1/23/15

22 มค.2558 _การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การยืมเงิน

22 มค.2558 _การเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการยืมเงิน 
วันที่  19-22 มกราคม 2558  ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง เข้ารับการอบรม ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินการคลัง หน่วยงานในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ โรงแรมพูลแมน จังหวัดขอนแก่น
สรุปเนื้อหา สำหรับเตือนความจำและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ได้ โดยย่อ ดังนี้

หลักฐานการรับจ่ายเงินต้องมีรายการสาระสำคัญ ครบ 5 รายการ

วันที่  22 มกราคม 2558  การบรรยายเรื่อง ระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วย การเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑   วิทยากร โดย นางกฤติยา ทองไกรรัตน์  คลังเขต ๔
                   การบรรยายเรื่อง ระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วย เงินสวัสดิการและคั่กษาพยาบาล
วิทยากร โดย นางกฤติยา ทองไกรรัตน์ ฝ่ายวิชาการ สำนักงานคลังเขต ๔

การใช้จ่ายเงินงบประมาณ
                   ผู้ได้รับมอบหมาย  สามารถดำเนินการเบิกเงินจากคลัง   อนุมัติจ่ายเงิน  นำเงินส่งคลัง  บันทึกและปรับปรุงข้อมูลและการเรียกรายงานในระบบ
                   การมอบหมาย ให้ผู้ใดมีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน ต้องจัดทำเป็นคำสั่งและมอบหมายด้วยลายลักษณ์อักษร

หลักเกณฑ์การเบิกเงิน
n  ห้ามเบิกก่อนถึงกำหนดจ่าย
n  ให้เบิกเมื่อหนี้ถึงกำหนด หรือใกล้จะถึงกำหนด
n  ขอเบิกเพื่อการใดให้จ่ายเพื่อการนั้น
n  เบิกเฉพาะที่ถูกต้องตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ กฏหมาย คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรี
n  ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นปีใดให้จ่ายในปีนั้น
n  งบกลาง รายการเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินช่วยเหลือ เงินสมทบ เงินชดเชย ค่ารักษา ข้ามปีได้
n  ค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ  ค่าโทรศัพท์ เบิกเมื่อได้รับแจ้งหนี้ ( เบิกข้ามปีได้ )
n  การชำระหนี้เงินตราต่างประเทศให้ชำระเป็นบาท
n  การเบิกเงินทุกกรณี ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร
n  ให้ส่วนราชการอื่นเบิกแทนได้

การขอเบิกเงินของส่วนราชการ สำหรับการ สั่งซื้อ สั่งจ้าง
 กรณีมีใบสั่งซื้อ สั่งจ้าง สัญญาจ้าง หรือ ข้อตกลงการจ้าง ซึ่งมีวงเงินตั้งแต่ 5,000 บาท (ห้าพันบาท) ขึ้นไป
ให้ส่วนราชการ จัดทำ ตามระบบทาง Electronic การจ่ายเงิน กรมบัญชีกลาง จะต้อง จ่ายเงินให้เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิ์รับเงินโดยตรง

หลักเกณฑ์การจ่ายเงินยืม
-  ต้องถูกต้องตามกฏหมาย  ระเบียบ ข้อบังคับ  คำสั่ง  และมติคณะรัฐมนตรีหรือตามที่ได้รับจากกระทรวงการคลังโดยผู้มีอำนาจอนุมัติให้จ่าย
-  ผู้อนุมัติลงนามอนุมัติจ่ายในหลักฐานการจ่าย
-  การจ่ายต้องมีหลักฐานการจ่ายไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
-  ถ้ายังไม่จ่ายเงิน ห้าม เรียกหลักฐานการจ่าย

n  ถ้าข้าราชการ ลูกจ้าง หรือผู้รับบำนาญมารับเงินไม่ได้ให้ใช้    ใบมอบฉันทะและถ้าเป็นบุคคลอื่นให้ใช้ใบมอบอำนาจ
n  การจ่ายเงินกรณีโอนสิทธิเรียกร้องให้เป็นไปตามกระทรวงการคลังกำหนด
n  เจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินต้องประทับตรา จ่ายเงินแล้ว โดยลงลายมือชื่อรับรองการจ่ายและระบุชื่อผู้จ่ายด้วยตัวบรรจงพร้อม  วัน เดือน ปี กำกับไว้ในหลักฐานการจ่ายทุกฉบับ

