9/29/15

11 กย.2558 ประชุมผู้รับผิดชอบงานบริหารงานบุคคล_สาธารณสุขยโสธร

11 กย.2558 ประชุมผู้รับผิดชอบงานบริหารงานบุคคล_สาธารณสุขยโสธร
วันที่ 11 กันยายน 2558 วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  เข้าร่วมประชุมไปพร้อมกับ และคณะ จากผู้รับผิดชอบงานบริหารงานบุคคล_หน่วยงานในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ห้องประชุม ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธร
ประธานในงาน โดย นายสุชาติ ไชยสัจ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
วิทยากร โดย นายทองคำ ศรีเนตร หัวหน้างานบุคลากร  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร และคณะ
สรุปสาระสำคัญการประชุม
การประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่อพิจารณาเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ รอบ ๑ ตุลาคม  ๒๕๕๘
๑.      ให้หน่วยงานในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ทุกหน่วย ส่งไฟล์และเอกสารประกอบการเสนอประกอบการเลื่อนเงินเดือนให้กับข้าราชการในสังกัด รอบ ๑ ตุลาคม  ๒๕๕๘ ภายในวันที่ ๒๔กันยายน ๒๕๕๘
๒.      รหัส 4444 ( เลข 4 จำนวน 4 ตัว )
๓.      ข้อเสนอแนะ หาก มีเต็มขั้น ( เศษ ค่าตอบแทน ต้องไม่ปัดเป็น 10 )
การประเมินผลการปฏิบัติงานและการปรับค่าจ้าง พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี  ๒๕๕๘
๑.      การประเมิน พกส. หลักการ คือเหมือนข้าราชการ คือ ประเมิน ๒ รอบ และองค์ประกอบและรูปแบบเหมือนข้าราชการ มีข้อแตกต่างคือ ร้อยละ พกส. ระดับ ดี เริ่มที่ ร้อยละ ๖๕
(เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๕ ในทุกระดับ ทั้งดีมาก ดีเด่น )
๒.      เม็ดเงิน จัดสรรร้อยละ ๓ ในเฉพาะบุคคล เลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ ๖
๓.      ตัวเลขเงินเดือน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร จะส่งไฟล์ ให้ โดยเป็นเม็ดเงินตามจำนวนที่ปฏิบัติงานจริง ซึ่ง สสจ.ยส.จะส่งไฟล์ ให้กับ ทุกส่วนต่อไป
๔.     ร้อยละการประเมิน ให้ใช้ร้อยละรวมทั้ง ๒ รอบการประเมิน

การปรับค่าจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มีอัตราค่าจ้างถึงบัญชีขั้นต่ำ   รหัส  1 ตัวเดียว
๑.      ให้ใช้การประเมินผลการปฏิบัติงานในรอบปี จำนวน ๒ ครั้ง และ นโยบาย การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ
มาพิจารณาประกอบการเลื่อนค่าจ้างด้วย
๒.      หลักเกณฑ์ การประเมินผลในรอบปี จำนวนเม็ดเงินการปรับร้อยละ ๓ การเลื่อนเฉพาะบุคคล
ให้เลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ ๖   
๓.      ให้คำนึงถึง เงินบำรุง และผลประเมินผลการปฏิบัติงานในรอบปี ร้อยละ ๓ คณะกรรมการอาจพิจารณา ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ตามนโยบายได้อีก ทั้งนี้ รวมแล้ว แต่ละบุคคล ต้องไม่เกินร้อยละ ๖
๔.     สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว มี พกส.จำนวน 42 คน ยังไม่ถึงขั้นต่ำ จำนวน 29 คน
(รวมทั้ง พกส.ที่หน่วยบริการอื่นๆ มา ใช้เลขตำแหน่ง ใน รพ.สต.ในเขต อ.คำเขื่อนแก้ว)
แนวทางการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ให้พิจารณาถึงเงินบำรุงด้วย
( ให้เพิ่มร้อยละ 1 ทุกคนเท่ากัน)
ข้อด้อยของ พกส.คือ ปัจจุบัน กพ.ไม่นับระยะเวลาเกื้อกูล การนับตำแหน่งสายวิชาชีพ
แต่ในอนาคต กพ.อาจจะพิจารณานับระยะเวลาเกื้อกูลได้ เพราะ พกส.ทั่วประเทศ 40,000 คน
ข้อพึงระวัง คือ หาก ลาออก จาก พกส.แล้ว จะสมัครเข้ามา เป็นสถานะ พกส.อีก จะมีกระบวนการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน 

การปรับค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว
หลักเกณฑ์ การประเมินผลในรอบปี จำนวน ๒ ครั้ง เหมือน พกส.
จำนวนเม็ดเงินการปรับร้อยละ ๔ การเลื่อนเฉพาะบุคคล ให้เลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ ๖ 

การบรรจุตำแหน่ง จพ.สาธารณสุขชุมชน
ปัจจุบัน วุฒิการศึกษาที่ใช้ในการบรรจุตำแหน่ง จพ.สาธารณสุขชุมชน
บรรจุจาก ผู้ที่สำเร็จการศึกษา 3 หลักสูตร คือ
๑. ประกาศนียบัตร สาธารณสุขุมชน  
๒. ประกาศนียบัตร เวชกิจฉุกเฉิน
๓. ประกาศนียบัตร อายุรเวท/แพทย์แผนไทย

การจัดตั้งกองทุนเลี้ยงชีพพนักงานกระทรวงสาธารณสุข
๑.      หลักการคือการสมัครเข้ากองทุนเลี้ยงชีพ พกส.ให้เป็นไปโดยสมัครใจ
นำส่งเงินเข้ากองทุนเลี้ยงชีพพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ภายใน 3 วัน
(ทั้งจาก พกส.และ ร้อยละ ๒ จากส่วนของ นายจ้าง)
๒.      แนวทางปฏิบัติ ให้คณะกรรมการแต่ละอำเภอ หาแนวทาง ให้ พกส.ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด

ตามหลักระเบียบ หลักเกณฑ์ ที่กำหนด อาจจะบริหารร่วมกันในภาพรวมของอำเภอก็ได้ เช่น มีศูนย์กลางนำส่งในระดับ คปสอ. หรือ การหักจ่ายเงินล่วงหน้าไว้ก่อนเป็นรายเดือน เป็นต้น

No comments:

Post a Comment