29 มีค.2561สะอาดดี_พิษสุนัขบ้า_บูรณาการคุณภาพชีวิต
กับ นโยบาย 4 ดี_พชอ.คำเขื่อนแก้ว จ.
ยโสธร
วันที่ 29 มีนาคม 2561
ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
ในฐานะ เลขานุการคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ คำเขื่อนแก้ว บันทึกกิจกรรม การประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
( พชอ.)
ณ
ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ประธานการประชุม
โดยนายสมเกียรติ แก้วรัตน์ นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
มีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
( พชอ.) พร้อมนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
และ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จากทุกพื้นที่เข้าร่วมประชุมด้วย
วารสำคัญคือ การบูรณาการคุณภาพชีวิต
กับ นโยบาย 4
ดี ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร
และ การเร่งรัดการดำเนินงานตาม โครงการสัตวปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า
ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
โดยเฉพาะกิจกรรมตาม
ประเด็นสำคัญ(One District One Project:ODOP)
วาระคุณภาพชีวิต อำเภอคำเขื่อนแก้ว 5 ประการ ประกอบด้วย
วาระคุณภาพชีวิต
สะอาดดี
( สะอาด(ปราศจากโรค)
ปลอดภัย ไร้มลพิษ มีชีวิตชีวา)
วาระ คุณภาพชีวิต เด็กและสตรี
วาระ คุณภาพชีวิต อาหารปลอดภัย
วาระ คุณภาพชีวิต อุบัติเหตุจราจร
วาระ คุณภาพชีวิต ดูแลตนเองดี (วัยรุ่น วัยทำงาน วัยสูงอายุ)
รายละเอียด ด้านล่าง
รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
(
พชอ.)
วันที่ ๒๙ มีนาคม
๒๕๖๑ ณ
ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นายสมเกียรติ
แก้วรัตน์ นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประธานการประชุม
เวลา ๑๓-๑๖.๓๐ น.
วาระที่ ๑ ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ขอบคุณคณะทำงาน
ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ในทุกพืนที่
ทั้งนี้
อำเภอคำเขื่อนแก้ว มีคำสั่งที่ 70/2561 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ให้คณะกรรมการ ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ลงปฏิบัติงานอย่างน้อย 4 ครั้ง
ตามห้วงระยะเวลา
ห่างกันประมาณ
20
วันนั้น ครั้งที่ 1 ปรับทุกข์ ปรับมิตร
ในทั้ง 115 หมู่บ้าน โดยชุดปฏิบัติการระดับตำบล
ครบทุกหมู่บ้านแล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่าง ครั้งที่
2 เป็นการ ติดตาม ถามไถ่ ตามกรอบดำเนินการ 10 เรื่อง
ในการเสนอแผนความต้องการ ขอความร่วมมือให้เป็นโครงการที่มาจากความต้องการของหมู่บ้าน
ชุมชน นั้นๆ
วาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
ครั้งที่แล้ว
มติที่ประชุม รับรอง
วาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่องจากการประชุม ครั้งที่แล้ว
การเบิกจ่ายเงินสนับสนุน
กิจกรรม จากกองทุน สปสช. ตำบลทุ่งมน
การเบิกจ่าย ตำบลที่มีระบบส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุ
ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
และการดูแลระยะยาวในชุมชน (long
Term Care :LTC) ตำบลลุมพุก
มอบหมายคณะทำงาน
สปสช.ท้องถิ่น และ ส่วนเลขา ประสานการปฏิบัติ ให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไป
มติที่ประชุม รับทราบ
วาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา
๔.๑ บทบาทคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ( พชอ.)