เหตุผลที่ต้องประทับตรา จ่ายเงินแล้วหลักการคือ ป้องกันการนำ เอกสารเหล่านั้น กลับมาใช้ในการเบิกจ่ายเงินซ้ำ

หลักฐานการรับจ่ายเงินต้องมีรายการสาระสำคัญ ครบ 5 รายการ
หลักฐานการจ่าย
n  การจ่ายเงินทุกครั้งต้องใช้ใบเสร็จรับเงิน (ใบสำคัญคู่จาย) หรือ
ใบสำคัญรับเงิน  หรือ ใบรับรองการจ่ายเงิน หรือ ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน(เช่นรับรองค่าพาหนะเดินทาง)
แบบคำขอเบิกเงินที่มีช่องผู้รับเงิน หรือ เอกสารอื่นใดที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้ใช้เป็นหลักฐานการจ่าย
เช่น การณีจ่าค่า ทิป กรณีไปราชการต่างประเทศ  
                   ซึ่งจะจ่ายเงินป็นกรณีใดก็ตาม ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานการรับเงินเหล่านั้น อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ครบ 5 รายการ ดังต่อไปนี้
                   1.  ชื่อ  สถานที่อยู่  หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
       2.  วัน เดือน ปี ที่รับเงิน
       3.  รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร
       4.  จำนวนเงินทั้ง  ตัวเลข  และตัวอักษร
       5.  ลายมือชื่อผู้รับเงิน

ถ้าไม่สามารถเขียนใบเสร็จรับเงินได้ ให้ใช้ใบสำคัญรับเงิน  เพื่อเป็นหลักฐานการจ่าย
- จ่ายแล้วได้ใบเสร็จไม่ครบทุกรายการ ให้ทำใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินเบิกและทำใบสำคัญรับเงินและลงชื่อในใบสำคัญรับเงิน
- ถ้าใบเสร็จหาย ให้ใช้สำเนาใบเสร็จมาเบิกแทนได้โดยการให้ผู้รับเงินรับรองเป็นเอกสารเป็นการเบิกแทน หรือ
หากไม่สามารถหาสำเนาได้ ให้ใช้ใบรับรองการจ่ายเงินแทนก็ได้  โดยให้ผู้ขอเบิกลงลายมือชื่อรับรองการจ่ายเงินแทน-- หากหลักฐานการจ่ายผิดต้องแก้ไขโดยวิธีการขีดฆ่าแล้วเขียนใหม่และให้ผู้รับเงินลงนามกำกับชื่อทุกแห่ง

วิธีปฏิบัติในการจ่ายเงิน
                   หลักการคือ การจ่ายเงินให้จ่ายเป็นเช็ค 
ยกเว้น 3 รายการต่อไปนี้สามารถจ่ายเป็นเงินสดได้
1.     เงินทดรองราชการซึ่งเก็บไว้เป็นเงินสด  หรือ
2.     การจ่ายเงินให้แก่ข้าราชการ  ลูกจ้าง  พนักงานราชการ  ผู้รับบำนาญหรือเบี้ยหวัด  หรือ
3.     การจ่ายเงินที่มีวงเงินต่ำกว่าห้าพันบาท ( กรณีนี้หากจ่ายเป็นเช็คสามารถจ่ายเช็คในนามเจ้าหน้าที่การเงินแล้วเบิกเป็นเงินสดไปจ่ายให้ผู้มีสิทธิได้ )

การเขียนเช็คให้ปฏิบัติดังนี้
                   1. การจ่ายให้เจ้าหนี้หรือผู้ที่รับเงินในกรณีซื้อทรัพย์สินจ้างทำของ หรือเช่าทรัพย์สินให้สั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิ   รับเงิน  ให้ขีดฆ่าคำว่า  หรือผู้ถือ  และขีดคร่อมด้วย
                   2. การจ่ายเช็คให้กับผู้รับเงินนอกจากกรณีตาม ข้อ (1)    ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้  หรือผู้มีสิทธิ์รับเงิน
                   3. ในกรณีสั่งจ่ายเงินเพื่อขอรับเงินมาจ่ายให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหน้าที่การเงินของส่วนราชการและขีดฆ่าคำว่า หรือ ผู้ถือออก  ห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเป็นเงินสด ห้ามลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คไว้ล่วงหน้าโดยยังมิได้มีการเขียนหรือพิมพ์ชื่อผู้รับเงิน  วันที่ออกเช็คและจำนวนเงินที่สั่งจ่าย
                   4. การเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินในเช็คที่เป็นตัวเลขและตัวอักษร  ให้เขียนหรือพิมพ์ชิดเส้นและชิดคำว่าบาท หรือขีดเส้นหน้าจำนวนตัวเลขและตัวอักษรโดยไม่มีช่องว่างให้เติมได้  และให้ขีดเส้นหลัง  ชื่อ - สกุล  ชื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือผู้ถือ โดยมิให้ มีการเขียนชื่อบุคคลอื่นเติมได้

