5 มิ.ย. 65 ไม่ถาม อย.ตอบ :ปลูก กัญชา 9 มิถุนายน 2565 ไม่เป็นยาเสพติด
วันที่ 5 มิถุนายน 2565
นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
บันทึก เตือนความทรงจำ_
จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565
มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565
ซึ่งจะมีผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกิน 0.2% ยังเป็นยาเสพติดนั้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้
หลายคนมีข้อคำถามมากมายเกี่ยวกับการปลูกและนำเข้ากัญชา กัญชง
สูบกัญชา ได้หรือไม่
ตอบ ได้ ในที่มิดชิด เพื่อสุขภาพ
การสูบ หรือ การนำกัญชาไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น สันทนาการ ที่อาจก่อให้เกิดกลิ่นและควัน จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เข้าข่ายเป็นเหตุรำคาญ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีโทษ ปรับไม่เกิน 25,000 หรือ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน
ถาม : การปลูก
ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด หรือไม่ ?
ตอบ : ไม่ต้อง ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 แต่ขอความร่วมมือให้ประชาชนที่ต้องการปลูกกัญชา กัญชง แจ้งข้อมูลผ่านระบบ Application
"ปลูกกัญ" ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำขึ้น
ตอบ : สามารถกระทำได้ โดยการนำเข้าต้องขออนุญาตตามประมวลกฎหมายยาเสพติด เนื่องจากสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
ตอบ : ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 แต่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ดังนั้น การนำเข้าต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์
ตอบ : ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 การนำเข้าจึงไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามประมวลกฎหมายยาเสพติด แต่ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้งานบนฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้งานบนฉลากผลิตภัณฑ์หรือความมุ่งหมายของผู้ผลิต ดังนี้
- กรณีอาหาร จัดเป็นอาหารห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ฉบับที่ 424 พ.ศ.2564 ที่ออกตามมาตรา
6 (8) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาทถึง 20,000 บาท
กรณีเครื่องสำอาง จัดเป็นเครื่องสำอางที่ห้ามนำเข้าตามประกาศฯ ที่ออกตามความในมาตรา 6 (1) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558
กรณีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
ตอบ : ต้องขอรับอนุญาต
ดังนี้
1.ขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507
และ กรณีนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชา กัญชง ต้องขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช
พ.ศ. 2518 ด้วย
2.เมื่อได้รับอนุญาตตามข้อ 1 แล้ว หากจะนำพืชกัญชา
กัญชง ดังกล่าวมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือ เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสกัดจากกัญชา
กัญชง ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ โดย
- กรณีนำมาผลิตเป็นอาหาร ไม่สามารถนำเข้าได้
เนื่องจากจัดเป็นอาหารห้ามนำเข้า
กรณีนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอาง ไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ห้ามนำเข้า
- กรณีนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น
ๆ ซึ่งหากได้รับอนุญาตให้ผลิตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
การพิจารณาตรวจสอบการนำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
ก็สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกัน
ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ขอบคุณ ผู้รวบรวมข้อมูล https://news.trueid.net/detail/VMGBkorLoKWP
ขอบคุณ ภาพประกอบจาก
https://pixabay.com/th/images/search/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2/
บทกฎหมาย .. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้
ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ
(๔) การกระทำใด ๆ
อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น
ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
มาตรา ๒๘ ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง
ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจระงับเหตุรำคาญนั้นและอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีก
และถ้าเหตุรำคาญเกิดขึ้นจากการกระทำ การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น
เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น
ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคำสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน
จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้วก็ได้
มาตรา ๗๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา
๒๑ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม
หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่ออกตามมาตรา ๒๘/๑ วรรคสอง
โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา
๒๓ มาตรา ๒๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๘ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
No comments:
Post a Comment