31 ก.ค.63 สรุปผลตรวจราชการ อำเภอค้อวัง อันดับ 1 ระดับจังหวัด หลายด้าน_ณ โรงพยาบาลยโสธร รอบ 2
วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอค้อวัง ไปพร้อมกับ นพ.ภาณุพันธุ์ ธนปฐมสินชัย รอง นพ.สสจ.ยโสธร และผู้อำนวยการโรงพยาบาลค้อวัง ดร.ศักดา ผาจำปา ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอค้อวัง พร้อมคณะ เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลยโสธร เพื่อรับฟังสรุปผลการตรวจราชการ และนิเทศงาน กรณีปกติ รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2563
ประธานโดย นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10
นพ.จักราวุธ จุฑาสงฆ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นพ.สมศักดิ์ เชาว์ศริกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยโสธร
นำคณะผู้บริหารสาธารณสุข ในจังหวัดยโสธรทุกหน่วยงาน เข้าร่วมกิจกรรม
จังหวัดยโสธรได้ขับเคลื่อนนโยบายภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ในระยะปฏิรูป
ประจำปี 2563 ซึ่งมีผลงานตามประเด็นการตรวจราชการ 53 ตัวชี้วัด ผ่าน 45 ไม่ผ่าน 8 ตัวชี้วัด (15.09 % )
ข้อคิดที่ดี จาก ประธาน อาทิเช่น
1. แหล่งข้อมูลสำคัญให้ดู จาก HDC เป็นหลัก ทั้งการเก็บข้อมูล และ การใช้ข้อมูล
เพราะเป้าหมายสุดท้าย ต้องการ Out Come ที่ดี
2. การลดแออัด ลดรอคอย Main จริง ๆ คือ การลดป่วย ลดโรค
3. การลดแออัด ลดรอคอย โดยการ drain ผู้ป่วย ออกไป แออัด หรือ ไปเป็นภาระ ของ รพ.สต. เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
4. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สิ่งที่ภูมิใจที่สุดคือ การได้รับการ Consult ฉะนั้น นำศักยภาพ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมออกแบบระบบริการ ให้มีประสิทธิภาพต่อไป
5. ความสำคัญของ น้ำหนัก ส่วนสูง หรือ สูงดีสมส่วน คือ ส่งผลให้ IQ เพิ่มขึ้น 5 จุด ( วัดเด็ก 5 ปี และ 12 ปี )
6. ความสำคัญของภาวะซีด ในเด็ก(วัด 6-7 ปี )คือ ส่งผลให้ IQ ลดลง 5 จุด ซีด (hct.≤35%)
7. วัฒนธรรมการทำงาน ที่ดี น้องต้องได้จากพี่ งานก็สำคัญ สิ่งสำคัญคือ ความเป็นพี่เป็นน้อง ยังต้องคงอยู่
8. การดูแลกันเอง ของ บุคลากรสาธารณสุขเรา โดยไม่จำเป็นต้อง โทรหาผู้บริหาร ( บางแห่ง มี Pop Up ขึ้นแสดงให้เห็นเลย นี่คือ รูปธรรมการดูแลกันแบบพี่แบบน้อง ที่ดีที่สุด )
1. ให้ความสำคัญกับ การเฝ้าระวังโรค และภัยจากฤดูฝน เช่น ไข้เลือดออก เห็ดพิษ มือเท้าปาก หวัด ตาแดง จมน้ำ เป็นต้น
จากการสรุป ณ วันนี้ อำเภอค้อวังเรา มีผลงานอันดับ 1 ระดับ จังหวัดยโสธร ในหลาย ๆ ด้าน อาทิเช่น
การขึ้นทะเบียน สิทธิ UC การจัดการค่าว่าง ปีงบประมาณ 2563 จัดการค่าว่างได้ 100 %
ณ วันนี้ อำเภอค้อวังเรา มีผลงานอันดับ 1 ระดับ จังหวัดยโสธร ในหลาย ๆ ด้าน อาทิเช่น
ตลาดสดเทศบาลตำบลค้อวัง อันดับ 1
คัดกรองพัฒนาการเด็ก ช่วงสัปดาห์รณรงค์ 13-17 กค.63 อำเภอค้อวัง อันดับ 1
