2/28/16

21กพ2559สีสุกไม่ใช่ศรีสุข_พ่อถวิล จันทร์สว่าง 77 ปี_เล่าประวัติ@บ้านสีสุก จ.ยโสธร

21กพ2559สีสุกไม่ใช่ศรีสุข_พ่อถวิล จันทร์สว่าง 77 ปี_เล่าประวัติ@บ้านสีสุก จ.ยโสธร
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2559  ผมนายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ครอบครัว จันทร์สว่าง พร้อมด้วย ญาติๆ  ร่วมงาน รวมญาติ รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน ในบรรยากาศ ครอบครัว จันทร์สว่าง อันอบอุ่น เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 7ปี คุณพ่อถวิล จันทร์สว่าง ณ บ้านสีสุก ตำบลดู่ลาด อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
            มี บุตร หลาน ญาติ ๆ ให้เกียรติมาร่วมงาน อย่างอบอุ่น
ปี 2519 ร่วมกับทางการ สร้างฝายเก็บน้ำประจำหมู่บ้าน ( เมื่อก่อน หนองน้ำนี้คือ ดอนปู่ตา ประจำหมู่บ้าน)
            รัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ออกนโยบาย เงินผัน หรือ กสช.หรือ การสร้างงานในชนบท ใช้แรงงานในชุมชน ขุดลอกดิน เป็น ลูกบาศก์เมตร กว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร ยาว 1 เมตร ชาวบ้าน ทั้งหมู่บ้าน ช่วยกันขุดได้ค่าตอบแทน คิวละ 15 บาท ( ความจริงรัฐบาลสมัยยั้น จัดสรร มา คิวละ 18 บาท  เพราะ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์
มี  สส.พรรคกิจสังคม 18 เสียง สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ในปี 2518 จึงออกนโยบายเงินผัน 18 บาท)
            ครอบครัวพ่อ ก้ได้เงิน สร้างครอบครัว จากโครงการนี้ เพราะ ทั้งพ่อ แม่ ลูกๆ ช่วยกันขุดดินกัน ลูกคนโต ได้จักรยานสแตนดาร์ด ขี่ไปเรียนหนังสือ ซึ่งต่อมาก็ได้ใช้กัน จนถึง อัยการอินทราพร ) ลูกสาวคนโต ก็ได้ วิทยุธานินทร์ ฟังเพลง ฟังนิยายได้ สมัยนั้น นิยมฟังนิยาย คณะเกษทิพย์ นักร้อง สายัณห์ สัญญา พุ่มพวง วงจันทร์ หมอลำ พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย
ปี 2520 ร่วมกับชาวบ้านสีสุก ตัดถนน รอบๆหมู่บ้าน ( เมื่อก่อน หมู่บ้านของเรา มีกอไผ่ ล้อมรอบหมู่บ้าน กอไผ่บ้าน หรือ ไม้ไผ่ใหญ่ บรรพบุรุษ ที่มาก่อตั้งหมู่บ้านน ปลูกไว้เป็นแนวรั้วป้อกันภัย ให้กับหมู่บ้าน เมื่อถุง ฤดูใบไม้ผลิ  หรือหน้าหนาว หน้าแล้ง กอไผ่จะสุกเหลือง รอบๆ หมู่บ้าน จึงได้นามหมู่บ้าน สีสุก  ไม่ใช่ศรีสุข  สีสุก คือ สีสุกเหลือง ของไม้ไผ่ นั่นเอง มาเป็น นามหมู่บ้าน จนถึงปัจจุบัน )