ประธานมอบหมายเลขานุการ
(นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ) สรุปเสนอต่อที่ประชุม
ตามที่ พลเอก ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่
พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกาศ ลง
วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ลง วันที่
๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยมีหลักการ
เหตุผล
เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่
เป็นไปในทิศทาง ยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีการบูรณาการร่วมกันระหว่าง
หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งมุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วม
ของทุกภาคส่วนในพื้นที่ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างความเป็นผู้นำและเจ้าของร่วมกัน
ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่
ตลอดจนสร้างเสริมให้บุคคล ครอบครัว และชุมชน
มีสุขภาวะทางกาย
จิต และสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดความยั่งยืนสืบไป
และ อำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้มีคำสั่งที่ 137 / 2561
ลงวันที่ 22 มีนาคม 2561
แต่งตั้ง คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
( พชอ.) อำเภอคำเขื่อนแก้ว
จังหวัดยโสธร
สนับสนุนการปฏิบัติงานตามระเบียบดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
มีบทบาทหน้าที่
รายละเอียดตามเอกสารแนบท้าย ที่สำเนาต่อที่ประชุม ( สามารถอ่านต่อด้านล่างได้)
๔.๒ นโยบายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอคำเขื่อนแก้ว
สืบเนื่องจาก วาระ ๔.๑ ผนวกกับ
วาระประธานแจ้งให้ทราบด้านบน ประธานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต
อำเภอคำเขื่อนแก้ว จึงมีนโยบาย บูรณาการ การทำงาน คณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิต(พชอ.)กับ
คณะกรรมการขับเคลื่อนวาระ 4
ดี (คนดี สุขภาพดี
การศึกษาดี รายได้ดี) จ.ยโสธร
ตามที่ จังหวัดยโสธร ได้จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ.2561-2564 ภายใต้วิสัยทัศน์
“ยโสธร เมืองแห่งเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิถีอีสาน” โดยมี 4 ประเด็นยุทธศาสตร์
การพัฒนาจังหวัด ประกอบด้วย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ (ปย.)
ปย. ที่
1 ส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ครบวงจรและได้มาตรฐาน
ปย. ที่ 2 ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และการค้า การท่องเที่ยว
ปย. ที่ 3 ยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงของครอบครัวชุมชนและสังคม
ปย. ที่ 4 อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นั้น
ปย. ที่ 3 ยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงของครอบครัวชุมชนและสังคม
ปย. ที่ 4 อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นั้น
เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและคามเป็นอยู่ของประชาชน
ให้ดีขึ้น จังหวัดยโสธร จึงได้กำหนดวาระสำคัญ ของจังหวัด
ให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันขับเคลื่อน ตามลำดับการพัฒนา หรือ วาระยโสธร 4 ดี ดังนี้ 1. คนดี 2. สุขภาพดี 3. การศึกษาดี 4. รายได้ดี ทั้งนี้ นายนิกร
สุกใส ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ได้มีคำสั่งที่ 8978/2560 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 แต่งตั้งคณะทำงาน ขับเคลื่อนวาระ 4 ดี
จังหวัดยโสธร โดยในระดับอำเภอ มีนายอำเภอเป็นคณะทำงานการขับเคลื่อนในทุกคณะนั้น อำเภอได้แต่งตั้งชุดปฏิบัติการ
