18 ส.ค.63 เลขา พชอ. เขต 10 ใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิต_ตลอดเส้นถนนสายสุขภาพ จากอุ้งกราน สู่เชิงตะกอน
วันที่ 18 สิงหาคม 2563 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอค้อวัง และคณะเข้าร่วมงาน ณ โรงแรม สุนีย์แกรนด์ จังหวัดอุบลราชธานี
กิจกรรมตาม โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ
ภายใต้ระบบการสื่อสารสุขภาพและตอบโต้ความเสี่ยง เขตสุขภาพที่ 10 ปีงบประมาณ 2563
ระหว่างวันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
วิทยากรหลัก โดย นายแพทย์ วชิระ เพ็งจันทร์ นายกสมาคมความรอบรู้ด้านสุขภาพไทย : THLA
กลุ่มเป้าหมายหลัก เลขาพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ทุกอำเภอ ( สาธารณสุขอำเภอ )
และผู้บริหารจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทุกจังหวัด ทั้ง 5 จังหวัด ในเขตสุขภาพที่10
ทั้งภาคการศึกษา และ สาธารณสุข
Concept ใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy: HL ) หนุนเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผ่านศักยภาพผู้นำด้านสุขภาพ (Health Leader) สู่ประชาชน
Health Literacy: HL เป็นผลลัพธ์ ของ Active Learning การเรียนรู้จากการปฏิบัติ จากประสบการณ์ หรือ Learning by Doing ตามเหตุ ปัจจัย ในถนนสายสุขภาพ ตลอดช่วงชีวิต จนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวกของตนเอง ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ให้เป็น Protective แก่ตนเองที่ดี ลดสภาพแวดล้อม ด้าน Risk Factor จนสามารถ บอกต่อ หรือ สร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้อื่นทำตามได้
ตาม แบบรูป HL ใช้รูป ตัว V หรือ Victory เพื่อ ให้เห็นว่า หาก บุคล เพียง รู้ และเข้าใจ ก็ยังไม่พอ ต้อง ถึงจุด ๆ หนึ่ง ซ่งสำคัญ คือ จุดก้นตัว V จุดที่ 4 เรียนว่า จุดตัดสินใจ ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นเชิงบวก สำหรับการสร้างสุขภาพ ซึ่ง ภาษา HL ในที่นี้ เรียวกว่า V People
แล้ว V People สามารถ สร้าง inspire หรือ แรงบันดาลใจให้กับ บุคคลอื่นได้
ผม ( นายพันธุ์ทอง) จึง สรุปได้ว่า สังคมแห่ง Health Literacy Society ที่แท้จริง ต้อง มาจาก สังคมนั้น ต้องมี ViP ในสังคมให้มาก ๆ ที่สุด V i P คือ V People ที่ สามารถ สร้าง inspire หรือ แรงบันดาลใจให้กับ บุคคลอื่นได้
การเรียนรู้ มาจากฐานคิด ความรู้ เท่ากับ วงเล็บเปิดบุคคล บวกด้วย สารสนเทศวงเล็บปิด ยกกำลัง S คือ การ Sharing ตามสมการดังนี้
K= (P+I)S
ตามสมการด้านบน แสดงให้เห็นว่า ตัวสำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ คือ การ Sharing หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organizational :LO) เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก โดยมีเป้าประสงค์สำคัญของการเรียนรู้ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
No comments:
Post a Comment