เมื่อปี พ.ศ. 2524 ปีนั้น พ่อ ได้สมทบบุญ สร้างบันไดทางขึ้น โบสถ์ วัดบ้านสีสุก หลังนี้ เพื่อ เป็นสถานที่เก็บ อัฎฐิ ให้กับ พ่อ หมานิน จันทร์สว่าง และ ภรรยา แม่ สมร จันทร์สว่าง คู่กัน สมทบบุญ สร้างสิงห์ ทางขึ้นบันได ด้วย วงเงิน 12,000 บาท ( ข้างละ 6,000 บาท ) สมัย เมื่อ 30 กว่าปี สมัยนั้น  ก็ถือว่าสูงมากพอสมควร เปรียบเทียบ เงินเดือน ผู้อำนวยการโรงเรียน หือ ครูใหญ่ ไพรินทร์ กล้าหาญ จบปริญญาตรี 2,675 บาท ครูหอมหวล กาลจักร ได้ไม่ถึง ครูใหญ่ด้วยซ้ำไป
เมื่อปี พ.ศ. 2526-2532  เมื่อครั้ง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ในสภาตำบลดู่ลาด ร่วมกับกำนัน สร้อย ทองไชย ผู้ใหญ่บ้าน อินตา จันทร์สว่าง  ผู้ใหญ่บ้าน ผาย จันทร์สว่าง  และ ผู้ใหญ่บ้าน วิชิต สามาอาพัฒน์ พัฒนาตำบล ตัดถนนเชื่อมรระหว่างหมู่บ้านหลายเส้น อาทิเช่น
ส้นทาง  ระหว่างบ้าน สีสุก กับบ้าน เสาเล้า
เส้นทาง ระหว่างบ้านโสกผักหวาน กับบ้าน เสาเล้า ( เส้นหนองม่วง)
เส้นทางระหว่างบ้าน โคกกลาง หรือบ้านล่ามแขก กับบ้าน เสาเล้า
เส้นทางระหว่างบ้าน สีสุก กับบ้าน ม่วงใหญ่  
เส้นทางระหว่างบ้าน ลาดเก่า กับบ้าน สีสุก เป็นต้น  
และได้วางแผนงานเอาไว้ อีก 2 เส้นสำคัญคือ
เส้นทางระหว่างบ้าน บ้าน สีสุก กับบ้าน เกี้ยงใหม่ หรือบ้านโพนงาม และ   
เส้นทางระหว่างบ้านสีสุก กับบ้าน หนองลาดควาย เป็นต้น  
ปี 2526 ก็ ร่วมกับชาวบ้าน สร้างสถานีอนามัย บ้านสีสุก มี หมอประสาท สาวะพันธ์ มาทำงานเป็นคนแรก
ต่อด้วย หมอค่อม ชุมพล มูลสาร
ปี พ.ศ. 2530 ร่วมกับทางการ นำไฟฟ้า เข้าหมู่บ้าน ถือเป็นจุดเริ่มการพัฒนาหมู่บ้านสมัยใหม่
บุญกฐิณ ก็ได้ทำให้ ทั้ง ปู่หมานิน จันทร์สว่าง ย่าบุญเสน จันทร์สว่าง 
แม่ยาย กอง จันทร์สว่าง พ่อตา เฉย ศรีวิเศษ
ปี 2532 ก็ทำบุญกฐิน ให้กับ ภรรยา สมร จันทร์สว่าง ถือว่า ไม่มีห่วงอะไรแล้ว
ปี 2535 ร่วมกับชาวบ้านสีสุก สร้าง ฉางข้าวของหมู่บ้าน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ใครไม่มีข้าวก็มา ขอกู้ข้าวไปกินก่อน ทำนาเสร็จ ก็นำข้าวมาคืน พร้อมข้าวส่วนเพิ่ม (ดอกเบี้ย) ซึ่งทำให้พัฒนาไปเรื่อย และ สร้างโรงสีชุมชน เป็นสมบัติสม่วนรวม จนยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน   
ปี 2540 เขา ยุบ สภาตำบลเป็น อบต. พ่อ ก็ร่วมกับชาวบ้านสีสุก ผลักดัน ให้ มาตั้ง อบต. ที่ บ้านสีสุกเรา ข้างสถานีอนามัย  แต่ ปัจจุบัน ได้ย้ายไป ถนนสายหลัก ระหว่างบ้านโสกผักหวานกับบ้านลาดเก่าแล้ว
ปี พ.ศ. 2549 ที่วัด บ้านสีสุก โฮงหดพระ เวลา จะทำบุญ หด (รดน้ำพระที่จะได้เป็น จารย์ ) ต้องผ่านพิธีกรรมการหด หรือ รดน้ำ ผ่านรางน้ำ ที่ทำจากไม้เหลื่อม (เหลื่อมคือชื่ต้นไม้ชนิดหนึ่ง) พ่อก็ได้ทำไว้ ซึ่งได้ใช้งานจนถึงปัจจุบัน
28 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ร่วมกับ ชาวบ้านบ้านสีสุก และคณะครู ผอ.ประจิตร ผุดผ่อง สมัย ผู้ใหญ่ วีระ ชายทวีป สร้าง เสาธง โรงเรียนบ้านสีสุก