ผลงานภาพรวม QOF อำเภอค้อวัง อันดับ 1 ส่วนในระดับเขต อันดับ 1 คือ อำเภอกัทราลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ
การเข้าถึงบริการสมาธิสั้น ในกลุ่มสุขภาพจิตเด็ก อำเภอค้อวัง อันดับ 1
ศูนย์ดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง Continuous of Care : COC อำเภอค้อวัง อันดับ 1
เด็กเกิด 17 พฤษภาคม 2556 – 17 พฤษภาคม 2557 มี พัฒนาการมิติด้านร่างกาย อำเภอค้อวัง อันดับ 1
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม care plan
เด็กวัยเรียน (อายุ 6-14 ปี) ที่ได้รับการชั่งน้ำหนักและวัดความยาว/ส่วนสูง
ส่วนสูงเฉลี่ยเด็กชายที่อายุ 12 ปี (154 ซม.) อำเภอค้อวัง อันดับ 2 สูง 147.70 ซม.
ส่วนสูงเฉลี่ยเด็กหญิงที่อายุ 12 ปี (155 ซม.)อำเภอค้อวัง อันดับ 1 สูง 151 ซม.
เด็กวัยเรียน (อายุ 6-14 ปี) มีภาวะเตี้ย (Baseline ของประเทศ ปี 2562 ร้อยละ 8.9 อ.ค้อวัง 4.57 อันดับ 1
เด็กวัยเรียน (อายุ 6-14 ปี) มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน (Baseline ของประเทศ ปี 2562 ร้อยละ 13.6) อ.ค้อวัง 9.84 อันดับที่ 2
เด็กวัยเรียน (อายุ 6-14 ปี) สูงดีสมส่วน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 66 อ.ค้อวัง 75.89 อันดับ 1
ร้อยละ 65 ของเด็กพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I อ.ค้อวัง 100% อันดับ 1
เด็กอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับการชั่งน้ำหนักและวัดความยาว/ส่วนสูง อ.ค้อวัง 75.89 อันดับ 1
เด็กอายุ 0-5 ปีสูงดีสมส่วน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 อ.ค้อวัง 75.69 อันดับ 1
ส่วนสูงเฉลี่ยเด็กชายที่อายุ 5 ปี (112 ซม.) อ.ค้อวัง อันดับ 1 สูง 113.15
ส่วนสูงเฉลี่ยเด็กหญิงที่อายุ 5 ปี (113 ซม.) อ.ค้อวัง อันดับ 1 สูง 114.10
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการคัดกรองแล้วพบว่ามีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 อ.ค้อวัง อันดับ 1 ได้ 100 %
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม care planอ.ค้อวัง อันดับ 1ได้ 100 %
การค้นหาและขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรค 82.5 % จาก ค่าประมาณ การ 153/ แสน(ราย) อ.ค้อวัง อันดับ 2 สูง ได้ 75 %
สตรีอายุ 30-70ปี จังหวัดยโสธร ที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็น อ.ค้อวัง อันดับ 1
การคัดกรองมะเร็งลำไส้และไส้ตรงด้วยชุด FIT Test อ.ค้อวัง อันดับ 1
การคัดกรองโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้้าดีและกลุ่มเสี่ยง อ.ค้อวัง อันดับ 1
ผู้ปุวย DM/HT ที่ได้รับการค้นหา และคัดกรองโรคไตเรื้อรัง อ.ค้อวัง อันดับ 1
ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี (40) อ.ค้อวัง อันดับ 1 ร้อยละ 35.95 จังหวัด 19.65 ต่ำสุด ที่ อ.มหาชนะชัย 5.91
ผู้ป่วยความดันระดับความดันโลหิตได้ดี (50) อ.ค้อวัง อันดับ 1 ร้อยละ 71.56
