8/20/22

11 ส.ค.65 ไม่จับผิดxให้จับถูก/ เข้าใจ ได้ใจ สุขใจ_ สื่อ สาร อย่างไร ให้ได้ใจและได้งาน

11 ส.ค.65 ไม่จับผิดxให้จับถูก/ เข้าใจ ได้ใจ สุขใจ_ สื่อ สาร อย่างไร ให้ได้ใจและได้งาน

วันที่ 11 สิงหาคม 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะ   

ประชุม ตามโครงการพัฒนาระบบบริการ หลักสูตร “สื่อสารอย่างไร ให้ได้ใจและได้งาน”  (How to Effective Communication & Motivation)  ณ ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

            วิทยากร โดย นพ.วิวัฒน์ ลีวงศ์วัฒน์

...






ทุกปัญหาที่เกิดขึ้น ใน องค์กร ในหมู่บ้าน ในอำเภอ ในจังหวัด ในประเทศ

เป็นปัญหาที่ไม่มีเราเกี่ยวข้องด้วยเพียง 5 %

แสดงว่า 95 % เรามีส่วนในปัญหานั้นๆ ฉะนั้น เราจึงมีส่วนร่วมสำคัญ ในการแก้ปัญหานั้นๆ ได้เกือบทุกปัญหา

 

ท่านไม่สามารถมีอิทธิพลต่อใครๆ หากท่านไม่มีสายสัมพันธ์กับเขา

(สายสัมพันธ์ ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง)

"People don't care how much you know until they know how much you care"

  John C. Maxwell says, Leadership is influence

 

วิธีการที่ดีที่สุดที่จะทำให้เขาประทับใจเรา คือ ทำให้เขารู้ว่า เราประทับใจเขา

 

 เทคนิค การพูดสื่อสาร  7 C         

C1: Considerate: เอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดว่าถ้าเราเป็นเขา เราอยากให้คนพูดอย่างไรกับเรา

C2: Concrete: เป็นรูปธรรม คือการพูดให้เห็นภาพ เช่นเวลาที่จะสอนเด็กให้เข้าใจคำว่าสามัคคี ยกตัวอย่าง มด ผึ้ง ปลวก

C3: Concise: สั้นกระชับ

C4: Courteous: สุภาพอ่อนโยน ทุกครั้งที่จะสื่อสารออกไปต้องคิดให้มาก อย่าให้กระทบคนอื่น

C5: Clear: ชัดเจน

C6: Complete: ครบถ้วนสมบูรณ์ การวรรคผิดทำให้ความหมายต่างไป

C7: Correct: ความถูกต้อง ห้ามนำข้อมูลผิดมาสื่อสาร

 

ให้ Focus ที่ตัวเรา นะครับ  

ABC Communication

Activator ใส่ตัวกระตุ้น (คำพูด ก่นด่า สายตา ท่าทาง < : >คำแนะนำ ประสบการณ์ เป้าหมาย )

Behavior สังเกต พฤติกรรม (เป็น หรือ ไม่เป็น ตามที่คาดหวัง)  

 

ตัวกระตุ้น ก็ มี 2 ประเภท คือ เชิงบวก และ เชิง ลบ

                ส่งผลต่อการกระทำได้ทั้งนั้น เลือกใช้ให้ดี จะมีประโยชน์

                ทั้ง เชิงบวก และ เชิง ลบ ส่งผลต่อพฤติกรรมได้ทั้งนั้น

                ผลจากการใช้ มีทั้ง ดี และ ไม่ดี ในสถานการณ์ต่างๆกัน ขึ้นกับ บริบท   

                Activator ใส่ตัวกระตุ้น (คำพูด ก่นด่า สายตา ท่าทาง < 0:0 >คำแนะนำ ประสบการณ์ เป้าหมาย)

 

สังเกต Behavior พฤติกรรม (เป็น หรือ ไม่เป็น ตามที่คาดหวัง หรือที่พึงประสงค์) แล้ว ต่อไป เรา เรา เรา ตอบสนองอย่างไร

 

Consequence นำมาซึ่งผล ตอบสนอง   

                Consequence การตอบสนอง 4 แบบ

แบบที่ 1  หรือ C 1           Non Response  = 0       ไม่ตอบสนองใด ๆ  จ่าเฉย

แบบที่ 2  หรือ C 2           Negative Response  -     จับผิด หรือ ตอบสนองเชิง ลบ

แบบที่ 3  หรือ C 3 *        Deviation Response  <;V:>        การเบนความสนใจ  *

แบบที่ 4  หรือ C 4 **      Positive Response  +     จับถูก หรือ ตอบสนองเชิง บวก  **

