1/31/23

31 ม.ค.66 กวป.ครั้งที่ 1 สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา รับ 6 รางวัล

31 ม.ค.66 กวป.ครั้งที่ 1 สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา รับ 6 รางวัล

วันที่ 31 มกราคม  2566 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และ คณะ

ร่วม ประชุม กวป.ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารหลังใหม่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

ประธานการประชุม โดย นพ.ยุทธนา สุริยะ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร







ขอบคุณ ทุกแห่ง ที่ร่วมกัน รณงค์ งานผู้สูงอายุ

เวทีเกียรติยศ

อำเภอเลิงนกทา เข้ารับเกียรติบัตร จากผลการปฏิบัติงานดีเด่นในพื้นที่ 5 รายการ ดังนี้

1.     ใบประกาศเกียรติคุณให้แก่อำเภอที่มีผลงานการ ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น

2.     เกียรติบัตร การดำเนินงาน ITA ได้ตามมาตรฐาน รับมอบโดย นายชาญณรงค์ เมืองอามาตย์ ผู้ช่วย สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

3.     ประกาศนียบัตร รพ.สต. ที่มีผลงานดีเด่น  ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย ประจำปี 2565

รับมอบโดย นางสาวระยอง มีดี ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสมสะอาด

4.     ใบประกาศเกียรติคุณ อสม.ดีเด่น ระดับจังหวัดยโสธร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

รับมอบโดย อสม. กิตติพศ งามวงศ์ อสม. บ้านสมสะอาด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสมสะอาด

5.     ใบประกาศเกียรติคุณ ให้กับพี่เลี้ยง อสน.จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสมสะอาด

6.     ใบประกาศเกียรติคุณ ให้กับ คปสอ. เลิงนกทา สนับสนุน อสม.ดีเด่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 การนิเทศงาน : ไม่ต้องทำเอกสาร นำเสนอด้วย PowerPoint : เตรียมรับการตรวจราชการ

 แนวทางการจัดสร UC ปี 2566














การกำหนดตำแหน่ง ชำนาญการพิเศษ

ปี 2565  รพ.สต. กุดแห่

ปี 2566 รพ.สต.ศรีแก้ว รพ.สต.ป่าชาด

            รพ.สต. ดงแคนใหญ่ รพ.สต. โพนเมือง รพ.สต.ศรีแก้ว  รพ.สต.ขุมเงินรพ.สต.  โคกนาโก รพ.สต.ป่าชาด รพ.สต.กู่จาน รพ.สต.เหมือด มหาชนะชัย

            มติ กวป. 31 มค.2566 บริการแพทย์แผนไทย ใน OPD case  รพ. หรือ รพ.สต.ใด ไม่ผ่านเกณฑ์ จะไม่ได้รับสนับสนุนงบประมาณ หรือ ได้รับในสัดส่วนที่น้อยลง ( มาก ๆ )  รพ. 100,000    รพ.สต.  20,000 บาท

           

การถ่ายโอน รพ.สต. สู่ อบจ.

            พิจารณา ผลได้ ผลเสีย ก่อนพิจารณาตัดสินใจ

           

การกำหนดตำแหน่ง ชำนาญการพิเศษ ใน กลุ่ม ฝ่าย สสจ.ยส.  ใน รพ. ใน รพ.สต.

ขาดตำแหน่งใน สสอ. ขอกำหนดให้กับ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ

นำเข้าวาระ ในการประชุม กวป. บันทึกเสนอไปยังกระทรวงฯ

 

ปปช.  ศูนย์ดำรงธรรม   หนังสือแจ้ง       การจ่ายค่าตอบแทนไม่เป็นธรรม

           

           

ก้อนที่ 1 (เงินกู้ ) ได้ครบ จ่ายหมด เหลือเงินส่งคืน

ก้อนที่ 2  (งบกลาง ) ได้ไม่ครบ สสจ.ยส.ขอเสนอเงินเพิ่ม ตามส่วนที่ขาด

            งบขาลง ยังไม่ทราบจำนวนที่ชัดเจน

           

