26 กพ.2562_รับตรวจราชการ
ณ สาธารณสุข จังหวัดยโสธร
วันที่
26 กุมภาพันธ์ 2562 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง และคณะ จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอไทยเจริญ เข้าร่วมกิจกรรม
การตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ รอบที่
1 ปีงบประมาณ 2562 ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
หัวหน้าคณะโดย นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร
ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 10
โดยมี
นพ.บัญชา สรรพโส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นำคณะบุคลากรในสังกัดเข้าร่วมงาน
จากข้อมูลรับตรวจราชการ
26 กพ.62 มี หลายอย่างที่ทีมงาน ไทยเจริญ เราทำร่วมกันได้ดี มี OFI หลายอย่าง
ที่ต้องร่วมกัน พัฒนาต่อไป ..รวมแล้ว มีดี>ด้อย ซึ่ง จะสรุปผล ในวันที่ 28 กพ.2562 ต่อไป
1) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นำเสนอประเด็นต่างๆ ดังนี้
ข้อมูลพื้นฐาน ปัญหาสุขภาพและสาธารณสุขของจังหวัด
สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญของปี 2561
แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2562
ความก้าวหน้าการดำเนินการงบลงทุน ปี 2561 (ผูกพันเดิม) และงบลงทุน
ปี 2562
ผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (PA) ประจำปี
2562
2) โรงพยาบาลยโสธร นำเสนอประเด็นต่างๆ ดังนี้
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพจังหวัด (Service Plan)
Resource Sharing (PA เขตสุขภาพ : Initiative Management
Model)
ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินงานบรรลุผลได้ยาก หรือจุดเด่นที่ทำให้การ
ดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จ
โดยมีบทสรุปการตรวจราชการดังนี้ ... ยโสธรเมืองต้นแบบเกษตรอินทรีย์
ของประเทศไทย ภายใต้ วิสัยทัศน์ “ยโสธรเมืองเกษตรอินทรีย์
เมืองแห่งวิถีอีสาน” เป็น ๑ ใน ๕ จังหวัดของเขตสุขภาพที่ ๑๐ มีพื้นที่ ๒.๖ ล้านไร่
แบ่งเขตการปกครอง เป็น ๙ อำเภอ ๗๘ ตำบล ๘๘๕ หมู่บ้าน 16๙,๙๑๘ หลังคาเรือน เทศบาลตำบล ๒๓ แห่ง เทศบาลเมือง ๑ แห่ง
องค์การบริหารส่วนตำบล ๖๓ แห่ง มีประชากร ทั้งหมด 53๘,๗๒๙ คน เพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย
โครงสร้างอายุประชากร พบว่า มีเด็กอายุ ๐-๕ ปี ร้อยละ ๕.๖๖ วัยเรียน ๖-๑๔ปี ร้อยละ ๑๐.๐๘ วัยแรงงาน อายุ ๑๕-๕๙ ปี ร้อยละ 67.๓๙ และวัยสูงอายุ ๖๐
ปีขึ้นไป ร้อยละ 1๖.๒๗ ทรัพยากรด้านสาธารณสุข มีโรงพยาบาลทั่วไปขนาด ๓๗๐ เตียง
จำนวน ๑ แห่ง ขนาด ๑๒๐ เตียง ๑ แห่ง ขนาด ๖๐ เตียง จำนวน ๑ แห่ง ขนาด ๓๐ เตียง จำนวน
๕ แห่ง ขนาด ๒๐
เตียง จำนวน ๑ แห่ง
รวมจำนวนเตียงทั้งหมด ๗๒๐ เตียง
และมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( รพ.สต. ) จำนวน ๑๑๒ แห่ง คลินิกทุกประเภท ๑3๗ แห่ง มีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขสาขาหลัก ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ
และนักวิชาการสาธารณสุข จำนวน ๑๑๕ , ๕๐ , 8๐, 8๓๒ และ 21๙ คน
คิดเป็นสัดส่วน ๑ คน ต่อประชากร 4,685, 10,775, 6,๗๓๔, 64๘ และ 2,๔๖๐ คน ตามลำดับ ซึ่งทุกวิชาชีพดูแลประชากรมากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ด้านสถานะสุขภาพ
ประชาชนมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด เพศชาย 73.72 ปี เพศหญิง ๘๐.๕๓ ปี สูงกว่าอายุคาดเฉลี่ยของประเทศ มีอัตราเกิดและอัตราตาย ๖.๖๕ และ ๗.๔๙ ต่อพันประชากร ตามลำดับ อัตราเพิ่มประชากร ร้อยละ -๐.0๘
อัตราทารกตาย ๓.๙๑ ต่อพันการเกิดมีชีพ อัตราส่วนมารดาตาย
๒๗.๙๓ ต่อแสนการเกิดมีชีพ
สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอกพบว่า มีการป่วยด้วยโรคเบาหวาน มากที่สุด
รองลงมาเป็นโรคความดันโลหิตสูง และติดเชื้อของทางเดินหายใจ ตามลำดับ
สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยใน ปอดบวมมากที่สุด
รองลงมาเป็นภาวะแทรกซ้อนระยะแรกของการบาดเจ็บบางชนิด และการบาดเจ็บระบุเฉพาะอื่น
ๆ ตามลำดับ ส่วนสาเหตุการตายจากโรคมะเร็ง มากที่สุด รองลงมาคือ โรคปอด/วัณโรค และไต/ไตวาย ตามลำดับ โรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ได้แก่
โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อุบัติเหตุจากการจราจร โรคหัวใจและหลอดเลือด
และไข้เลือดออก ตามลำดับ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ได้จัดแผนทำยุทธศาสตร์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร(ปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ
และร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรชั้นนำด้านการจัดการระบบสุขภาพ
โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
เพื่อประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข” ประกอบด้วย ๕ พันธกิจหลัก ๕ เป้าประสงค์
๕ ประเด็นยุทธศาสตร์ ด้วยค่านิยมองค์กรคือ M O P H พร้อมมีการถ่ายทอดสู่ระดับอำเภอ
ตำบล เพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งในปี ๒๕๖๒ ได้วางกรอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี
โดยยึดตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข แผนยุทธศาสตร์เขตสุขภาพที่ ๑๐
แผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
และสภาพปัญหาสาธารณสุขในพื้นทีโดยใช้งบประมาณ งบผลผลิต งบกรม (Function) และ งบจากแหล่งอื่น รวม ๘๑ โครงการ รวมงบประมาณทั้งสิ้น ๒๑.๑ ล้านบาท ตาม
๔ ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ PP&P Excellence, Service
Excellence, People Excellence และ Governance Excellence จำนวน 2๕, ๒๗, ๘ และ ๒1
โครงการ งบประมาณ 2.๗๓,
๗.๖๒, ๐.๔๔ และ ๑0.๓0 ล้านบาท
ตามลำดับ พร้อมทั้งได้กำหนดแนวทางการควบคุมกำกับ
ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโดยการนิเทศงานสาธารณสุขผสมผสาน
การนิเทศติดตามงานเฉพาะกิจ
และกำกับติดตามในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
คณะกรรมการวางแผนและประเมินผล (กวป.) และมีการประเมินผลจัดอันดับอำเภอ (CUP
Ranking)
ข
|
No comments:
Post a Comment