1/31/23

30 ม.ค.66 ต.สามแยก ป้องกัน แก้ไข โรคไต โดยการมีส่วนร่วม ณ อ.เลิงนกทา

30 ม.ค.66 ต.สามแยก ป้องกัน แก้ไข โรคไต โดยการมีส่วนร่วม ณ อ.เลิงนกทา

วันที่ 30 มกราคม  2566 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และ คณะ

ร่วมงาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา

กิจกรรม การป้องกันแก้ไข โรคไต โดยการมีส่วนร่วม   

ตามโครงการพัฒนาและเสริมศักยภาพเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการสร้างสุขภาพระดับปฐมภูมิอย่างมีส่วนร่วมตำบลสามแยก

เลขานุการประสานโครงการด้วยดี โดย นายคมสันต์ กาลจักร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามแยก และ คณะ

            มี ผู้บริหารท้องถิ่น เทศบาลตำบลสามแยก อบต.สามแยก  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธาน อสม. และภาคประชาชนเข้าร่วมเสนอแนะแนวทาง

            หัวหน้าคณะวิทยากร ภาคสถานบริการ โดย พญ.ปิยะนันท์ การินทร์  แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว PCC สามแยก

 

            การมีส่วนร่วมของครอบครัว ของเทศบาลตำบลสามแยก อบต.สามแยก เครือข่ายภาคประชาชน

ในการชะลอความเสื่อมของไต                 

 

มติ 1.  ผู้นำต้องทำก่อน ในด้านต่าง ๆ ด้านล่าง อย่างน้อย 2 กิจกรรมคือ

1). การปลูกพืช ผัก สวนครัว   

2). การออกกำลังกาย

ผู้นำ ประกอบด้วย นายก ฯ รองนายก สท. ส.อบจ.  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน อสม.

           มติ 2.  หมู่บ้านต้นแบบ 2 หมู่บ้าน คือ 1.บ้านห้วยกอย 2.บ้านคึมชาด ทำทุกครัวเรือน

  

การป้องกันแก้ไข โรคไต โดยการมีส่วนร่วม กิจกรรม อื่นๆ ประกอบด้วย

การดูแล / แนะนำ /บอก กล่าว/ตักเตือน/ ร่วมปฏิบัติ/ และอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) อุปนิสัยในการปรุงอาหาร 2) การ ใช้ยา 3) การควบคุมน้ำหนัก 4) การควบระดับน้ำตาลในเลือดในกรณีผู้ป่วย ป่วยเป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย 5) การดูแลสุขภาพ เมื่อไม่สบายเพียงเล็กน้อย 6) การเฝ้าระวังการดำ เนินของโรค 7) การจัดการเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย 8) การควบคุมความดันโลหิต ในกรณีผู้ป่วย ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย 9) การจัดการอารมณ์/ความเครียด 10) การออกกำลังกาย 11) เทศบาล / อบต. สนับสนุน อุปกรณ์ การตรวจหาความเค็ม 

 








            โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย  (End Stage Renal Disease) คือกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากไตไม่ทำงานและไม่สามารถคืนสู่สภาพเดิมได้

               การรักษาผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย   

ด้วยการบำบัดทดแทนไต (Renal replacement therapy) ปัจจุบันมี 3 วิธี

วิธีที่ 1. การผ่าตัดเปลี่ยนไต Renal Transplant

วิธีที่ 2. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Hemodialysis ค่าใช้จ่ายประมาณ เดือนละ 15,000-20,000 บาท

วิธีที่ 3. การล้างไตทางหน้าท้องอย่างถาวร Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (C.A.P.D.) ค่าใช้จ่ายประมาณ เดือนละ 30,000-50,000 บาท

              


 

No comments:

Post a Comment