1/13/23

2 ม.ค.66 ปีใหม่ มอง มุมใหม่ : อีกครึ่งหนึ่งของชีวิต "success, happiness, deep purpose in the second half of life"

2 ม.ค.66 ปีใหม่ มอง มุมใหม่ : อีกครึ่งหนึ่งของชีวิต "success, happiness, deep purpose in the second half of life"

วันที่ 2 มกราคม 2566   นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขออนุญาต ผู้เขียน บันทึกมุมมองประทับใจ ในเทศกาลปีใหม่

เพื่อ เริ่มชีวิตใหม่ อีกครึ่งของชีวิต ที่เพื่อน ๆ ผบก. ส่งต่อมาให้  ( ภก.สมยศ )   

ระบุชื่อผู้แปลเป็นไทย  ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์   คนเขียนหนังสือเล่มนี้คือ Arthur C. Brooks ความว่า

มีหนังสือไม่กี่เล่มที่ผมอ่านแล้วรู้สึกว่า ว้าว เปิดโลกเรามากเลย หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มหนึ่งที่ทำให้ผมคิดอย่างนั้นครับ

.จริง ๆ บทความนี้ ผมเขียนเกือบจบแล้ว ยาวมากด้วย แต่เกิดอะไรขึ้นไม่รู้ ที่เขียนหายไปหมด แต่ความรู้สึกอยากเขียนไม่หายไปเลย เขียนใหม่ก็ได้

.หนังสือเล่มนี้ผมไปเจอตอนไปรอรับลูกสาวที่ร้านหนังสือคิโนะคุนิยะ พารากอนครับ เดินดูเล่น ๆ เห็นชื่อก็เฉย ๆ แต่พออ่านคำโปรยนี่สะดุดเลย คือเขาเขียนว่า

."Finding success, happiness, and deep purpose in the second half of life"  หรือแปลว่า "หาความสำเร็จ ความสุข และความหมายเชิงลึก ในครึ่งหลังของชีวิต"

.ด้วยความที่อายุขึ้นเลข 5 แล้ว จะว่าไปก็เข้าสู่ครึ่งหลังของชีวิตแล้ว เลยอยากรู้ว่า แล้วชีวิตครึ่งหลังกับครึ่งแรกมันจะต่างกันอย่างไร

.อ่านแล้ว ว้าวครับ ไม่เคยคิดมุมนี้มาก่อน คนเขียนหนังสือเล่มนี้คือ Arthur C. Brooks ซึ่งเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เขาเปิดเรื่องมาว่า เขาไปเจอคนที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ๆ คนหนึ่งที่คนนับหน้าถือตามาก ๆ ในสังคม แต่กลับไม่มีความสุขในชีวิต ซึ่งเขาบอกว่ามันคือโมเม้นต์ที่เปลี่ยนชีวิตเขาเช่นกัน

.คือเขาคิดว่า ถ้าคนที่ประสบความสำเร็จ มีคนนับหน้าถือตาขนาดนี้ยังไม่มีความสุขในชีวิต แล้วเขาจะเป็นอย่างไร อะไรทำให้คนที่ประสบความสำเร็จขนาดนี้ไม่พอใจในชีวิต

.เขาได้เริ่มทำวิจัยมาเป็นสิบปี จนกลายเป็นหนังสือเล่มนี้ เขาบอกว่าคนเรามีความเก่งในแต่ละช่วงชีวิตไม่เหมือนกัน ใครที่ประสบความสำเร็จในช่วงครึ่งแรกของชีวิตแต่ยังคงทำเหมือนเดิมใช้ทักษะเดิม เดี๋ยวมันจะไม่ประสบความสำเร็จอย่างเดิม

.แปลกใจไหมครับ ก็ทำแบบเดิมก็น่าจะได้ผลแบบเดิมสิ ทำไมทำแบบเดิมตอนแรกสำเร็จ ตอนหลังกลับสำเร็จน้อยลงล่ะ คำตอบคือ เพราะความสามารถอันนั้นมันจะค่อย ๆ ลดลงเวลาอายุเราเพิ่มมากขึ้นไง

.โห ถ้างั้น ชีวิตนี้ก็ดูหดหู่เนอะ ยิ่งแก่ ยิ่งเก่งน้อยลงเรื่อย ๆ ประสบความสำเร็จน้อยลงเรื่อย ๆ แบบนี้เหรอ คำตอบคือไม่ใช่ครับ เพียงแต่เราต้องรู้ว่า "ถึงเวลาที่เราจะต้องเปลี่ยนแล้ว"

.ตรงนี้แหละครับเป็นจุดที่ผมว้าวที่สุด "ถึงเวลาที่เราจะต้องเปลี่ยนแล้ว"

.หนังสือยกตัวอย่างไว้ดีครับว่า สมมุติว่าเราเป็นนักกีฬา ซึ่งผมขอยกตัวอย่างนักฟุตบอลละกัน เราจะทราบดีว่าชีวิตการเป็นนักฟุตบอลนั้นมันจะมีช่วงที่ดีที่สุดโดยทั่วไปมักจะอยู่ช่วง 20-30 ปี หลังจาก 30 ปีมันจะเริ่มขาลงแล้ว และส่วนใหญ่พอถึง 40 ก็ต้องเลิกเล่น