การขับเคลื่อน ในระดับตำบลทุกตำบล โดยครอบคลุมถึง
โรงเรียน ส่วนราชการ และหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ แต่ละตำบล รายละเอียดตาม คำสั่งที่ 686/2560
ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2560 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560
และคำสั่งที่ 70/2561 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่องแต่งตั้ง คณะกรรมการ
ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ในทุกพื้นที่ นั้น
เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จึงมีนโยบาย บูรณาการ การปฏิบัติงานเข้าร่วมกัน โดยผนวก วาระคุณภาพชีวิตดี 5 ประเด็นสำคัญ(One
District One Project:ODOP) ตามมติ พชอ. ลงปฏิบัติงานให้ครอบคลุมถึงระดับหลังคาเรือน
ประกอบด้วย วาระคุณภาพชีวิต สะอาดดี
วาระ คุณภาพชีวิต เด็กและสตรี
วาระ คุณภาพชีวิต อาหารปลอดภัย
วาระ คุณภาพชีวิต อุบัติเหตุจราจร วาระ คุณภาพชีวิต
ดูแลตนเองดี (วัยรุ่น ทำงาน สูงอายุ)
มติที่ประชุม รับทราบ
สำหรับ วาระสะอาดดี ให้ดำเนินการในทุกพื้นที่ กำหนด
ประเด็น กิจกรรมเด่น ที่ปฏิบัติร่วมกัน
ในลักษณะการขับเคลื่อนตามแนวทาง
ที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว เช่นกรณี งานศพปลอดเหล้า ขับเคลื่อนไปพร้อมกันในทุกหน่วยงาน ชุมชน สะอาด การจัดการขยะ ตัวอย่างที่ดี หน้าบ้านน่ามอง ในบ้านน่าอยู่ หลังบ้านน่าดู เช่น
บ้านนาถ่ม ตำบลดงแคนใหญ่ บ้านเหล่าฝ้าย ตำบลลุมพุก เป็นต้น
และทำทันที
คือ การรณรงค์ หน้าบ้านน่ามอง
ในบ้านน่าอยู่ หลังบ้านน่าดู
ตัวอย่าง จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดเลย อำเภอวังสะพุง เชียงคาน
เป็นต้น
ยกที่
1
ดำเนินการในถนนสายหลัก ถนนแจ้งสนิท ตลอดสาย
การดำเนินงาน
ใช้ เกณฑ์ ชุมชนเข้มแข็งด้านสิ่งแวดล้อม Active Community เป็นต้น
ส่วนกิจกรรมสนับสนุน
ให้ประธาน คณะสะอาดดี มอบเกียรติบัตร ครัวเรือน คุ้ม บ้าน ที่ผ่านเกณฑ์ ในเวที
อำเภอยิ้ม คัดเลือก โดย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ร่วมกับคณะกรรมการ คณะปฏิบัติงาน ระดับตำบล หมู่บ้าน
มติที่ประชุม รับทราบ
๔.๔
การแต่งตั้งคณะอำนวยการ
กรรมการสุขศึกษาประชาสัมพันธ์อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ขอปรับเปลี่ยนให้คณะกรรม พชอ.
เป็นคณะกรรมการอำนวยการ แทนคณะกรรมการชุดเดิม
รายละเอียดตามเอกสารที่เสนอต่อที่ประชุม
มติที่ประชุม รับทราบ
๔.๕ การป้องกันและแก้ปัญหาพิษสุขนัขบ้า
อำเภอคำเขื่อนแก้ว
การปฏิบัติเร่งด่วน
ตาม โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
การดำเนินงานในสัตว์
มอบหมาย ปศุสัตว์อำเภอ เป็นผู้ประสานงานหลัก
การดำเนินงานในคน
มอบหมาย สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
เป็นผู้ประสานงานหลัก รายละเอียดตามที่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นำเสนอต่อที่ประชุม
การดำเนินงานในพื้นที่
มอบหมาย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ประสานงานหลัก
การสนับสนุน บุคคล วัสดุ
อุปกรณ์ การปฏิบัติงาน รวมถึงวัคซีน มอบหมาย เทศบาล และ อบต.ทุกแห่ง เป็นผู้ดำเนินการ โดยมี ท้องถิ่นอำเภอคำเขื่อนแก้ว
เป็นผู้ประสานงานหลัก
ทั้งนี้ มอบหมายให้
ผอ.รพ.สต.ทุกแห่ง แจ้ง อสม. ทุกคน สำรวจ ประชากร สุนัข และ แมว การได้รับวัคซีน ในทุกพื้นที่ ให้ครอบคลุมถึง
ประชากรสุนัข แมว จรจัดด้วย
สถานการณ์ปัจจุบัน อปท.
ทั้งหมด 14 แห่ง จัดซื้อวัคซีนแล้ว 8 แห่ง
ทั้งนี้มีเป้าหมายร่วมกันคือ ฉีดวัคซีน
ให้เสร็จภายใน วันที่ 30
เมษายน 2561
โดยประธาน
ขอความร่วมมือให้ ผอ.รพ.คำเขื่อนแก้ว ผอ.รพ.สต.ทุกแห่ง
สรุปผลการสำรวจ ถึงสาธารณสุขอำเภอ และ สาธารณสุขอำเภอ ส่งผลภาพรวมทั้งอำเภอ
ให้กับประธาน พชอ.
