1/21/15

21 มค.2558 _การดำเนินการ เรื่อง ที่ราชพัสดุ

21 มค.2558 _การดำเนินการ เรื่อง ที่ราชพัสดุ
วันที่  19-22 มกราคม 2558  ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง เข้ารับการอบรม ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินการคลัง หน่วยงานในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ โรงแรมพูลแมน จังหวัดขอนแก่น
สรุปเนื้อหา สำหรับเตือนความจำและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ได้ โดยย่อ ดังนี้
วันที่  21 มกราคม 2558 เรื่องที่ราชพัสดุ
การบรรยายเรื่อง กฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครองดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์ เกี่ยวกับ ที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม 
วิทยากร โดย  อาจารย์ ธนพร พรหมพันธุ์ ผู้อำนวยการส่วนคดี กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
                   ที่ราชพัสดุ ประกอบด้วย อสังหาริมทรัพย์ของแผ่นดินทุกชนิด ส่วนควบของที่ดิน เช่น อาคาร ไม้ยืนต้น  รวมทรัพยสิทธิเหนือที่ดินนั้นด้วย
กรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ ให้ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ราชพัสดุ (มาตรา  ๕  พรบ.ที่ราชพัสดุ 2518 )
หน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในฐานะผู้ใช้ที่ราชพัสดุ
                   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในฐานะผู้ใช้ที่ราชพัสดุ มีหน้าที่หลัก เกี่ยวกับ ที่ราชพัสดุ หลายประการ อาทิเช่น  
หน้าที่ 1 ร่วม หรือ สำรวจรายการที่ดิน หรือ อาคาร ขึ้นทะเบียน ตามที่ได้รับแจ้งจาก กรมธนารักษ์
(ข้อสังเกต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้รับมอบที่ดิน จากเอกชน เพื่อใช้ประโยชน์ สำหรับกิจการทางด้านสาธารณสุข ควรมีบันทึก หรือหลักฐาน การรับมอบ ให้ชัดเจน และระบุวัตถุประสงค์การมอบ การโอนไว้ให้ชัดเจนด้วย )
หน้าที่ 2 ดูแล และบำรุงรักษาที่ราชพัสดุ  เช่น รังวัด ชี้แนวเขต ให้ถ้อยคำ ไกล่เกลี่ย ทำความตกลงในการสอบสวนเปรียบเทียบปรับ เป็นต้น ( หากไม่ดูแล จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย กรมธนารักษ์ อาจให้ส่งคืนได้)
                   กรณีที่ราชพัสดุถูกบุรุก ผู้ใดไม่สามารถยกเหตุอายุความมาต่อสู้กับทางราชการได้
ผู้บุกรุก มีความผิด ตาม ประมวลกฎหมาย อาญา และ ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน ด้วย

หน้าที่ 3 ทำความตกลง เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ราชพัสดุ  เช่น เดิมใช้ประโยชน์ เป็นสถานีอนามัย ต่อมา ขอใช้เป็นโรงพยาบาลชุมชน หรือ ขอใช้ เป็น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเป็นต้น

หน้าที่ 4 แจ้งขอรื้อถอน อาคารและสิ่งปลูกสร้าง ตามกฎกระทรวง ข้อ 19 ซึ่ง มี 4 กรณี ที่ไม่ต้องขออนุญาตรื้อถอนก่อนคือ
อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 4 กรณี ที่ไม่ต้องขออนุญาตรื้อถอนก่อน
กรณีที่ 1. อาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่ก่อสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปี
กรณีที่ 2. อาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่ชำรุดจนใช้การไม่ได้
กรณีที่ 3. อาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ที่เกี่ยวกับราชการลับทางทหาร
กรณีที่ 4. อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเดิม เพื่อปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใหม่ทดแทนตามที่ได้รับงบประมาณใหม่
(หลักการคือ หน่วยงานผู้ใช้ ต้องขอนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงทำการรื้อถอนได้
และเมื่อทำการรื้อถอนแล้ว ให้ทำหนังสือแจ้งต่อ ธนารักษ์พื้นที่ต่อไป )
หน้าที่ 5 การส่งคืนที่ราชพัสดุ  ( เช่น กรณีเลิกใช้ประโยชน์ หรือ มีหน่วยงานอื่นๆ มาขอใช้ประโยชน์แทน เช่น
                   สถานีอนามัยดงแคนใหญ่ ต้อง ขอส่งคืนที่ราชพัสดุ สถานีอนามัยแห่งเดิม เพื่อให้ เทศบาลตำบลดงแคนใหญ่ ขอใช้ประโยชน์ สร้างตลาดชุมชนเป็นต้น )

