12/23/22

14 ธ.ค.65 DHSA = (HA+สร้างสุภาวะ) เยี่ยมเสริมพลัง ณ รพ.สต. สามแยก อำเภอเลิงนกทา

14 ธ.ค.65 DHSA = (HA+สร้างสุภาวะ) เยี่ยมเสริมพลัง ณ รพ.สต. สามแยก อำเภอเลิงนกทา

วันที่ 14 ธันวาคม 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะ

คปสอ. เลิงนกทา ร่วมรับคำแนะนำ จาก  วิทยากร DHSA โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สามแยก

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา











วิทยากร โดย นพ.วิโรจน์ เลิศพงศ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน

กิจกรรม Pre- DHSA การประเมิน รับรองระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System Accreditation – DHSA) เพื่อสนับสนุนการพัฒนา ระบบสุขภาพระดับอาเภอ

นายคมสันต์ กาลจักร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สามแยก นำคณะจากทุกภาคส่วนเข้ารับคำแนะนำการพัฒนาโดยพร้อมเพียงกัน

 









 

District Health System Accreditation – DHSA 

ใช้แนวคิดและกรอบการประเมิน  แบบเดียวกับมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ และได้เพิ่มเนื้อหาที่สะท้อนแนวคิดการสร้างสุขภาวะที่ครอบคลุมตั้งแต่การสร้าง เสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ การดูแลแบบประคับประคองและ การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิต

แนวคิดการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิด้วย UCCARE (Unity team, Customer focus, Community participation,

Appreciation, Resource sharing and human development, and Essential care)

 แนวคิดการบริหารจัดการเครือข่าย ซึ่งไม่ได้ใช้อำนาจสั่งการตามสายการ บังคับบัญชาเท่านั้นในการขับเคลื่อนงาน แต่ใช้การสร้างเป้าหมายร่วม การแบ่งบทบาทหน้าที่ให้เหมาะสมชัดเจน และการติดต่อสื่อสารเพื่อการติดตามงานที่มีประสิทธิภาพ และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทั้งในเรื่องขั้นตอน บริการ การไหลของสิ่งของ โดยมีข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างสังคมสุขภาวะที่มีการดูแลและเอื้ออาทรกัน

หลักการสำคัญคือประเมินรับรองเพื่อเสริมพลัง (empowerment evaluation)   โดยเมื่อประเมินรับรองแล้ว เครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอจะได้รับการ สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่ตนเองทำได้ดี เห็นโอกาสในการพัฒนา  เห็นแนวทางในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และมีพลังที่ จะขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

 

มุมมองต่อการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอทีสำคัญคือโดยการมองออกนอกรั้วโรงพยาบาลและรั้วสาธารณสุข  ไปสู่ กรอบ รั้วอำเภอ  มองทั้งอำเภอเป็นพื้นที่ในการพัฒนา

วางแผนขับเคลื่อนโดยใช้เครื่องมือ 3P (Purpose-Process-Performance)  ควบคู่กับการใช้กลไก พลัง พชอ.

กรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ (พชอ.)   ขับเคลื่อนปัจจัยที่ระบบสาธารณสุขไม่สามารถจัดการได้ด้วยตนเองให้สามารถ บรรลุความสำเร็จได้ ตัวอย่างเช่น ปัญหา RTI ซึ่งเดิมเราพยายามจะแก้ปัญหาในเชิงรุก เรามักจะมีปัญหาเวลาจะขอให้ เครือข่ายต่างๆ ที่เป็น Non Health Sectors ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยนายอำเภอเป็นประธานพชอ.ส่งผลให้การขอความร่วมมือเครือข่ายที่เป็น Non Health Sectors ง่ายขึ้นและได้รับความร่วมมือดี เช่น ขอให้ทุกหน่วยงานกำหนดมาตรการองค์กรด้านความปลอดภัยทางถนน ขอให้ตำรวจจัดการจราจร เพื่อลดอุบัติเหตุในพื้นที่เสี่ยง ขอให้ผู้รับผิดชอบรวมถึงท้องถิ่นซ่อมแซมถนนหรือติดตั้งสัญญาณไฟ ติดตั้งป้ายบอกทาง ทำความสะอาด2ข้างทาง

ในพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย ขอความร่วมมือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตั้งด่านชุมชน ออกหอกระจายข่าว โรงเรียน กวดขันการสวมหมวกกันน็อก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปลูกฝังวินัยเชิงบวก เป็นต้น

 

จุดเริ่มที่ดี หรือพลังสำคัญ ของการแสวงหาการมีส่วนร่วมจากภาคี เครือข่ายต่างๆ ต้องเริ่มจาก สัมพันธภาพที่ดีภายในคณะกรรมการประสานงาน สาธารณสุขระดับ (คปสอ.) ให้ทำงานหนักร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น จะทำให้เรากลับมาทำงานร่วมกับทุกภาคีเครือข่ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตระดับอำเภอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ที่ชัดเจนคือเกิดระบบการดูแลร่วมกันแบบไร้รอยต่อ เช่น ระบบการดูแลต่อเนื่อง ระบบการดูแลโรคเรื้อรัง ระบบ การส่งต่อ และระบบการจัดการปัญหาโรคระบาดในพื้นที่ (เช่น COVID-19, DHF ฯลฯ) ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ ต่อเนื่องและมีความปลอดภัย

