
ผู้ดูแล นโยบายและแผน
ด้านกำลังคน หมออนามัย สำคัญ และ จำเป็น สำหรับบริบทสังคม
ชุมชน และ ครอบครัว ยังต้องการ เพราะปัจจุบัน
เตียง ที่ให้บริการประชาชน ของวิชาชีพแพทย์
และวิชาชีพอื่นๆยังคงอยู่ในโรงพยาบาล แต่
ประชาชนในระดับชุมชน และ ในระดับครัวเรือน ยังคงต้อวการการดูแล ซึ่ง ผู้ที่ดูแล
ประชาชนในระดับชุมชน และ
ในระดับครัวเรือน ได้ดรที่สุด เข้าใจชาวบ้านและเข้าถึงบุคคลได้ดีที่สุดคือ หมออนามัย
ดำเนินการอภิปรายโดย รศ.ดร.สงครมชัย
ลีทองดี คณะบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ฝ่ายผลิต ดร. ศิริ วัฒนธีรางกูร
ผู้อำนวยการ วสส.ขอนแก่น
ความก้าวหน้าของงาน
สาธารณสุข ส่วนมากมาจากการดำเนินงานในพื้นที่ของหมออนามัย
ฉะนั้น หมออนามัย จึงมีความจำเป็นจะต้อง มี และ สำคัญ ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์
คณะสาธาณณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วสส.
ในสังกัด กระทรวง ผลิตบุคลากร ที่ตรงตามความต้องการใช้งานจริง ของชุมชนได้ดี
อย่างต่อเนื่องและยาวนาน เหมาะสมกับบริบทอยู่แล้ว เมื่อมีข่าวว่า ทำไมจึงให้
วสส.หยุดการผผลิต ทำไม คนที่ทำดี
จงไม่ให้ทำต่อ
มหาวิทยาลัยต่างๆ ผลิตได้ โดยไร้การควบคุม ผลผลิต สู้ วสส.ได้ไหม
ตามจุดประสงค์ ของผู้ใช้งาน แต่มาลดจำนวน ใน วสส.ปีละ ไม่กี่ร้อยคน มองว่า เกา
ไม่ถูกที่คัน
หมออนามัย สมบัติ
ชูเถื่อน
ถามว่า
ชาวบ้าน ยอมรับเราไหม
มีใครไม่ยอมรับเราไหม
แล้วใครที่ว่า
ที่ไม่ยอมรับเรา เป็นใคร
Stake Holder ที่ใกล้เราที่สุดคือประชาชน เขายอมรับเรา คุณเป็นใครไยไม่ยอมรับเรา
ภารกิจเรา ... ทำตัวเองให้ มีวิชาชีพ เราไม่จำเป็นต้องดูแล ภายใน
กระทรวงสาธารณสุข
ต้องจัดองค์กร
ให้มีพื้นที่ดูแล
ทำตัวเองให้เป็นมืออาชีพ
ภูมิใจในอาชีพหมออนามัย
หากถามว่าภูมิใจ
คงตอบว่าภูมิใจ แต่ จริงๆต้องถามว่า
หมออนามัย มีลูก จะให้ลูกเรา
เป็นหมออนามัย ไหม
หาก
กระทรวงสาธารณสุข ไม่ใส่ใจคนสาธารณสุข
เราต้องสร้างงานสาธารณสุขให้มีเวที
สำเริง จงกล
อดีตประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
จำเป็น และ สำคัญ
นานาปัญหาอะไร ที่แก้ไม่ได้
หมออนามัยแก้ได้
จุดอ่อนของ
หมออนมัยเราคือ ใจร้อนเกินไป หากปรึกษาและให้เกียริซึ่งกันและกัน
จะไม่ปรากฎภาพที่เป็นเชิงลบของเรา
มากเช่นปัจจุบัน เมื่อมีภาพลบมากๆ
คุณค่าที่เรามีมาก
ก็จะถูกลดทอนลงมากเช่นกัน
การขับเคลื่อนและแนวทางการต่อสู้ควรเป็นไปนเชิงการสร้งสรรค์มากกว่าการโจมตีกันและกัน
ประพัทธ์ ธรรมวงศา
ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
จำเป็นและต้องการ แต่มีปัญหาที่การจัดการ นโยบาย สร้าง นำซ่อม แต่ จัดสรร งปม. เน้น ซ่อมนำสร้าง
คนกรอบตามกระดาษ
แต่ขาดตามความเป็นจริง
ดร.ปริญญา จิตอร่าม จาก
สภาการสาธารณสุข หมออนามัยต้องอยู่ได้
และจำเป็นต้องอยู่
ปัญหาต่างๆ
เพราะปัญหามีการเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาสาธารณสุขใหม่คือปัญหาเก่าที่เคยมีกลับมาใหม่
ไม่มีใครสามารถรับมือได้ โดยไร้ซึ่ง
หมออนามัย และ หมออนามัย ต้อง Open eye open mind
การบรรจุ
กพ. บอก ต้องสอบ ภาค ก.
หมออนามัย แต่ละพ้นที่ พอ ไม่พอ
แตกต่างกันไหม
ในเมือง ในเกาะ บนเขา ในป่า เป็นต้น
No comments:
Post a Comment