ในวันที 3
เมย. 2561
มติที่ประชุม รับทราบ
๔.๕ การป้องกันและแก้ปัญหาพิษสุขนัขบ้า อำเภอคำเขื่อนแก้ว
การปฏิบัติเร่งด่วน
ตาม โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
การดำเนินงานในสัตว์
มอบหมาย ปศุสัตว์อำเภอ เป็นผู้ประสานงานหลัก
การดำเนินงานในคน
มอบหมาย สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
เป็นผู้ประสานงานหลัก รายละเอียดตามที่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
นำเสนอต่อที่ประชุม
การดำเนินงานในพื้นที่
มอบหมาย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ประสานงานหลัก
การสนับสนุน บุคคล วัสดุ
อุปกรณ์ การปฏิบัติงาน รวมถึงวัคซีน มอบหมาย เทศบาล และ อบต.ทุกแห่ง เป็นผู้ดำเนินการ โดยมี
ท้องถิ่นอำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นผู้ประสานงานหลัก
ทั้งนี้ มอบหมายให้
ผอ.รพ.สต.ทุกแห่ง แจ้ง อสม. ทุกคน สำรวจ ประชากร สุนัข และ แมว การได้รับวัคซีน ในทุกพื้นที่ ให้ครอบคลุมถึง ประชากรสุนัข
แมว จรจัดด้วย
สถานการณ์ปัจจุบัน อปท.
ทั้งหมด 14 แห่ง จัดซื้อวัคซีนแล้ว 8 แห่ง
ทั้งนี้มีเป้าหมายร่วมกันคือ ฉีดวัคซีน ให้เสร็จภายใน
วันที่ 30 เมษายน 2561
โดยประธาน
ขอความร่วมมือให้ ผอ.รพ.คำเขื่อนแก้ว ผอ.รพ.สต.ทุกแห่ง
สรุปผลการสำรวจ ถึงสาธารณสุขอำเภอ และ สาธารณสุขอำเภอ ส่งผลภาพรวมทั้งอำเภอ ให้กับประธาน
พชอ.
ในวันที 3
เมย. 2561
มติที่ประชุม รับทราบ
วาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ
๕.๑ การแต่งตั้งคณะทำงานออกติดตาม
การดำเนินงาน กองทุน สปสช.ในพื้นที่
โดยมี นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
เป็นประธาน
ซึ่งจะได้กำหนดแผน
การออกปฏิบัติงาน ให้กับทุกพื้นที่ทราบต่อไป
๕.๒ การรณรงค์
ตามวาระสะอาดดี ในวันข้าราชการพลเรือน
ขอเชิญ
ทุกภาคส่วนร่วมกับนายอำเภอคำเขื่อนแก้ว และคณะ
การรณรงค์ ตามวาระสะอาดดี ในวันข้าราชการพลเรือน ณ
ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อแก้ว วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๕. น. เป็นต้นไป
มติที่ประชุม รับทราบ
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับพื้นที่
อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ตามคำสั่งอำเภอคำเขื่อนแก้ว ที่ ๑๓๗ / ๒๕๖๑ วันที่
๒๒
มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๖๑ ดังนี้
๑. นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ประธานกรรมการ
๒. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว รองประธานกรรมการ
๓. ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๔. ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง
กรรมการ
๕. เกษตรอำเภอคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๖. ปศุสัตว์อำเภอคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๗. ท้องถิ่นอำเภอคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๘. ผู้อำนวยการโรงเรียนคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๙. นายกเทศมนตรีตำบลคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๑๐. ประธานชมรมผู้บริหารท้องถิ่นอำเภอคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๑๑. ประธาน
ชมรม พ่อค้า อำเภอคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๑๒. ประธานชมรม
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรรมการ
๑๓. ตัวแทน ผู้ประกอบการน้ำดื่มอำเภอคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๑๔. ประธานชมรม
กำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๑๕. ประธานเครือข่ายเกษตรกรอำเภอคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๑๖. ผู้อำนวยการสำนักหมวดการทางคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๑๗. ประธานชมรม
อสม. อำเภอคำเขื่อนแก้ว กรรมการ
๑๘. นายชื่น วงษ์เพ็ญ ตัวแทนภาคประชาชน กรรมการ
๑๙. นายบุญสา รวมธรรม ปราชญ์ชาวบ้าน กรรมการ
๒๐. สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
กรรมการและเลขานุการ
๒๑.ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
No comments:
Post a Comment