7/25/17

20 ก.ค.2560_คปสอ.คำเขื่อนแก้ว เน้น พัฒนาสุขภาพกายจิต คนทำงาน ให้มีความสุข MOPH

20 ก.ค.2560_คปสอ.คำเขื่อนแก้ว เน้น พัฒนาสุขภาพกายจิต คนทำงาน ให้มีความสุข MOPH 
            วันที่ 20 กรกฎาคม 2560 ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  และคณะ เข้าร่วม ประชุม คณะกรรมการ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว ณ ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุข อำเภอคำเขื่อนแก้ว
              ประธานการประชุม นายชำนาญ มาลัย สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
ทั้งนี้ พญ.ธิดารัตน์ จิตรมาส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว นำคณะ จาก โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
เข้าร่วมประชม โดยพร้อมเพรียงกัน 
                   เนื้อหาการประชุม อาทิเช่น











ประธานแจ้งให้ทราบ
            เรื่องที่ 1. ขอบคุณทุกท่าน ที่ร่วมกัน ในกิจกรรมการประเมิน รพ.สต.ดีเด่น วันที่ 21 มิถุนายน 2560
ณ รพ.สต.นาแก
            เรื่องที่ 3. การปั่นจักรยาน  วันที่ 26 กรกฎาคม 2560 ณ สวนสาธารณะพญาแถน จังหวัดยโสธร
รับคณะจาก รอยต่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
เรื่องที่ 3. การบริจาคโลหิต  วันที่ 26 กรกฎาคม 2560 ณ หอประชุม ๑๐๐ ปี อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ให้เชิญชวน ประชาชน หมู่บ้านละ 5 คน มาร่วมบริจาคโลหิต ในวันดังกล่าว
นำเข้าที่ประชุม
            1. นายอำเภอประสานให้ทุกส่วนราชการ เตรียมความพร้อม อย่างเต็มกำลังความสามารถ
กิจกรรมบริจาคโลหิต ถวายเป็นพระราชกุศล วันที่ 26 กรกฎาคม 2560 ณ หอประชุม ๑๐๐ ปี อำเภอคำเขื่อนแก้ว
2. การเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิกา (ในนักเรียน) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธรแจ้งข้อมูลกรณีโรงพยาบาลศรีสะเกษ ยืนยันมีนักเรียนโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ติดเชื้อไวรัสซิกา ๑ ราย ซึ่งป่วยวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแข่งขันกีฬานักเรียนระดับมัธยมศึกษา (ศรีสะเกษ-ยโสธร) ในระหว่าง วันที่
๕-๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐  โดยในช่วงเวลาดังกล่าว มีนักกีฬา จาก โรงเรียนกู่จานวิทยาคม อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ไปเข้าพักที่โรงเรียนแห่งนี้ด้วยนั้น  
            สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้แจ้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกู่จานประสานการปฏิบัติร่วมกับ โรงเรียนกู่จานวิทยาคม เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิกา (ในนักเรียน) และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกู่จาน ได้แจ้งรายงานกิจกรรมดังนี้
ร่วมกับครูให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน
ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ให้สะอาด ปราศจากลูกน้ำยุงลาย 
สุ่มสำรวจ ลูกน้ำยุงลาย ในโรงเรียน และรายงานผลการสำรวจ ทุกสัปดาห์
เฝ้าระวัง ผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา(ตามหลักเกณฑ์การคัดกรอง) เป็นเวลา ๒๘ วัน
โดย พบว่า มีผู้ร่วมเดินทางไป โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย ในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวน ๓๕ คน เป็น ครู ๓ คน
นักเรียน ๓๒ คน  ซึ่งจากการเฝ้าระวัง ณ ปัจจุบัน ยัง ไม่มี ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสซิกา
3. รายงานการสอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคมือเท้าปาก ตำบลย่อ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร กรกฎาคม ๒๕๖๐
              ตามทีสำนักงานอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้รับแจ้งจากกลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร  ว่างานระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลยโสธร รายงานวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗  เวลา ๐๙.๕๐ น.  มีผู้ป่วยเสียชีวิต ๑ ราย ซึ่งเข้ารักษาที่ตึกเด็ก โรงพยาบาลยโสธร แพทย์วินิจฉัยโรค