การจ่ายเงินยืม
-  รูปแบบของสัญญายืมเงิน  สัญญาวางหลักทรัพย์และสัญญาค้ำประกัน  เป็นไปตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด
-  มีผู้อนุมัติจ่ายเงินยืม
-  การจ่ายเงินยืมจ่ายได้เฉพาะผู้ยืม  และมีผู้อนุมัติจ่ายหรือมอบฉันทะ
-  ให้ยืมเท่าที่จำเป็นและห้ามยืมซ้ำราย
n  เงินนอกงบประมาณให้ยืมได้ตามวัตถุประสงค์ของเงินนอกงบประมาณประเภทนั้น หรือกรณีอื่นซึ่งจำเป็นและเร่งด่วนแก่ราชการและได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจ
n  สัญญาต้องทำ 2 ฉบับ
n  ถ้ายืมคาบเกี่ยวปีงบประมาณให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของปีงบประมาณที่ยืม
n  ค่าใช้จ่ายเดินทางคาบเกี่ยวได้ 90 วัน

รายการที่สามารถจ่ายเป็นเงินยืมได้
การจ่ายเงินยืมทำได้เฉพาะงบรายจ่ายดังต่อไปนี้
1. รายการค่าจ้างชั่วคราว
2. รายการค่าตอบแทน ใช้สอย และค่าวัสดุ
3. รายการค่าสาธารณูปโภค ยืมได้เฉพาะค่าไปรษณีย์โทรเลข
4. งบกลางเฉพาะ 4.1 สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร หรือ 4.2 เงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวสำหรับลูกจ้างชั่วคราวซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นงวดแน่นอน
                   ( ข้อสังเกต เหตุผลที่ค่ารักษาพยาบาลไม่สามารถยืมได้ เพราะไม่สามารถทราบจำนวนที่แน่นอนในแต่ละครั้ง ส่วน สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร และ เงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวสำหรับลูกจ้างชั่วคราว นั้นมีระเบียบกำหนดจำนวนที่จ้องจ่ายชัดเจนอยู่แล้ว ว่าเป็นจำนวนเท่าใด)
5. งบรายจ่ายอื่นที่จ่ายลักษณะเดียวกันกับ (1) (2) หรือ (3)
  -  การจ่ายเงินยืมในราชอาณาจักรในการเดินทางไปราชการต้องไม่เกิน 90 วัน ถ้าเกินต้องขอตกลงกระทรวงการคลัง

การยืมเงินคาบเกี่ยวระหว่างปีงบประมาณ
                   เงินงบประมาณปลายปีงบประมาณก่อน ถูกยืมคาบเกี่ยวไปต้นปีงบประมาณใหม่ สามารถยืมเงินงบประมาณปีก่อน คาบเกี่ยวไปปีงบประมาณใหม่ ได้ไม่เกิน 90 วัน ( ไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม ของปีถัดไป )

การคืนเงินโดยทั่วไปต้องคืนภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับเงิน
แต่การยืมเงินไปราชการชั่วคราว ต้อง คืนภายใน 15 วัน นับจากวันที่กลับมาถึง
กำหนดการส่งใช้เงินยืม
  1. เดินทางไปประจำต่างสำนักงาน  คืนภายใน  30  วันนับจากวันที่ได้รับเงิน
2.  ไปราชการชั่วคราว อื่นๆ เช่น ไปฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ต้องคืนภายใน 15 วัน นับจากวันที่กลับมาถึง
3.  นอกจาก 1 หรือ 2 ให้ส่งเอกสารแก่ส่วนราชการผู้ให้ยืมภายใน 30 วัน นับจากวันได้รับเงิน

การยืมเงินไปราชการ
                   ผู้เดินทางเป็นผู้ยืมหากเดินทางไปหลายคนไปร่วมกัน ผู้ใดผู้หนึ่งในคณะสามารถยืมแทนกันได้
การเขียนรายงานการเดินทาง ให้ผู้ยืมเงินเป็นผู้เขียนรายงานการเดินทาง แม้ว่าผู้ยืมจะไม่ใช่หัวหน้าคณะก็ตาม
                  