30 ม.ค.66 ต.สามแยก ป้องกัน แก้ไข โรคไต โดยการมีส่วนร่วม ณ อ.เลิงนกทา

30 ม.ค.66 ต.สามแยก ป้องกัน แก้ไข โรคไต โดยการมีส่วนร่วม ณ อ.เลิงนกทา

วันที่ 30 มกราคม  2566 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และ คณะ

ร่วมงาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา

กิจกรรม การป้องกันแก้ไข โรคไต โดยการมีส่วนร่วม   

ตามโครงการพัฒนาและเสริมศักยภาพเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการสร้างสุขภาพระดับปฐมภูมิอย่างมีส่วนร่วมตำบลสามแยก

เลขานุการประสานโครงการด้วยดี โดย นายคมสันต์ กาลจักร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามแยก และ คณะ

            มี ผู้บริหารท้องถิ่น เทศบาลตำบลสามแยก อบต.สามแยก  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธาน อสม. และภาคประชาชนเข้าร่วมเสนอแนะแนวทาง

            หัวหน้าคณะวิทยากร ภาคสถานบริการ โดย พญ.ปิยะนันท์ การินทร์  แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว PCC สามแยก

 

            การมีส่วนร่วมของครอบครัว ของเทศบาลตำบลสามแยก อบต.สามแยก เครือข่ายภาคประชาชน

ในการชะลอความเสื่อมของไต                 

 

มติ 1.  ผู้นำต้องทำก่อน ในด้านต่าง ๆ ด้านล่าง อย่างน้อย 2 กิจกรรมคือ

1). การปลูกพืช ผัก สวนครัว   

2). การออกกำลังกาย

ผู้นำ ประกอบด้วย นายก ฯ รองนายก สท. ส.อบจ.  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน อสม.

           มติ 2.  หมู่บ้านต้นแบบ 2 หมู่บ้าน คือ 1.บ้านห้วยกอย 2.บ้านคึมชาด ทำทุกครัวเรือน

  

การป้องกันแก้ไข โรคไต โดยการมีส่วนร่วม กิจกรรม อื่นๆ ประกอบด้วย

การดูแล / แนะนำ /บอก กล่าว/ตักเตือน/ ร่วมปฏิบัติ/ และอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) อุปนิสัยในการปรุงอาหาร 2) การ ใช้ยา 3) การควบคุมน้ำหนัก 4) การควบระดับน้ำตาลในเลือดในกรณีผู้ป่วย ป่วยเป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย 5) การดูแลสุขภาพ เมื่อไม่สบายเพียงเล็กน้อย 6) การเฝ้าระวังการดำ เนินของโรค 7) การจัดการเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย 8) การควบคุมความดันโลหิต ในกรณีผู้ป่วย ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย 9) การจัดการอารมณ์/ความเครียด 10) การออกกำลังกาย 11) เทศบาล / อบต. สนับสนุน อุปกรณ์ การตรวจหาความเค็ม 

 








            โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย  (End Stage Renal Disease) คือกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากไตไม่ทำงานและไม่สามารถคืนสู่สภาพเดิมได้

               การรักษาผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย   

ด้วยการบำบัดทดแทนไต (Renal replacement therapy) ปัจจุบันมี 3 วิธี

วิธีที่ 1. การผ่าตัดเปลี่ยนไต Renal Transplant

วิธีที่ 2. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Hemodialysis ค่าใช้จ่ายประมาณ เดือนละ 15,000-20,000 บาท

วิธีที่ 3. การล้างไตทางหน้าท้องอย่างถาวร Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (C.A.P.D.) ค่าใช้จ่ายประมาณ เดือนละ 30,000-50,000 บาท

              


 

1/30/23

28 ม.ค.66 ยโสธร: ปีแห่งสุขภาพผู้สูงวัยไทย : มอบของขวัญ ผู้สูงอายุ

28 ม.ค.66 ยโสธร: ปีแห่งสุขภาพผู้สูงวัยไทย : มอบของขวัญ ผู้สูงอายุ

วันที่ 28  มกราคม  2566 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา   และ คณะ