 

*ชี้ประเด็น : เห็นผลกระทบ : เคารพ รับผิดชอบ : สอบทานความเข้าใจ : ให้โอกาส

                *Deviation Response <; V:> การเบนความสนใจ 5 ขั้นตอน

ชี้ประเด็น : ขั้นตอนที่ 1 ชี้ประเด็นความผิดพลาด โดยปราศจาก การตำหนิติเตียน

ให้เห็นผลกระทบ : ขั้นตอนที่ 2 แสดงให้เห็นผลกระทบจากข้อผิดพลาดดังกล่าว

เคารพ รับผิดชอบ : ขั้นตอนที่ 3 แสดงความรับผิดชอบ ในส่วนของเรา 

สอบทานความเข้าใจ : ขั้นตอนที่ 4 ทบทวนสิ่งที่เราต้องการอีกครั้ง อย่างละเอียด จนแน่ใจว่า เขาเข้าใจตรงกันกับเรา  

ให้มั่นใจ ให้โอกาส : ขั้นตอนที่ 5 แสดงความมั่นใจ และให้โอกาสเขาอีกครั้ง   

 

สรุป * เป็น 5 วลี ง่ายๆ คือ 1ชี้ประเด็น : 2เห็นผลกระทบ : 3เคารพ รับผิดชอบ : 4สอบทานความเข้าใจ : 5ให้โอกาส

 

**1ชมทันที : 2มีความจริง : 3อิงประทับใจ : 4ให้ไปต่อ

**จับถูก 4 ขั้นตอน  ด้วย ปิยะ วาจา

1.    ชมทันที  : ให้คำชมเชยทันที ด้วยความจริงใจ

2.    มีความจริง  : ระบุชัดเจนถึงสิ่งที่เขาทำได้ดี  ( ถูกต้อง เกือบถูกต้อง )

3.    อิงประทับใจ  : ถ่ายทอดความรู้สึกประทับใจของเรา ต่อสิ่งที่เขาทำ

4.    ให้ไปต่อ : สนับสนุนให้เขา สร้างสรรค์ผลงานให้ดีต่อไป เป็น PDCA หมุนวนการพัฒนาขึ้นไปเรื่อย ( สูงขึ้นๆไป เหมือนหนุมาน เอหางไปเก็บยา บนภูเขา จนถึง จุดยอดเจดีย์ บนเขาพระสุเมรุ

 

จับถูก 4 ขั้นตอน **สรุป เป็น 4วลี ง่ายๆ คือ 1ชมทันที : 2มีความจริง : 3อิงประทับใจ : 4ให้ไปต่อ

 

สอดคล้อง กับ ปิยะวาจา 4 คุณลักษณะ

1.    พูดความจริง 2. ไพเราะ อ่อนหวาน 3. สมัครสมานสามัคคี 4. ดี และมีประโยชน์

 

สื่อสารให้สุขใจ

เทคนิคการสื่อสารให้สุขใจ (เมื่อบริการที่ให้มีปัญหา)

การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

1.    ต้อนรับปัญหา

2.    แสดงท่าเสียใจ (ถ้าเป็นไปได้ให้ขอโทษ)

3.    รับฟังเข้าไว้ (เทคนิคการฟังที่ดี)

4.    ใส่ใจข้อเท็จจริง ไม่เอาอารมณ์ของเขามาทำให้เราเสีย

5.    เสนอทางออกอิงความต้องการ (Win –Win)

6.    เบิกบานแก้ไข รีบดำเนินการทันทีและบอกการดำเนินการเป็นระยะๆ

7.    ขอบคุณจากใจ เชิญใช้บริการใหม่

“ให้เขาด่าเราในหน่วยงาน ดีกว่าเอาไปประจานข้างนอก”

 

 ใน 100 คน ที่ได้รับปัญหาจากการบริการ มี 4 % เท่านั้น ที่บ่นให้เรารู้

ในจำนวน 96 คน ที่ไม่บ่นให้เราทราบ มี 50 คนเขาจะนำไปบอกต่อคนข้างนอกทราบอีก 9 คน













No comments:

Post a Comment