มือเท้าปาก  
              ทีมควบคุมโรคอำเภอคำเขื่อนแก้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่อ จึงได้ออกสอบสวน
และควบคุมโรคทันที  โดยวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและการระบาดของโรค ค้นหาแหล่งรังโรค
และวิธีการ ถ่ายทอดโรค ศึกษาขอบเขตการกระจายของโรค และหาแนวทางในการกำหนดมาตรการป้องกัน
และควบคุมโรค 
              จากผลการสอบสวนโรคเบื้องต้น  พบว่า ผู้ป่วยชื่อ เด็กชาย อายุ ๑ ปี ๖ เดือน  ที่อยู่เลขที่ ๑๗๕ หมู่ที่ ๗ บ้านคำม่วง ตำบลย่อ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร อาศัยอยู่กับยาย  โดยพ่อและแม่ไปทำงานที่ต่างจังหวัด  ผู้ป่วยเสียชีวิตในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๐.๔๐ น.    แพทย์ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ บอกว่า สาเหตุการเสียชีวิตน่าจะมาจาก myocarditis, encephalitis  ประวัติการสัมผัสโรค ยายให้ข้อมูลว่า ก่อนป่วยได้มีเด็กบ้านใกล้กันมาเล่นด้วยและมีอาการของโรคมือเท้าปาก และผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัวหรือเคยป่วยที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล  ทีมควบคุมโรคได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ  ทีมควบคุมโรคได้ขออนุญาตจากญาติในการขอเก็บตัวอย่าง คือ การทำ throat swab จำนวน ๒  ตัวอย่าง  ส่วน Serum จำนวน ๑ ตัวอย่าง ได้จากโรงพยาบาลยโสธร  และส่งต่อที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑๐ อุบลราชธานี  เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ที่สำนักระบาดวิทยา 
    การควบคุมโรคในพื้นที่ที่ได้ดำเนินการแล้ว คือ การให้สุขศึกษาเรื่องโรคมือเท้าปากแก่ญาติและชาวบ้านใกล้เคียง  ซึ่งเน้นถ้ามีอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปรักษาที่โรงพยาบาลทันที  และทีมควบคุมโรคอำเภอคำเขื่อนแก้วเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมจากคนในครอบครัวและเด็กที่มีอาการของโรคมือเท้าปากที่มาเล่นกับผู้ป่วย
ที่เสียชีวิต  เพื่อส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป
              4. การเฝ้าระวังป้องกันโรคมือเท้าปาก เพื่อให้การเฝ้าระวังป้องกันโรคมือเท้าปาก ในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อสุขภาพที่ดีของบุตรหลาน นายอำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้มีหนังสือขอความร่วมมือให้ท่าน ประชาสัมพันธ์ และดำเนินงานตาม แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันโรคมือเท้าปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และในโรงเรียนประถมศึกษา
ที่มีการสอนในระดับชั้นอนุบาล ทุกแห่ง โดยการทำความสะอาดสถานที่และอุปกรณ์ของเล่น ของใช้
การตรวจคัดกรองเด็กก่อนเข้าเรียนทุกเช้า หากพบเด็กป่วยหรือสงสัยให้คัดแยก แล้วแนะนำ
ให้ไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้านพร้อมทั้งแนะนำให้พักรักษาตัว  อยู่ที่บ้านเพื่อป้องกัน การแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น
              5. การเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ดำเนินการตาม มาตรการ 331 และ 3 เก็บ 3 โรค ในทุกพื้นที่
              6. นำเสนอ ผลการวิเคราะห์ ข้อมูล  MOPH : Happinometer
ร้อยละของหน่วยงานที่มีการนำดัชนีความสุขของคนทำงาน (Happy Work Life
Index) และ Core Value“MOPH”ไปใช้
คำนิยาม หน่วยงานที่มีการนำดัชนีความสุขของคนทำงานไปใช้ หมายถึง หน่วยงานในสังกัด
อำเภอ(โรงพยาบาล/สสอ./รพ.สต.) ที่มีการประเมินดัชนีความสุขของคนทำงาน (Happy Work life index) รายบุคคลผ่านเครื่องมือวัดความสุขด้วยตนเอง (Happinometer)   และหน่วยงานนั้นมีการวิเคราะห์ผลการประเมิน และนำผลการวิเคราะห์นั้นมาใช้ โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1 ชี้แจงแนวทางการวัดดัชนีความสุขของคนทำงานและการนำดัชนีความสุข
             ของคนทำงานไปใช้
ระดับที่ 2 มีการสำรวจข้อมูล
ระดับที่ 3 มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล
ระดับที่ 4 มีการทำแผนพัฒนาความสุขของคนทำงาน  ระดับที่ 5 มีการใช้แผนพัฒนาความสุขของคนทำงาน