 รับคืนใบสำคัญเพื่อล้างหนี้
n  ออกใบรับใบสำคัญ / ใบเสร็จรับเงิน  ( รายละเอียดตามรายการด้านหลังใบยืมเงิน)
n  หากชำระล่าช้า ผู้อนุมัติต้องติดตามให้ปฏิบัติตามสัญญาภายใน 30 วัน นับจากวันครบกำหนด
ถ้าปฏิบัติตามระเบียบไม่ได้ ให้พิจารณาสั่งการบังคับตามสัญญายืมเงิน เช่น หักเงินเดือน รายได้อื่นของเขา เป็นต้น
กรณีให้บุคคลอื่นยืม ต้องมีหลักประกันการยืมเงิน


คำถาม : ผู้ยืมไม่คืนเงินตามกำหนดเวลา
หลักการให้ปฏิบัติดังนี้ 1. เจ้าหน้าที่การเงินทำเอกสารทวงถามผู้ยืมให้คืนภายใน 15  วัน
2.     ทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา ขอหักเงิน ของผู้ยืมตามสัญญา
3.     หากยังไม่ชดใช้ อีก ให้ผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่ ดำเนินการทางวินัย
การรับเงินของส่วนราชการ
ใบเสร็จรับเงิน
- ใบเสร็จรับเงิน ให้ใช้ตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด
-  ต้องทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน
- ใบเสร็จรับเงินให้ใช้เฉพาะในปีงบประมาณ
-  ให้จัดทำรายงานการใช้ใบเสร็จประจำปีงบประมาณ
-  ห้ามขูดลบแก้ไขเพิ่มเติม  จำนวนเงิน / ชื่อผู้ชำระเงิน
-  เก็บรักษาใบเสร็จไว้ในที่ปลอดภัย
n  ให้รับเป็นเงินสด เว้นแต่การรับเป็นเช็ค  ดร๊าฟ  หรือ วิธีการอื่นตามกระทรวงการคลังกำหนด
n  ต้องออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่รับเงิน
n  ให้บันทึกข้อมูลรับเงินในระบบ ภายในวันที่รับเช็ค
n  หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรตรวจสอบจำนวนที่จัดเก็บและหลักฐานที่บันทึกไว้ในระบบ
- ใบเสร็จรับเงินสูญหาย ให้ส่วนราชการแจ้งหาย แล้วทำหนังสือแจ้งเวียนส่วนราชการต่างๆทราบ

การเก็บรักษาเงินของส่วนราชการ
-  ให้เก็บเงินในตู้นิรภัย
-  ให้แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน
-  ให้จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน

การนำเงินส่งคลังและฝากคลัง     
-  เงินเบิกจากคลัง  หากจ่ายไม่หมดต้องคืนคลังภายในสิบห้าวัน  ทำการนับจากวันรับเงินจากคลัง
-  นำส่งเงินเหลือจ่าย  ภายในปีงบประมาณ / ก่อนสิ้นระยะเวลาเป็นเงินเบิกเกินส่งคืน  หากส่งหลังเป็นเงินรายได้แผ่นดิน

การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
-  กันเงินแบบมีหนี้ผูกพัน  กันได้ 6 เดือน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ
-  กันเงินแบบไม่มีหนี้ผูกพัน  ให้ตกลงคลังเมื่อได้รับอนุมัติแล้วกันเงินได้
-  การขอกันเงินต้องดำเนินการก่อนสิ้นปีงบประมาณ

การควบคุมและตรวจสอบ
-  ให้บันทึกบัญชีตามแบบระบบบัญชีของส่วนราชการ
-  ให้จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวันทุกวัน  ตามแบบกรมบัญชีกลางกำหนด
-  ให้อำนวยความสะดวกในการที่ สตง.  และผู้ตรวจสอบภายใน
-  หากส่วนราชการใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม  หรือผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสั่งการโดยด่วน
-  หากปรากฏว่าเงินขาดบัญชีให้หัวหน้าส่วนราชการ / ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานกระทรวงเจ้าสังกัดทราบ  และดำเนินการสอบสวนหาผู้กระทำผิด  ทางละเมิดหรือความผิดทางอาญาแผ่นดินให้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด







นี่คือ นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ผู้อนุญาตให้คณะของเรา เข้ารับการอบรม ครับ


No comments:

Post a Comment