.นักฟุตบอลรู้ความจริงนี้ดีครับ เพราะฉะนั้นพออายุขึ้นเลข 3 หลายคนเริ่มวางแผนชีวิตกันแล้วว่าหลังจากเลิกเล่นแล้ว เขาจะทำอะไรต่อ บางคนเริ่มเรียนโค้ช เพราะหลังจากเลิกเตะบอลแล้วจะเป็นโค้ช บางคนวางแผนไปเป็นนักข่าว บางคนอยากทำธุรกิจอะไรก็ว่าไป แต่เขาจะเตรียมตัววางแผนเพื่อเปลี่ยนผ่านชีวิตไปในช่วงครึ่งหลัง

.นักกีฬาเขารู้ตัวครับ ปัญหาคือคนทั่วไปอย่างเรา ๆ นี่แหละที่ไม่รู้ตัว เรายังดันทุรังทำในสิ่งที่เราทำได้ดีน้อยลงเรื่อย ๆ ไปเรื่อย ๆ มันจึงไม่แปลกที่เราจะเริ่มรู้สึกแย่กับผลลัพธ์ของเราที่มันจะตกลงเรื่อย ๆ

.ก็ลองคิดดูว่า ถ้าเป็นนักฟุตบอลอายุ 40 แล้วก็ยังไม่หยุดจะดันทุรังเตะอยู่นั่นแหละ คิดว่าเขาจะทำได้ดีไหม ไม่แน่นอนจริงไหมครับ แล้วยังเตะไปเรื่อย ๆ จน 50 ปี 60 ปี แบบนี้รับรองว่าผลลัพธ์คือเละเทะแน่นอน

.ว้าวอีกครั้ง

.ในหนังสือเขาแบ่งความเก่งเป็น 2 แบบครับ ความเก่งแบบแรกเขาเรียกว่า Fluid Intelligence กับอีกอันเรียกว่า Crystallized Intelligence

.อธิบายง่าย ๆ แบบนี้ครับ Fluid Intelligence เป็นความฉลาดในการวิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ตัวอย่างเช่นความสามารถในการแก้โจทย์คณิตศาสตร์อะไรทำนองนี้ ส่วน Crystallized Intelligence เป็นความฉลาดที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ เช่น ใครที่ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ประเทศใดมายาวนาน ยิ่งนานก็ยิ่งมี Crystallized Intelligence เรื่องนี้สูง

.ประเด็นอยู่ตรงที่ตอนอายุน้อย ๆ อยู่เราจะมี Fluid Intelligence อยู่สูง แต่พออายุมากขึ้น Fluid Intelligence มันจะเริ่มลดลงไปเรื่อย ๆ ในทางกลับกัน ตอนเราอายุน้อย ๆ Crystallized Intelligence เราจะต่ำ แต่พออายุเพิ่มขึ้น Crystallized Intelligence มันจะเพิ่มสูงขึ้น

.ความผิดพลาดของหลายคนคือ เราใช้ Fluid Intelligence ในช่วงครึ่งแรกของชีวิตจนชีวิตเราสำเร็จ แต่เรายังดันทุรังใช้ Fluid Intelligence นั้นต่อโดยไม่รู้ตัวว่าความเก่งแบบนั้นมันลดลงเรื่อย ๆ แล้วนะ จังหวะนี้แหละที่เราต้องรู้จักเปลี่ยนมาใช้ Crystallized Intelligence ของเราได้แล้ว

.ถ้าเปรียบกับนักฟุตบอล Fluid Intelligence ก็เหมือนพละกำลัง เราเตะบอลตอนหนุ่ม ๆ พลังเหลือเฟือยิงประตูได้มากมาย แต่พออายุมากขึ้นพลังหมด ยิงประตูเริ่มไม่ได้ ลองคิดภาพว่าเรายังฝืนเล่นจนอายุ 60 ปี เราคือตัวถ่วงทีมดี ๆ นี่เอง และเราก็จะรู้สึกไม่ดีด้วย

.ดังนั้นพออายุ 30 ปลาย ๆ นักฟุตบอลหลายคนจึงเลิกเล่น แล้วอาจจะกลายเป็นโค้ช ที่ใช้ความรู้ทางฟุตบอลที่สะสมมายาวนานมาช่วยทีม ซึ่งเป็น Crystallized Intelligence หรือบางคนกลายเป็นนักข่าว วิเคราะห์วิจารณ์การเล่นฟุตบอล ซึ่งก็ต้องใช้ประสบการณ์มาช่วย

.เราเลยเจอนักฟุตบอลที่ตอนเตะบอลก็ประสบความสำเร็จมาก ๆ มาเป็นโค้ชก็โด่งดังมาก ถึงแม้ว่าหลายคนอาจจะบอกว่ามีนักเตะเก่ง แต่พอมาเป็นโค้ชก็ไม่ได้สำเร็จเท่ากับตอนเป็นนักเตะ ก็จริงครับ แต่รับรองว่ายังไงก็สำเร็จกว่าการที่ยังเป็นนักเตะอยู่จนอาย 50 60 แน่นอนครับ

.ประเด็นทิ้งท้ายไว้ให้คิดคือ แล้วสิ่งที่เราทำอยู่นั้น อะไรคือ Fluid Intelligence อะไรคือ Crystallized Intelligence แล้วเมื่อไรที่เราควรจะเปลี่ยนจาก Fluid Intelligence มาเป็น Crystallized Intelligence กันครับ

.อยากอ่านรายละเอียดก็หนังสือเล่มนี้เลยครับ เข้าใจว่ายังไม่มีแปลไทย แต่เดาว่าน่าจะมีคนเอาไปแปลแหละครับ ผมอ่านแล้ว ว้าว ครับ :)

*ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์

#fb nopadol's story

https://www.facebook.com/1332797230119364/posts/5908579762541065/?mibextid=Nif5oz

 


No comments:

Post a Comment