รื้อถอนแล้ว เอาวัสดุ ไปทำอะไร
ตอบ ต้องปฏิบัติตาระเบียบระเบียบกระทรวงการคลัง การดูแลที่ราชพัสดุ
                   ตั้งกรรมการ 3 คน ประเมินราคา สิ่งก่อสร้างนั้น แล้ว
1.     ประมูลขายทั้งหลัง
2.     นำวัสดุ ที่ได้นั้น ไปตีราคา เป็นค่าจ้าง ในการรื้อถอน ( กรณีนี้รวมทั้ง การขุดแหล่งน้ำ ก็สามารถนำวัสดุนั้นไปหักเป็นค่าจ้างได้ด้วย)
3.     นำไปใช้ประโยชน์ในทางราชการ  ใน 3 กรณี
กรณีที่ 1 สร้างอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง เช่น ศาลาพักญาติ อาคารจอดรถ
       (กรณีนี้ สร้างสิ่งปลูกสร้างใดแล้วต้องแจ้งขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุต่อไป)
กรณีที่ 2 นำไปทำครุภัณฑ์ สำนักงานอื่นๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ กรณีนี้ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนที่ครุภัณฑ์สำนักงานต่อไป
กรณีที่ 3 นำไปใช้เป็นสาธารณะประโยชน์ เช่น ศาลากลางบ้าน วัด หรือ การกุศล
หากมีวัสดุคงเหลือ จากการนำไปใช้ประโยชน์ในทางราชการ ให้ประมูลขายวัสดุคงเหลือต่อไป
                  
ถาม ตอบ ทั่วไป
คำถาม  ที่ดินสำหรับสร้าง รพ.สต.ในปัจจุบัน เดิม ผู้ขอใช้กรรมสิทธิ์ คือ โรงเรียน ถือกรรมสิทธิ์ 12 ไร่ แบ่งให้ สร้าง รพ.สต. 4 ไร่ ปัจจุบัน ยังไม่ขอขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่สร้าง รพ.สต.นี้ เป็นที่ราชพัสดุแล้ว โดยเจตนาการใช้ประโยชน์
   การปฏิบัติให้ดำเนินการขอใช้ประโยชน์ในที่ดิน เป็นประโยชน์เพื่อกิจการ รพ.สต. และขอขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ต่อไป

คำถาม  อบต.ขอใช้ที่ดิน สสอ.เดิม สร้างสนามเด็กเล่น จะดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1.สสอ.ทำหนังสือ ถึง สสจ. ขอนุญาต ให้ อบต.ใช้ประโยชน์
 โดยต้องกำหนดเงื่นไข ไว้ด้วยว่า เมื่อ อบต.เลิกใช้ประโยชน์ ให้ส่งคืน สสอ.ต่อไป
2.เมื่อ สสจ. อนุญาต แล้ว ให้ อบต.ดำเนินการ ขอใช้ประโยชน์ ในที่ราชพัสดุ แปลงนี้ต่อไป

คำถาม  ที่ รพ.สต.ปัจจุบัน ได้รับบริจาค 1 ไร่ จาก คน 2 คน คนละ 2 งาน และ อีก 3 ไร่ จากที่สาธารณะประโยชน์
                   จะต้องดำเนินการขอขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุอย่างไร
ตอบ ที่ดิน ที่ได้รับบริจาคจากเอกชน  1 ไร่ เมื่อส่งมอบแล้ว ตกเป็นที่ราชพัสดุทันที ไม่ต้องดำเนินการใดๆ
ส่วนที่สาธารณะประโชยน์ 3 ไร่ ต้องทำหนังสือขอใช้ที่สาธารณะประโชยน์ ไปยัง นพ.สสจ. โดยแนบเอกสาร การยินยอม จาก อบต.แนบไปด้วย
                   เมื่อเสร็จแล้ว ขอขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ เป็นแปลงเดียวกันไปในคราวเดียวกันเลย ไม่จำเป็นต้องมีหนังสือทะเบียน 2 ฉบับ

คำถาม  ที่ดิน รพ.สต. ที่ได้รับบริจาคจากเอกชน มา 18 ปี แล้ว ผู้บริจาคจะสามารถเรียกร้องคืนได้หรือไม่  
ตอบ ไม่ต้องทำอะไร เพราะ ที่ดิน ได้มาโดยสุจริต โดยเปิดเผย ถือเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง และ โดยเจตนาผู้มอบ
                   สิ่งที่ทำคือ รอให้เขาฟ้อง แล้ว ไปให้การ ตามที่ศาลนัด ซึ่ง คดีนี้ อย่างไรก็ไม่สามารถเรียกคืนได้

                   ทั้งนี้ในทางปฏิบัติเพื่อให้สะดวกและถูกต้อง หน่วยงานต่างๆ สามารถขอรับการปรึกษา การดำเนินการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ได้ที่ สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ ในแต่ละจังหวัดได้

การบรรยายเรื่อง พระราชกฎษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ และหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายค่าเช่าบ้าน

วิทยากร โดย  ผู้อำนวยการกลุ่มคลังและพัสดุ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข








No comments:

Post a Comment