ผู้ป่วย CKD ที่มีอัตราการลดลงของ eGFR<5 ml/min/1.73m2/yr ร้อยละ 66 อ.ค้อวัง อันดับ 1 ร้อยละ 70.26
ความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ มากกว่าร้อยละ 85 อ.ค้อวัง อันดับ 1 ได้ 100 %
เป็นต้น
9. การตรวจราชการ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน สำคัญคือ
ส่วนที่ 1 สรุปผลงานตาม 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย
ประเด็นที่ 1 Agenda Based (นโยบายรัฐบาล ผู้บริหารระดับสูงและยุทธศาสตร์ ชาติ)
ประเด็นที่ 2 Functional Based (ระบบงานของหน่วยบริการ)
ประเด็นที่ 3 Area Based (ประเด็นปัญหาของพื้นที่
ส่วนที่ ๒ การดำเนินงานตามค ารับรองการปฏิบัติราชการ (PA : Performance Agreement)
ส่วนที่ ๓ ประเด็นเน้นหนักเขตสุขภาพที่ ๑๐
อำเภอค้อวัง 93,750 ไร่ 150 ตารางกิโลเมตร ห่างจากจังหวัด 70 กม.
4 ตำบล 45 หมู่บ้าน 6,923 หลังคาเรือน 25,321 คน รพ.สต. 6 แห่ง แต่ละแห่ง มีผู้รับบริการ เฉลี่ย 360 คน ต่อเดือน 975 ครั้ง ต่อเดือน
จาก Priority Setting 4 องค์ประกอบ 1) ขนาดของปัญหา 2) ความรุนแรงของปัญหา 3) ความยากง่ายของการแก้ปัญหา 4) การมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ปัญหาสุขภาพของจังหวัดยโสธร 5 อันดับแรก ประกอบด้วย
อันดับ 1 ความดันโลหิตสูง อันดับ 2 เบาหวาน อันดับ 3 อุบัติเหตุ อันดับ 4 หัวใจ อันดับ 5 ไข้เลือดออก
งานตามนโยบายเร่งด่วน (Agenda base) 2 โครงการ
โครงการราชทัณฑ์ ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์
เรือนจำ จังหวัดยโสธร มีผู้ต้องขัง 1,958 คน เป็นเพศชาย 1,767 คน (90.25%) จนท.77 คน (พยาบาลวิชาชีพ 2 คน) ผ่านความสำเร็จระดับ 2 มีการจัดระบบบริการสุขภาพผู้ต้องขัง ตามเกณฑ์ 6 ด้าน คือ 1ด้านการรักษาพยาบาล 2ด้านบริการส่งเสริมสุขภาพและปูองกันโรค 3ด้านส่งเสริมสุขภาพจิต 4ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ 5ด้านการส่งต่อเพื่อการรักษา และ6ด้านการตรวจสอบสิทธิปัจจุบัน
การใช้กัญชาทางการแพทย์
จังหวัดยโสธรมีผู้ป่วยแจ้งยื่นครอบครองกัญชาเพื่อการรักษา 110 ราย มีคลินิกกัญชาทางการแพทย์ผสมผสานแพทย์แผนปัจจุบันและแผนไทย ที่โรงพยาบาลยโสธร ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562
มีผู้เข้าเกณฑ์ เข้ารับการรักษา ณ ปัจจุบัน 18 ราย
อำเภอค้อวัง มี 3 ราย เข้าเกณฑ์ส่งต่อ 2 ราย
โดยมุ่งเน้นที่ขมิ้นชัน และไพล
งานตามภารกิจพื้นฐาน (Functional based)
สุขภาพแม่และเด็ก
ผู้สูงอายุคุณภาพ
การลดแออัด ลดรอคอย การพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ จ
ER คุณภาพ และ Fast track Trauma Stroke STEMi
Intermediate Care
โรงพยาบาลที่มีระบบรับบริการที่ร้านยา
การพัฒนาเป็น อสม. หมอประจ าบ้าน
เนื่องจากปี 2563 เกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลให้ภารกิจของ อสม. ในการดูแลประชาชนใน พื้นที่ปรับเปลี่ยนตามบริบท เกิด New Normal ในการให้บริการ ที่เป็นส่วนส าคัญในการด าเนินงานต้านภัย COVID-19 เกิดนวัตกรรม .อสม. Grab Drug ในการดูแลสุขภาพผู้ปุวยเรื้อรังและครอบครัว ในทุกพื้นที
