8/28/22

16 ส.ค.65 Nudge สะกิดพฤติกรรม ป้องกันโรค & ภัย ด้วยกลไก พชอ. : TEMPT นุ่มนวล ยั่วยวนใจ

16 ส.ค.65 Nudge สะกิดพฤติกรรม ป้องกันโรค & ภัย ด้วยกลไก พชอ. : TEMPT นุ่มนวล ยั่วยวนใจ

วันที่ 16 สิงหาคม 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะ  พชอ.เลิงนกทา

เข้าร่วมประชุม การขับเคลื่อนงานป้องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพด้วยกลไก พชอ. เขตสุขภาพที่ 10

ณ โรงแรมบ้านสวนคุณตา จังหวัดอุบลราชธานี

จัดการประชุมโดย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่10 จังหวัดอุบลราชธานี



เนื้อหาหลัก

การสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ

1.    ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ( Health Literacy )

2.    ทฤษฎีสะกิดพฤติกรรม ( Nudge theory) หรือ ทฤษฎีผลักดัน

ในโอกาสนี้ พชอ. เลิงนกทา ได้รับคัดเลือกให้ นำเสนอผลงาน ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพด้วยกลไก พชอ.

            ประเด็น การป้องกันและแก้ไขปัญหา อุบัติเหตุทางถนน ด้วยกลไก พชอ.

นำเสนอโดย นายวิฑูร ประทุมชาติ ผู้อำนวยการหมวดบำรุงทางหลวงชนบท เลิงนกทา

            Nudging คืออะไร       

ประยุกต์ใช้แนวคิด nudge ของ Richard Thaler ผู้เขียน "เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม" 

Nudging การโน้มน้าว การสะกิด หรือ การดุน  มีหลายๆ ทรรศนะ เช่น

         การ โน้มน้าวด้วยสัญลักษณ์ง่ายๆ

         การ ชวนปรับพฤติกรรมอย่างแนบเนียน

         การ สะกิดให้เปลี่ยนพฤติกรรม

         การ โน้มน้าวใจอย่างนุ่มนวล

         การ สั่งได้ดั่งใจ ไม่ได้บังคับ

         การ แอบบังคับอยู่เบื้องหลัง

         การ จูงใจโดยไม่ยัดเยียด

         เคล็ดลับไม่บังคับแต่กลับทำ 

 


Nudging = การสะกิด  คือ การโน้มน้าวพฤติกรรมให้เป็นไปในทางที่เป็นประโยชน์กับเจ้าตัว แบบไม่บังคับ ถ้าไม่ชอบก็สามารถเลือกที่จะไม่ทำตาม ทางเอกนั้นต้องดีกับเจ้าตัว

 







Nudge Theory เป็นการลงทุนน้อยแต่ได้ผลสูง และเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมจริง

 

Nudging : TEMPT: Thinkless Enjoy Modeling Prompt Trackable

ไม่ต้องคิด ติดใจ ทำตามไป ทันสมัย ตามผลได้

ภายใต้องค์ประกอบของ บริบท สถานการณ์ และ อารมณ์             

 

TEMPT 

ให้ผู้ปฏิบัติ สามารถปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยหลักง่ายๆ

Thinkless             ไม่ต้องคิด  ( แบบฟอร์ม  บอกขั้นตอน ค่าเริ่มต้น กล่องแยกประเภท ขยะ )

Enjoy                  สนุก น่าสนใจ  ( ทิ้งก้นบุหรี  ให้คะแนน เสี่ยงโชค เปลี่ยนมุมมอง ข่าว ดารา ทันสมัย )

Modeling              ดูคนอื่นทำ แล้วทำตามได้ ( Ranking  ประกาศชื่อผู้ร่วมทำบุญ การเสียภาษี ) 

Prompt                ทันที ถูกที่ ถูกเวลา ( ทางเดิน ขึ้น ลง  รูป เสียง  )

Trackable            ติดตามผลได้   (  สถิติ สะสมแต้ม กำหนดแล้วเสร็จ)

 

 


 

Nudge Theory ปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ ความว่า

ขอบคุณ เนื้อหาจาก

https://www.krungsri.com/bank/th/krungsri-consumer/moneymatters/nudge-theory.html

 

