3/26/15

13 มีค.2558 ประชุมวิชาการงานวิจัยยาเสพติด ครั้งที่ 5

13 มีค.2558 ประชุมวิชาการงานวิจัยยาเสพติด ครั้งที่ 5
                   วันที่ 13 มีนาคม 2558  วันนี้ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง  เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนางานวิจัยยาเสพติด ครั้งที่ 5 ตามโครงการบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด จังหวัดยโสธร ณ ห้องประชุม 3 โรงพยาบาลยโสธร
วิทยากร โดย ดร.มนพ คณะโต ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทน์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น



            ต่อไปนี้ คือ บันทึก เตือความจำ ของข้าพเจ้า ในขณะรับฟังการบรรยายครับ
... อาจจะไม่สามารถใช้อ้างอิงได้อย่างสมบูณ์แบบครับ
ในการวิจัยเชิงคุณภาพ      
            ต้องตรวจสอบให้ได้ว่าข้อมูลที่ได้ อยู่ใกล้ความจริงแค่ไหน
การตรวจสอบ 3 เส้า ( Triangulation )
คือการพยายามหาว่า ความจริง อยู่ตรงไหน
            เป็นการตรวจสอบข้อมูลจากหลายกรณี ในประเด็นเดียวกัน
สรุปขั้นตอนในการทำเอกสารงานวิจัย
1.     เลือกหัวข้อวิจัย
2.     ทบทวนวรรณกรรม
3.     คำถามวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย
4.     วิธีการวิจัย
5.     แผนการวิจัย
6.     งบประมาณ
7.     แผนบริหารและใช้ประโยชน์
8.     ข้อเสนอวิจัย

หัวข้อวิจัย          TOPIC  บางคนใช้ PICO
            ต้องมีอน่างน้อย  2 หัว ข้อ คือ Population และ Outcome
T          Type ประเด็นสำคัญในหัวข้อวิจัย
O         Outcome ผลลัพท์สำคัญ
P          Population กลุ่มเป้าหมาย
I          Intervention/Risk มาตรการแทรกแซง/ปัจจัยเสี่ยง
C          Comparison กลุ่มเปรียบเทียบ

ชื่อเรื่องก็จะสามารถบอก TOPIC ได้
เช่น ชื่อเรื่อง ผลของการบำบัดภาวะซึมเศร้า ของผู้ป่วยที่เข้ารักษายาเสพติด ณ รพ.ค้อวัง
Population คือ ผู้ที่เข้ารักษายาเสพติด ณ รพ.ค้อวัง 100 คน
                        คนที่เดินเข้ามา     ใช้แบบคัดกรอง ภาวะ ซึมเศร้า 
คัดกรองแล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ  กลุ่มที่ มีภาวะ ซึมเศร้า     20 คน
กลุ่มที่ ไม่มีมีภาวะ ซึมเศร้า 80 คน
ใส่ Intervention  คือ        การให้คำปรึกษา และการเข้ากลุ่ม  ไป ระยะ หนึ่ง  เสร็จแล้ว
อยากรู้ ว่า ใส่ Intervention  แล้ว มีผล เป็นอย่างไร ในทั้ง 2 กลุ่ม ก็วัด อีกครั้งว่า เศร้าน้อยลงหรือไม่ ในแต่ละกลุ่ม
แต่ ถ้าจะให้ดี ต้องมีกลุ่มเปรียบเทียบ คือ ผู้ป่วยที่เข้ารักษายาเสพติด ณ รพ.ค้อวัง
แต่ไม่ได้ใส่ Intervention ใดๆ เลย  แล้ว วัดเปรียบเทียบ กับ กลุ่มแรก
การทบทวนวรรณกรรม
            ทบทวนเพื่อนำไปสู คำถามการวิจัย ให้ทราบว่า ตกลงแล้ว
1. เรายังขาดอะไร
เช่นเรายังไม่รู้ ว่า ในพื้นที่เรา มี คนดื่มสุรา เสพยา เท่าไร
ในความไม่รู้นี้ มัน
2. มีผลเสียอย่างไร เช่น สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ
            (ในระดับประเทศไทย เคยสำรวจ คาดคะเน ครั้งสุดท้าย ในปี 2554)
คำที่ไม่แนะนำ ในการเขียนสรุป คือ นักวิจัยจึงสนใจ....
            ควรสรุปให้ได้ เช่น สาธารณะยังไม่มีความรู้ ... จึงต้องทำ ...
(ในส่วนนี้ หากเป็นการพิจารณษทุนวิจัย ให้พิจารณา น้ำหนักคะแนนร้อยละ 25 )
           
ทบทวน เนื้อหา
ทบทวน งานวิจัย ที่คนเคยทำมา มี ...

            ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา 95 % คนใช้ยาเสพติด มีอายุระหว่าง 12-65 ปี
แต่ในปัจจุบัน มีแนวโน้ม เสพยาเสพติด ในช่วงอายุ น้อยลงเรื่อยๆ
            ควรสำรวจตั้งแต่อายุ 10 ปี ขึ้นไป

คำถาม การศึกษาการใช้สารเสพติด 3 ระดับ
ในช่วงชีวิต เคยใช้  แม้ว่าครั้งใด ครั้งหนึ่งในชีวิต ก็นับว่าเคย  จะรู้ exposer
ในปีที่ผ่านมา ย้อนหลังไป 365         วัน
ในเดือนที่ผ่านมา ย้อนหลังไป 30     วัน
อย่าลืม นิยาม คำว่าใช้       คืออะไร
           
คำถามวิจัย ( Research Question)
            องค์ความรู้ที่ขาดหายไป ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความอยากรู้ได้ เรียกว่า คำถามวิจัย
เช่น
            ปชก.kkk ใช้สารยาเสพติด มากน้อยแค่ไหน ไม่มีใครตอบได้

หมายเหตุ
ควรศึกษา เช่น Satior ในกลุ่ม เสพ เปรียบเทียบ กบกลุ่ม ติด กลุ่มไหน จะ work กว่ากัน


การวิจัยเชิงทดลอง สามารถ ใช้วิธีการเก็บข้อมูล หลายวิธีได้

ตัวอย่าง  
ตัวอย่าง ที่เพียงพอ          
ตัวอย่าง ที่เป็นตัวแทน       

ตัวอย่าง ที่เพียงพอ ใช้ สูตรในการคำนวณ
ตัวอย่าง ที่เป็นตัวแทน       
            จัดเรียง Sampling Flame เช่น จะเรียงตามอายุ หือ จะเรียง ตาม ....
วิธีการที่ น่าเชื่อถือ ของตัวอย่างจะเป็นตัวแทนคือ การสุ่มแบบ probity sampling

การคำนวณตัวอย่าง โดย WinPePi                      Program
แนะนำให้ การคำนวณตัวอย่าง โดย WinPePi              Program
Descriptive        ใช้         Describe           
Analyze             ใช้         Compare2 
           
การจัดเก็บข้อมูล
            ผู้ช่วยนักวิจัย โดย ประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น
นักเรียนมัธยมศึกษา ชั้น ปี ที่มัธยมศึกษา ชั้น ปี ที่ 6 เป็นต้น
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ใช้ได้ในกรณี ที่ไม่ยาก
ข้อจำกัด นักเรียนมัธยม อาจมีข้อจำกัดเรื่องความรับผิดชอบ
            อสม. ใช้ได้ ในกรณี ที่ เป็นเรื่องไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน
หรือ      ในโรงเรียน สามารถ ใช้นักเรียนมัธยม ได้

            ในชุมชน ใช้ ผู้นำชุมชนได้ เป็นต้น  

No comments:

Post a Comment