ร้านค้า สหการณ์ เป็นอีกความภูมิใจ ที่พ่อ ได้ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านสีสุกได้ก่อตั้งขึ้น  เริ่มจาก ใช้สถานที่ ใต้ถุนบ้านของพ่อเอง เมื่อ มีความมั่นคงแล้ว จึงย้ายสถานที่ไป ศาลากลางบ้าน จนถึงปัจจุบัน ( สมัย ผู้ใหญ่บ้าน วีระ ชายทวีป และผู้ใหญ่บ้าน สุริยา เหมือนทอง)
ศาลากลางบ้าน จากศาลาไม้ เป็นศาลาหลังคาเหล็กในปัจจุบัน
ศาลหลักบ้าน ที่ไม่เคยมีมาก่อน พ่อ กับลุงครูไพรินทร์ กล้าหาญ ร่วมกับชาวบ้าน ได้ผลักดันให้จนสำเร็จ ในสมัยนี้ ที่มี ผู้ใหญ่บ้าน สุริยา เหมือนทองแก่นไม้หลักบ้านทำด้วยไม้พยุง ที่ ผ่านพิธีกรรม สวด ตลอดเวลา 3 เดือน จาก พระ บ้านหนองแคน ตำบลหนองหมี ซึ่งเมื่อมาตั้งหลักบ้านเมื่อปี 2557 พระท่านก็ได้มาทำพิธีให้จนเสร็จ  วันเดือนปี ก็ให้จารึกไว้ด้วย เพื่อให้ลูกหลานได้จดจำต่อไป
ศาลาวัดหลังปัจจุบัน พ่อได้ สมทบทุน สร้างบันไดทางขึ้น อุทิศเป็น พุทธกุศล สำหรับสืบทอดพระพุทธศาสนาร่วมกับชาวบ้านบ้านสีสุกและบ้านใกล้เรือนเคียง
หลังจากนั้น ลูกๆ  และ คณะผู้นำ โดย นายอำเภอ ครรชิต ดีหนองยาง จึงได้ เสนอ อ ให้ไปรับรางวัล พ่อดีเด่น หรื พ่อตัวอย่าง แห่งชาติ เมื่อ ปี 2553
ลูกๆ ก็ ถือว่าช่วยตนเองได้ กันทุกคน เป็น พ่อค้า มีบ้าน ที่กรุงเทพ ก็มี พ่อบักก้อง น้องเบ็นซ์ )
หลานๆ ก็ได้ทำงานกันหลายคน กฤษณะ เป็นวิศวกร โยธา อ้อม เป็น พยาบาล ที่กรุงเทพ น้อง เป็น พยาบาลที่กรุงเทพ ครูนก สอนที่ กุดชุมวิทยาคม ที่เหลือ ก็กำลังเรียน ใกล้จะจบก็หลายคน
ป้าน นักบิน อวกาศ นี่ เพียรเพ็ญ เป็นคน ออกแบบ ใช้ภาพจาก เมื่อ เพียร ภูมิ พาปู่ ไปเที่ยวประเทศ สิงคโปร์ เมื่อ ต้นเดือนนี้ มาทำป้ายวันเกิดให้ปู่
เหลน กำลังจะได้ คนแรก คือ ลูก ของ กฤษณะ กำลังท้อง ที่ อยุทธยา
ก็ภูมิใจ แต่ภูมิใจมาก คือ ลูกๆ ทุกคน มีความรัก สมัครสมานสามัคคีกัน ลูก หลาน ไม่มีใครออกนอกลู่ นอกทาง ปัจจุบัน พ่อมี หลาน 17 คนแล้ว คนที่ 18 ลูก ของ อัยการ ทร กำลังจะเกิด เร็วๆ นี้ ตั้งชื่อไว้แล้ว บัก ภูผา

เป็น ส่วนหนึ่ง เรื่องเล่า เรื่อง ราว ที่พ่อ ถวิล จันทร์สว่าง ภูมิใจ นำเสนอ ให้กับ ลูกๆ เนื่องในโอกาส ครบรอบ 77 ปี ประจำปีนี้

หมายเหตุ พ่อถวิล จันทร์สว่าง ได้รับเกียรติสูงสุด โดย ได้รับโล่รางวัล พ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี 2553
รายละเอียด

ทั้งนี้ ชาวบ้านสีสุก ผู้ที่มี ข้อมูล ประกอบ หรือ ภาพประกอบ เรื่องราวที่พ่อถวิล จันทร์สว่าง ได้นำเสนอไว้นี้ สามารถ ส่งข้อมูล ข้อ คิดเห็นได้ ให้ถูกต้อง เหมาะสม ต่อไป ที่นี่ หรือ ptjsw@hotmail.com




































































No comments:

Post a Comment