ร่วม งาน ณ โรงแรม เจพี เอมเมอรัลด์ จังหวัดยโสธร

กิจกรรม รวมพลัง อสม. ยโสธร ออนซอนผู้สูงวัย มอบของขวัญปีใหม่  พ.ศ. 2566 ปีแห่งสุขภาพสูงวัยไทย จังหวัดยโสธรอสม.ยโสธร ออนซอนผู้สูงอายุ

ประธาน โดย  นพ.ยุทธนา สุริยะ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

 การมอบของขวัญแก่ผู้สูงอายุประกอบด้วยสิ่งสนับสนุนช่วยเหลือด้านความถดถอยเช่น แว่นตา  ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แผ่นรองซับ ฟันเทียมและรากฟันเทียม   และต่อด้วยกิจกรรม kick off มอบของขวัญปีใหม่  ปีแห่งสุขภาพสูงวัยไทยผ่านระบบออนไลน์พร้อมกันทั้งประเทศ

           


ทั้งนี้“ 2566 ปีแห่งสุขภาพผู้สูงวัยไทย  กระทรวงสาธารสุข ส่งมอบสุขภาพดี ให้ผู้สูงอายุทั่วประเทศ “

กิจกรรม KICK OFF และพัฒนาศักยภาพ อสม. หมอประจำบ้านในการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ

วันที่ 28 มกราคม 2566 พื้นที่ดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศ

ประธาน โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสารารณสุข เป็นประธาน และถ่ายทอดไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ

 

                  ข้อสั่งการจากการประชุม ให้ อสม. ทุกพื้นที่ คัดกรองผู้สูงอายุในชุมชน ผ่านแอปพลิเคชัน “Smart  อสม.”  ภายใต้นโยบาย 3 หมอ ในฐานะ อสม. เป็น หมอคนที่ 1 ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกค้นหา คัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่ ซึ่งการคัดกรองสุขภาพ 9 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านความคิดความจำ 2.ด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย 3.ด้านการขาดสารอาหาร 4.ด้านการมองเห็น 5.ด้านการได้ยิน 6.ด้านภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 7.ด้านการกลั้นปัสสาวะ 8.ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และ 9.ด้านสุขภาพช่องปาก 

              ทั้งนี้ สามารถคัดกรองได้ทั้ง Blue Book  และ “Smart  อสม.”  หรือ ส่งเป็น Excel File

ส่งผลการคัดกรองทุกวัน ในช่วงรณรงค์ 23 -27 มกราคม 2566

เชิญ ผู้บริหารทุกอำเภอ ร่วมเปิดกิจกรรม วันที่ 28 มกราคม 2566 ณ โรงแรม JP Emerald ยโสธร เวลา .. น.

              กระทรวงสาธารณสุข จะนำผลการคัดกรองไปใช้ในการจัดสรร วัสดุ อุปกรณ์ ต่อไป

              เป็นการส่งความสุข หรือ ส่งมอบสุขภาพดีให้กับผู้สูงอายุ  ทั่วประเทศ  เช่น

รากฟันเทียม 5,000 อัน  ฟันเทีนม50,000 ซี่ แว่นตา500,000 อัน  ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 5,000,000 ผืน

              คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน

หู               5.ด้านการได้ยิน

ตา             4.ด้านการมองเห็น 

จมูก          

ลิ้น             3.ด้านการขาดสารอาหาร              9.ด้านสุขภาพช่องปาก 

กาย           2.ด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย 7.ด้านการกลั้นปัสสาวะ 8.ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

ใจ              1. ด้านความคิดความจำ 6.ด้านภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

 

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร   อำนวยความสะดวก ให้กับ พื้นที่ โดยจัดทำ

แหล่งสำหรับตรวจสอบ ข้อมูล งานผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร ( Elderly Data Canter  )  ได้ที่นี่ 

 

http://www.yasothon.moph.go.th/elder/home/index.php