              เป้าหมาย หน่วยงาน ร้อยละ 100 ของหน่วยงานในสังกัดอำเภอ (โรงพยาบาล/สสอ./รพ.สต.) 18 หน่วย
วัตถุประสงค์ เพื่อนำผลการประเมินดัชนีความสุขของคนทำงาน (Happy Work life Index) มาใช้ในการพัฒนาองค์กร การบริหารงาน การดำเนินการต่างๆเพื่อส่งเสริมความสุขในการทำงานอย่างตรงประเด็น ซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมขององค์กรประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน
              ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสาธารณสุข 5 สถานะ โรงพยาบาล/สสอ./รพ.สต.
สถานการณ์ ปัจจุบัน ทุกหน่วยงานมีการประเมินดัชนีความสุขของคนทำงาน (Happy Work life index) รายบุคคลผ่านเครื่องมือวัดความสุขด้วยตนเอง (Happinometer)  ทุกแห่งแล้ว คะแนนในส่วนของ Ranking
จะพิจารณาให้เพิ่มเติมในส่วนของการวิเคราะห์ผลการประเมิน และนำผลการวิเคราะห์นั้นไปใช้ 
              การวิเคราะห์ จากผลการประเมิน รพ.สต. 16 แห่ง ในสังกัด และ สสอ.คำเขื่อนแก้ว รวม 17 หน่วย พบว่า
มีค่าคะแนนเฉลี่ย 65.40  ยกรายมิติ ได้ดังนี้
              มิติด้านความสำเร็จของงาน           ได้        50 คะแนน
              มิติด้านการบริหาร                       ได้        70 คะแนน
              มิติด้านสุขภาพกาย จิต                ได้        47 คะแนน
              มิติด้านบรรยากาศการทำงาน         ได้        85 คะแนน
              มิติด้านการเงินและการลงทุน         ได้        75 คะแนน
ที่มา : จากฐานข้อมูล happinometer.moph.go.th/
              จากการวิเคราะห์ในภาพรวมแล้ว จะมีคะแนน ในระดับ ผ่าน 4 มิติ จาก 5 มิติ  มิติที่มีคะแนนสูงสุดคือ
ด้านบรรยากาศการทำงานที่ดี และมีความสุข รองลงมาคือ ด้านการเงินและด้านการทำงาน ส่วนมิติที่มีคะแนนไม่ผ่าน คือ มิติด้านสุขภาพกาย จิต ได้ คะแนนเฉลี่ย 47 คะแนน
              คนทำงาน เป็นทรัพยากรสำคัญในการพัฒนางาน ฉะนั้นจึงต้องให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข
ได้ทำงานในองค์กรแห่งความสุข “Happy Workplace” ฉะนั้น คปสอ.คำเขื่อนแก้ว จึงเห็นควรให้มีแผนการพัฒนาสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของคนทำงาน ใน คปสอ.คำเขื่อนแก้ว ร่วมกัน ดังนี้
              1.แผนงานส่งเสริมสุขภาพกายและใจ โดยการออกกำลังกายทุกบ่ายวันพุธ และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้วย การออกำลังกายที่ส่งเสริมสุขภาพกายและใจ ตามที่ตนเองถนัด โดย คปสอ.จัดหา อุปกรณ์ สานที่ อำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรต่อไป อาทิเช่น         การเต้น บัดสโลบ แบดมินตัน แอรโรบิก เป็นต้น
              2.แผนงานส่งเสริมสุขภาพจิต โดยการทำงานบริการสังคม ร่วมกัน การทำบุญ ร่วมกัน