Smart Hospital ด้าน Smart Place
การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาสุขภาวะ เด็กอายุ 6-7 ปี ใช้ PIRAB ขับเคลื่อนดำเนินงาน
การเสริมสร้างพัฒนาการและระดับสติปัญญาเด็ก (IQ)มาตรฐานสากล IQ=100
จากรายงานผลการสำรวจสถานการณ์ความฉลาด ทางอารมณ์ทางสติปัญญา (IQ) ปี 2559 ของกรมสุขภาพจิต พบว่าจังหวัดยโสธร ระดับสติปัญญา (IQ) และระดับความฉลาดทางด้านอารมณ์ (EQ) ปี 2559 ในเด็กนักเรียนชั้น ป.1 พบ IQ เฉลี่ย 91.93 (ปี 2554 มีระดับสติปัญญาเฉลี่ย 97.08) IQ ปกติ ร้อยละ 65.01 และเด็กที่มีระดับสติปัญญาบกพร่องหรือ IQ <70 ร้อยละ 14.86
ระดับความฉลาดทางด้านอารมณ์ (EQ) พบว่า EQปกติ ร้อยละ 67.6 ควรพัฒนาด้านการควบคุมอารมณ์ ร้อยละ 32.4 จากการประเมินปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ด้วยแบบประเมินจุดแข็งจุดอ่อน พบ EQ ปกติร้อยละ 88.3 มีความเสี่ยง ร้อยละ 6.8 และมีปัญหาด้านพฤติกรรม และอารมณ์ร้อยละ 4.9
จึงได้มีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาสุขภาพเด็กปฐมวัย และเด็กอายุ 6-7 ปีเพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินไอคิวเด็กในปี 2564
มีกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ และสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วม (Preschool Parenting : Triple-P)
ส่งเสริมระดับสติปัญญาด้วยคู่มือฝึกทักษะเพิ่ม IQ เด็ก 2-15 ปี โดยครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
พัฒนาแนวทางการดูแลเด็กยโสธรเพื่อส่งเสริมให้มีไอคิวเกิน 100 ให้กับพื้นที่ โดยเด็กที่ได้รับการคัดกรองแล้วพบปัญหาด้านสุขภาพ (เตี้ย อ้วน ผอม โลหิตจาง พัฒนาการสงสัยล่าช้า) ให้ ได้รับการดูแลตามแนวทางอย่างชัดเจน และเด็กที่ได้รับการคัดกรองพัฒนาการด้วยเครื่องมือ DSPM พบปัญหา พัฒนาการสงสัยล่าช้า จังหวัดยโสธรจะมีกระบวนการแก้ไขปัญหาโดยจัดท าตารางนัดหมายการเข้าพบกุมารแพทย์ เพื่อให้ เด็กที่พบปัญหาได้พบแพทย์พร้อมทั้งได้รับการคัดกรองภาวะ 4 กลุ่มโรคในเด็ก (ID,LD,ADHD, ASD) อย่างรวดเร็ว
ระบบการดูแลรักษาและช่วยเหลือ ผู้ป่วยโรคจิตเวชเด็ก 4 โรค โดย โดยพยาบาลจิตเวชเด็กและวัยร่น (PG)
อำเภอค้อวัง มีเป้าหมายการคัดกรอง เด็ก 6-14 ปี 2,356 คน พบบกพร่องทางสติปัญญา 17 การเรียนรู้ 56 สมาธิสั้น 127ออทิสติก 2 รวม 202 คน
งานวัณโรค ค้นหารายใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ผลงาน ร้อยละ 97.25 การค้นพบผู้ปุวยวัณโรคใหม่และกลับเป็นซ้ำให้ได้ร้อยละ 82.5 ของค่าประมาณการ (153 ต่อประชากรแสนคน) ผลงานร้อยละ 57.8
RDU พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
AMR ระบบจัดการการดื้อยา ต้านจุลชีพ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีคุณภาพ (พชอ.)
