1 ก.ย. 66 ผู้สูงอายุ : จ.ยโสธร วางระบบสุขภาพชุมชน สู่บริการไร้รอยต่อ STROKE / STEMi Hip / Fracture
วันที่ 1 กันยายน 2566 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา
และคณะ ร่วมประชุม ณ โรงแรมเวลาดี นครพนม (VELA Dhi Nakhon Phanom) จังหวัดนครพนม
กิจกรรม ประชุม จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
สู่ระบบบริการสุขภาพอย่างไร้รอยต่อ สำหรับผู้สูงอายุ
จังหวัดยโสธร ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (ระยะที่ 2)
สรุป เนื้อหา เตือนความทรงจำ จากเวทีนี้
คำว่าไร้รอยต่อ
หมายถึง การเชื่อมระบบข้อมูลสารสนเทศเป็นหนึ่งเดียว Information ตั้งแต่ระบบชุมชนไปจนถึง สถานพยาบาลอย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ Focus ในกลุ่ม 3 โรคเรื้อรังยอดฮิต คือ STROKE /
STEMi Hip / Fracture
กลุ่มเป้าหมายหลัก
ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Stroke) โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI และ กระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) ทั้งการจัดการส่งเสริมและป้องกันโรคในชุมชน
จัดการดูแลและนำส่
โดยมี KPI : ร้อยละผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการฉุกเฉินเกี่ยวกับโรค Stroke STEMI และ Hip fracture สามารถเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (> ร้อยละ 50)
ระบบสุขภาพแบบบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุ
หมายถึง การทำงานร่วมกันของหลายภาคส่วน ตั้งแต่ ปัจเจกบุคคลของผู้สูงอายุ (Idividual) ครอบครัว ( Family ) ชุมชน ( Community
) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสังคม
และระบบบริการสุขภาพ ระดับ ปฐมภูมิ
ทุติยภูมิและตติยภูมิ
โดยการพัฒนาเชิงระบบ
ทั้งด้านนโยบายและมาตรการดำเนินงานสำหรับ Customer Focus 8nvผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง 3 โรคหลอดสำคัญ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Stroke) โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI และ กระดูกสะโพกหัก
(Hip fracture)
HHH จัดระบบริการครอบคลุมทั้งการส่งเสริมและป้องกันโรคในชุมชน
จัดการดูแลและนำส่งผู้ป่วย
ก่อนถึงโรงพยาบาล
(Pre –Hospital care)
การดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล
(In –Hospital care) และ ได้รับการรักษาในสถานบริการเหมาะสมที่เป็น Infinitive care ในระบบ fast tract และ
ส่งผู้ป่วยกลับสู่ชุมชน
(Post –Hospital care) วนกลับไปที่ระดับการส่งเสริมและป้องกันโรคในชุมชน
ระบบสุขภาพชุมชน
หมายถึง ระบบการจัดการเชิงการส่งเสริม ป้องกัน และช่วยเหลือเบื้องต้น (Promotion and Prevention) รวมทั้งประสานร้องขอความช่วยเหลือจากระบบบริการสุขภาพได้อย่าง ทันท่วงที และเหมาะสมองค์ประกอบสำคัญของการดูแลโดยชุมชนเป็นฐาน Community Context Base
ดังนี้
1. การดูแลตนเอง (self-care) : มุ่งให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วยได้
โดย ให้ได้รับการดูแลตามแผนการรักษามากกว่าการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนรวมถึงการเพิ่มพลังอำนาจให้บุคคลเพื่อ สามารถควบคุมชีวิตตนเองได้
ทั้งนี้บุคคลและครอบครัวมีหน้าที่โดยตรงในการตัดสินใจเพื่อสุขภาพ
2. การดูแลด้านการป้องกัน (preventive care) : เน้นการดูแลในระดับป้องกันโรคหรืออาการ
ตั้งแต่ยัง ไม่มีอาการแสดงของโรค การค้นหาปัจจัยเสี่ยง
3. การดูแลในบริบทของชุมชน (care within the context of community): ตระหนักถึงบริบท วัฒนธรรมค่านิยมความเชื่อ แหล่งประโยชน์ของผู้ใช้บริการ
ครอบครัวและชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน และ การเข้าถึงบริการสุขภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกับปัจจัยด้านสังคม นอกจากนี้ระบบของสังคม ได้แก่ ระบบสุขภาพระบบครอบครัว ระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ
ระบบการสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งจะมีผลต่อการดูแล สุขภาพชุมชน
4. การดูแลต่อเนื่อง (continuity of care): การดูแลต่อเนื่องมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความสามารถของ ผู้ใช้บริการในการดูแลตนเองตามศักยภาพที่มีอยู่
ใช้แหล่งประโยชน์ต่างๆ ที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้การดูแล อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนเจ็บป่วย ระหว่างการเจ็บป่วย
และหลังจากการเจ็บป่วย ในลักษณะผสมผสานการ ส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค
การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ
5. การประสานความร่วมมือในการดูแล (collaborative care): เป็นการดูแลผู้ใช้บริการร่วมกับทีม สุขภาพซึ่งทีมสุขภาพหรือสหสาขาวิชาจะปฏิบัติการดูแลผู้ใช้บริการหรือมีส่วนร่วมรับผิดชอบผู้ใช้บริการเพื่อ บรรลุเป้าหมายการดูแลเดียวกันและเพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพและฟื้นฟูสุขภาพ
No comments:
Post a Comment