              3.แผนงานส่งเสริมสุขภาพจิต โดยการชื่นชม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากงานประจำของแต่ละคน
เพื่อเป็น การสร้างความสุขและได้เรียนรู้ Best Practice จากงานที่ประสบความสำเร็จในแต่ละหน่วยงาน
  ผู้ประสานแผนงานหลัก 1. ทพ.ญ.อติพร พลทรัพย์ ประธาน HRO คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
                                    2. นางอนงค์ลกษณ์ ฤทธิวุฒิ รองประธาน HRO คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
                        3. นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง HRO คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
              6. การจัดทำแผนงบลงทุน(ค่าเสื่อม)ปี 2561  คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
ปี 2558 จัดสรร งบลงทุน(ค่าเสื่อม) ให้กับ รพ.คำเขื่อนแก้ว : รพ.สต. 50:50
ปี 2559 จัดสรร งบลงทุน(ค่าเสื่อม) ให้กับ รพ.คำเขื่อนแก้ว : รพ.สต. 60:40
ปี 2560 จัดสรร งบลงทุน(ค่าเสื่อม) ให้กับ รพ.คำเขื่อนแก้ว : รพ.สต. 60:40
ฉะนั้น ในปี 2561 จึงจัดสรร งบลงทุน(ค่าเสื่อม) ให้กับ รพ.คำเขื่อนแก้ว : รพ.สต. 40:60
7. การประเมินผลการปฏิบัติราชการหน่วยงานสาธารณสุขระดับอําเภอและจัดลําดับหน่วยงาน
(Ranking) ปี  2560
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร มีกำหนด ประเมิน ณ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว วันที่ 17 สิงหาคม 2560
ขอให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ติดตามกำกับงานให้บรรลุผลตามKPI(Ranking) ต่อไป โดยเฉพาะ KPI ที่ยังไม่ผ่าน เช่น รพ. Clean&Green การตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ การควบคุมเบาหวานความดันลิตสูง การค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ การจัดกิจกรรม MOPH ส่งเสริมความสุขด้านการและใจ คุณภาพข้อมูล การใช้ยาสมเหตุสมผล เป็นต้น

สุนทรนำเสนอ ภาพรวม
สรุปมติที่ประชุม อื่นๆ
การปฏิบัติ           รพ.สต.ติดดา สุนทร          เชิญ วิทยากร จาก รพ.ยโสธร มาให้คำแนะนำ
ประสิทธิภาพข้อมูล มอบหมาย นายปริญญา มาแสวง เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
R2R      มอบหมาย นางอนงค์ลักษณ์ ฤทธิวุฒิ นส.ศิราณี โพธิ์ศรี จงจิต สร้อยจักร  และ บัณดิษฐ  สร้อยจักร 
            เน้น R2R เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

            Clean&Green
            RDU
            eGFR
            ข้อมูล

เรื่อง อื่นๆ
              การประเมิน ผลการปฏิบัติงานเพื่อ ต่อสัญญาจ้างและเพิ่มค่าจ้างประจำปี พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐

            

No comments:

Post a Comment