Nudge Theory  ทฤษฎีช่วยเก็บเงิน เก็บไม่อยู่ ให้มันรู้ไป

Nudge Theory เป็นการดีไซน์ทางเลือกไม่ใช่การบังคับให้กับเรา เพื่อให้ทำในสิ่งที่เราต้องการ คนเราโดยปกติแล้วไม่ค่อยจะได้คิดถึงเป้าหมายในระยะยาว คิดถึงแต่เพียงเป้าหมายในระยะสั้น ๆ การเก็บเงินเหมือนเป็นการบีบบังคับใจ จึงทำให้หลายคนรู้สึกเครียดจนเกินไปจึงทำไม่บรรลุเป้าหมาย แต่ทฤษฎีนี้จะช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการเก็บเงิน เพื่อให้เก็บสำเร็จนั่นเอง โดยมี 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ

 

ให้รางวัลตัวเอง – ทำดีต้องมีรางวัล

ถือเป็นหนทางสร้างแรงบันดาลใจในการเก็บเงินเลยก็ว่าได้ นั่นคือ การให้รางวัลตัวเอง โดยการที่คุณกำหนดรางวัลเอาไว้ หากเก็บเงินได้ตามเป้าหมายจะให้รางวัลนั้นกับตัวเอง ยกตัวอย่าง คุณตั้งเป้าหมายในการเก็บเงิน ไม่ต้องยิ่งใหญ่มากมายอะไร เช่น เก็บเงินให้ได้เดือนละ 2,000 บาท หากเก็บได้ครบ 1 ปี จะให้รางวัลตัวเองด้วยการซื้อของที่อยากได้ 1 ชิ้น ในงบไม่เกิน 4,000 บาท เป็นต้น เพียงแค่นี้คุณจะมีกำลังใจเพิ่มมากขึ้นในการเก็บเงิน

 

เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน – เพื่อให้ถึงเป้าหมาย

เมื่อคุณกำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะต้องเก็บเงินให้ได้ทุกเดือน ๆ ละ 2,000 บาท และเมื่อถึงสิ้นปี ครบกำหนดจะได้ให้รางวัลตัวเอง ขณะเดียวกันพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น จากที่เคยนัดเพื่อน ๆ ปาร์ตี้สังสรรค์ เดือนละครั้ง อาจต้องเปลี่ยนเป็นนัดสองเดือนครั้ง หรือเปลี่ยนจากปาร์ตี้ มาทำกิจกรรมอย่างอื่น ร่วมกันที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าใช้จ่ายน้อยแทน

 
แยกเงินออกเป็นส่วน ๆ – ทำรายการบัญชีแยก

จะเก็บเงินให้ได้สำเร็จตามเป้าหมายนั้น ต้องอาศัยการวางแผนและการจัดการที่ดีด้วย โดยการแยกเงินออกเป็นสัดส่วนให้ชัดเจน คุณอาจแยกออกเป็นแต่ละบัญชีเลยก็ได้ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เช่น บัญชีสำหรับเงินเก็บ บัญชีสำหรับค่าใช้จ่ายรายเดือน บัญชีสำหรับไว้เป็นเงินลงทุน จะได้ไม่ปนกัน และไม่เผลอไปเอาเงินเก็บมาใช้จ่ายจนเพลิน

 
ตรวจดูยอดเงินสม่ำเสมอ – จะได้ไม่เผลอใช้จนหมด

ถึงวิธีตรวจดูยอดเงินจะทำให้เราชีช้ำ เพราะเงินค่าใช้จ่ายรายเดือนของเรามันจะค่อย ๆ หดลงเมื่อใกล้จะสิ้นเดือนก็ตาม แต่เป็นสิ่งที่เราพึงกระทำให้เป็นนิสัย จะได้ไม่เผลอใช้เงินซื้อของฟุ่มเพือย หรือของไม่จำเป็น โดยส่วนที่เป็นเงินเก็บนั้น ควรแยกออกมาเก็บไว้ในบัญชีเงินเก็บตั้งแต่ต้นเดือนเลย คุณอาจใช้วิธีการหักเงินจากบัญชีอัตโนมัติเลยก็ได้ เพื่อไม่ให้ลืมนำเงินเก็บจำนวนนี้เข้าบัญชี

 
            Nudge Theory
เป็นทฤษฎีที่ช่วยส่งเสริมการเก็บเงินของคุณ แต่ที่สำคัญคุณต้องมีวินัยและความตั้งใจที่แน่วแน่ ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่คุณควรต้องมี เพื่อให้สามารถ บรรลุเป้าหมาย
 
Source
https://lifestyle.campus-star.com

No comments:

Post a Comment