ทุกอำเภอกำหนดประเด็น ภายใต้ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิต วาระคนยโสธร “อยู่ดีมีสุข” ใน 5 ด้าน ประกอบด้วย คนดี สุขภาพดี การศึกษาดี รายได้ดี และสิ่งแวดล้อมดี
การพัฒนาคุณภาพ รพ.สต.ติดดาว
ประเด็นเขตสุขภาพ
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพให้ถูกต้อง เหมาะสม เน้นหนักหลัก 3 อ. 2 ส. คืออาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ บุหรี่ สุรา ยาเสพติด ลดหวาน มัน เค็ม และจัดกิจกรรม 4 Intervention ส่งเสริมสุขภาพในคลินิกโรคเรื้อรัง
ประกอบด้วย
1.การใช้เทคนิคให้คำปรึกษาสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Motivational Interviewing)
2.การวัดความดันที่บ้าน(Home BP)
3.การจัดการอาหารที่เหมาะสม การจัดการเรียนรู้ในชุมชน และ
4.สมาธิบำบัดแบบ SKT และแพทย์วิถีธรรม มาเป็นทางเลือกในการจัดบริการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง
CKD
คลินิกชะลอไตเสื่อม 9 แห่ง และมีหน่วย มีเครื่องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 47 เครื่อง มีผู้ป่วยที่ให้ การบ าบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 305 ราย และมีรอคิวในระบบ 286 ราย และมี ผู้ปุวยล้างไตทางช่องท้อง 372ราย ไม่มีผู้ป่วยรอวางสาย
งานอนามัยวัยรุ่น ใช้กลยุทธ์ “PIRAB”
กลไกการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการทุกภาคส่วน จังหวัดยโสธรใช้กลยุทธ์ “PIRAB” ดังนี้
P : Partnership ประสานและบูรณาการการด าเนินงานร่วมกับ 5 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวง ศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวัฒนธรรม และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในระดับจังหวัด ขับเคลื่อนผ่าน คณะอนุกรรมการปูองกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดยโสธร ขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อำเภอ ( พชอ.) อำเภออนามัยการเจริญพันธ์ ขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการบริหารโครงการ (Project Manager : PM) กลุ่มวัยอนามัยแม่และเด็ก วัยเรียนและวัยรุ่น ระดับจังหวัดขับเคลื่อนผ่านคณะท างานบริหารโครงการ ( Project Manager : PM) กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก วัยเรียนและวัยรุ่น
I : Investment ประสานและกระตุ้นให้มีการลงทุน สนับสนุนงบประมาณ ได้แก่ ส านักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ส านักงาน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กองทุนคุ้มครองเด็ก)
R : Regulation ขับเคลื่อนการบังคับใช้กฎหมาย ตาม พรบ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่น ตั้งครรภ์ พ.ศ. 2559และพรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
A : Advocacy สื่อสาร ชี้น า ให้สังคมได้ตระหนัก และให้ความสำคัญกับปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ “ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว” “ไม่ชิงสุกก่อนห่าม” “Safe Sex”
งานผู้สูงอายุ
เป้าหมาย ผู้สูงอายุ มีความสุข 5 มิติ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย นอนหลับเพียงพอ”
อำเภอค้อวังผู้สูงอายุ 4,155 คน ประเมิน ADL 3,160 คน ติดสังคม 3,062 ติดบ้าน 73 ติดเตียง 25
