25 ส.ค.65 พชอ.เลิงนกทา 5 ประเด็น พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนคนอำเภอเลิงนกทา
วันที่
25 สิงหาคม 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะร่วม
ประชุม
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ( พชอ.) อำเภอเลิงนกทา
ณ
ห้องประชุม ที่ว่าการอำเภอเลิงนกทา
พชอ.เลิงนกทา 5 ประเด็น พัฒนาคุณภาพชีวิต
วาระหลัก กำหนดประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนคนอำเภอเลิงนกทา
หรือ ประเด็น พชอ. 5 ประเด็น
มติคณะกรรมการ กำหนด 5 ประเด็น พชอ. เลิงนกทา 5 ประเด็น
1. ประเด็น พชอ. ที่ 1 ความปลอดภัยทางถนน
ประเด็น พชอ. ที่ 2 พัฒนาการเด็ก
IQ&EQ
ประเด็น พชอ. ที่ 3 สุขภาพจิต&ยาเสพติด
ประเด็น พชอ. ที่ 4 อำเภอสะอาด
(
การจัดการขยะ เกษตรอินทรีย์)
ประเด็น พชอ. ที่ 5 สุขภาวะ ผู้สูงอายุ ( รวมอาหารปลอดภัย ประเด็นเร่งด่วน COVID-19 )
เพื่อให้ผู้สูงวัย ใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพ ลดภาระของครอบครัว ชุมชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
มหัศจรรย์ 2,500 วัน ( นับในครรภ์ ถึง 5 ปีเต็ม )
การนับ 1,000 วันแรกของชีวิต ( 270+180+550 )
กลุ่มที่ 1 หญิงตั้งครรภ์ ครรภ์ 270 วัน
กลุ่มที่ 2 เด็ก แรกเกิด – 6 เดือน 180 วัน
กลุ่มที่ 3 เด็ก 6 เดือน – 2 ปี 550 วัน
ขยายผล อีก 1,000วัน จนถึง 2,500 วัน : เด็ก 5 ปี 11 เดือน 29
วัน
ด้านยาเสพติด
อำเภอเลิงนกทามี SMIV หรือ SMI-V 132 คน
ผู้ใช้สารเสพติด เฉลี่ยหมู่บ้านละ 5 คน ประมาณ 730 คน
ผู้ค้าตามทะเบียนฝ่ายตำรวจและความมั่นคง จำนวน 126 คน
SMIV หรือ SMI-V คือ ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการก่อความรุนแรง (Serious Mental Illness with High Risk to Violence: SMI-V) หมายถึง ผู้ป่วยด้วยโรคจิตเวช ที่มีความผิดปกติ ทางความคิด อารมณ์หรือพฤติกรรม ความเจ็บป่วยทางจิตเวช
สภาพปัญหา คือ สถานบำบัดที่ โรงพยาบาลไม่เพียงพอ
ผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติด ผ่านการบำบัดแล้ว ก็กลับเข้าไปเสพซ้ำ วนเวียนไปมา
บางคนก่อความรุนแรง ทั้งในครอบครัว ชุมชน หรือ แม้แต่ในสถานพยาบาล
ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการให้การดูแล ทุกกระบวนการ
เป้าหมายคือให้ ผู้ผ่านการบำบัดมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ รายได้
อันจะส่งผลถึง สังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขต่อไป
สังคมเข้มแข็ง คือ
กุญแจสำคัญในการ แก้และ ไขปัญหา
กลวิธีที่สำคัญ คือ การมีส่วนร่วม
หัวใจของความสำเร็จ คือ Team Work หรือทีมที่ Work
ข้อพิจารณา กรรมการเสนอให้ ทำร่วมกันทั้ง 2 ด้าน คือ
ด้านที่เป็นปัญหา และ ด้านที่เราต้องการ พัฒนา
ด้านปัญหา เช่น ความปลอดภัยทางถนน ยาเสพติด ลดการใช้สารเคมี บุหรี่ สุรา เบาหวาน ความดัน
ด้านที่ต้องการพัฒนา เช่น พัฒนาการเด็ก IQ EQ อำเภอสะอาด ออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง เกษตรอินทรีย์
หลักการ Set Priority Setting การพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอเลิงนกทา
1. อยู่รอด
2. ปลอดภัย
3. มีรายได้
4. ให้ความรัก
สภาพปัญหา ต้องได้รับการแก้ไข ทั้ง 3 ด้าน
การดำเนินงานเชิงป้องกัน การดำเนินงานเชิงแก้ไข การดำเนินงานเชิงพัฒนา
Basic Infromation ขอมูลสำคัญ ประกอบการขับเคลื่อนคุณภาพชีวิต และ พัฒนาระบบสุขภาพของประชาชน คนเลิงนกทา พชอ.เลิงนกทา