สมส่วน 2,647 ผอม 412 เริ่มอ้วน 716 อ้วน 155 อ้วนอันตราย 11
สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตาม Care plan ปี 2563 จำนวน 110 คน ได้รับการดูแล ตาม Care plan 102 คน (ขาดไป 8 คน )
ทั้งนี้คาดว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่ "สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์”(Complete – aged society) ที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 14
เป้าหมายพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit : PCU) และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ(Network of Primary Care Unit : NPCU) ให้ผ่านเกณฑ์ 3 S
โดยใช้ SSIIIM หรือ 2SIM3 เป็นเครื่องมือ การจัดการเชิงระบบ
การจัดการเชิงระบบ ( System Management )
กลยุทธ์(Strategy)
กำหนดเป็นวาระติดตามในที่ประชุม กวป. จังหวัดยโสธร
โครงสร้างกลไกการทำงาน (Structure)
ใช้หลักเวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลประชาชนแบบประชาชนมีเพื่อนเป็นหมอ และพัฒนาตามระบบบริการ PCU และ NPCU ต้นแบบของจังหวัดยโสธร คือ PCU บ้านท่าศรีธรรม, PCU เมืองยศ, PCU ใกล้บ้านใกล้ใจ, NPCU บ้านย่อ
ใช้แฟ้มครอบครัว (family Folder) ดูแลในประชาชนกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง) และกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส เด็ก IQ EQ
การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information) ผ่าน CoKPit
มาตรการดำเนินงาน
มาตรการที่ดำเนินการ (Intervention) & นวัตกรรม (Innovation)
พัฒนาบุคลากร ทุกระดับ
Family Register (จัดทำผัง เครือญาติ) ในครอบครัว อสม. และ ครอบครัวผู้ป่วย DM/HT ให้ครอบคลุม ทุกคน
การบูรณาการ (Integration)
บูรณาการร่วมกับการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
การกำกับติดตามและประเมินผล (Monitoring & Evaluation)
๑. นำเสนอความก้าวหน้า ในเวทีการประชุมระดับจังหวัด และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งาน PCC
๒. การติดตามเยี่ยมเสริมพลังในพื้นที่ ๓. กำหนดเป็นเกณฑ์ KPI Ranking ระดับจังหวัด
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ 3 ต้อง 2 ไม่
พฤติกรรที่ 1 กิจกรรมทางกายอย่างน้อย 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์
พฤติกรรที่ 2 ดื่มน้ำ 8 แก้ว/วัน
พฤติกรรที่ 3 กินผลไม้ทุกวัน
พฤติกรรที่ 4 ไม่ดื่มสุรา
พฤติกรรที่ 5 ไม่สูบบุหรี่
A : Advocacy สื่อสาร ชี้น า ให้สังคมได้ตระหนัก และให้ความส าคัญกับผู้สูงอายุ “สังคมไทยเป็น สังคมแห่งความกตัญญูรู้คุณ ไม่ทอดทิ้งผู้สูงอายุ” “ชราอย่างมีคุณค่า”
B : Building Capacity พัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ ได้แก่ อบรมนักจัดการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) อบรมฟื้นฟูศักยภาพนักจัดการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร อบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) หลักสูตร 70 ชั่งโมง อบรมการใช้ โปรแกรมลงทะเบียนผู้สูงอายุ LTC สปสช.และกรมอนามัย สำหรับบุคลากรสาธารณสุขและบุคลากรองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มความรอบรู้การดูแลตนเองของผู้สูงอาย
ไฟล์ สรุป ผลกสารตรวจราชการวันนี้ รับได้ที่นี่