เกิดการแชร์ทรัพยากรร่วมกันทั้งในด้านเครื่องมืออุปกรณ์ กำลังคน องค์ความรู้ ข้อคิดสำคัญให้เกิดความยั่งยืน

สถานการณ์การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยัง อบจ.นั้น ถึงแม้ว่าทีมบางทีมจะถูกแยกออกไป แต่กระบวนการการดูแลรักษาเบื้องต้นและการดูแลต่อเนื่องก็ยังต้องคงอยู่ ดังนั้น DHSA จะเป็นการพัฒนาระบบ การทำงานเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาล กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)ทุกแห่ง

 

 

ประเด็น > ปัญหา > วิกฤติ

ประเด็น หากไม่ได้รับการแก้ไข จะกลายเป็น ปัญหา  ปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข จะกลายเป็น วิกฤติ

 

 

การประเมิน คุณภาพ DHSA ด้วย หลัก 3C3P+PDCA 

3c   :     Criteria   Core Value   Competency 

  Criteria             คือ ยึดตาม เกณฑ์คุณภาพ DHSA = ( HA+สร้างสุภาวะ

  Core Value        ยึด ตาม Core Value หลัก การพัฒนาองค์กร 11 ประการ

  Competency      สมรรถนะของบุคลากร ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตาม Criteria และ Core Value

3P   : Purpose  Process Performance   

Purpose เป้าประสงค์        

Process กระบวนการ

Performance ประสิทธิผล

Plan Do Check Act

มิติการประเมิน คุณภาพ 4 มิติ หรือ จำง่ายๆว่า E Q E SA

            มิติด้านประสิทธิผล            Effectiveness

            มิติด้านคุณภาพ                Quality

            มิติด้านประสิทธิภาพ          Efficiency

            มิติด้านการเรียนรู้พัฒนา Social Accountability  หรือ Learning Growth

 

 

การลงพื้นที่ให้ใช้ Appreciation Mode เป็นหลัก Audit Mode เป็น Mode สุดท้ายที่จะนำมาใช้

ถามในสิ่งที่เรายังไม่รู้ เราไม่เห็น เราหาไม่ได้ ในสิ่งที่สามารถมา ตอบ GAP ของเราได้

การถาม ถามให้เขาอยากตอบ ให้พื้นที่อยากพัฒนา อย่าให้เขาปิดรับการพัฒนา ภาษาอีสาน ใช้คำว่า อย่าส้อให้คา

GAP คือดูเปรียบเทียบ Standard กับ สิ่งที่เขามี ที่เราเห็น ตามแนวทาง 3 P คือ Purpose       เป้าประสงค์

Process กระบวนการ   Performance ( KPI) ที่นำมาตอบ

หลักการตั้งคำถามคือ ถามแล้ว เขาตอบยังไม่ตรง ให้ เปลี่ยนคำถามใหม่ เพื่อกระตุ้นให้เขาเห็น แต่ จุดประสงค์เดิม

DHSA  การเยี่ยมเสริมพลังในพื้นที่ ตัว A ใช้ให้เป็น Award ไม่ควรใช้ เป็น Accreditation ฉะนั้นจึงเน้น ที่ ตัว A คือ  Appreciation Mode  จะส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันได้ดี

 

 

การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล HA  จะมี Unit Profile หมวด P + 7 Categories ได้แก่
1.
การนำองค์กร
2.
การวางแผนกลยุทธ์
3.
การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด
4.
การวัด การวิเคราะห์ การจัดการความรู้
5.
การเน้นบุคลากร
6.
การบริหารกระบวนการ

7.ผลลัพธ์ (Organization Performance Result )

 

               การประเมิน รับรองระบบสุขภาพระดับอ าเภอ (District Health System Accreditation – DHSA)

จะเป็น 10 Categories ( 6+4 ) คือ จะ แยก Result  หมวด 7 ออกเป็น 4 ด้านหลัก ๆ   

ซึ่งผม (พันธุ์ทอง) จะเรียกรวมๆ ว่า การสร้างสุขภาวะ

DHSA หมวดที่ 7. การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ

มีการติดตามเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด

DHSA หมวดที่ 8. การทำงานกับชุมชน

เครือข่ายทำงานร่วมกบัชุมชนในการจัดบริการสุขภาพและเสริมสร้างสุขภาวะในชุมชน

DHSA หมวดที่ 9. กระบวนการดูแลผู้ป่วย

มีการจัดกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่โดยคำนึงถึงมาตรฐานวิชาชีพ ความปลอดภัยการเข้าถึง การมีส่วนร่วม ของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งพัฒนาการดูแลที่เน้นความเป็นองค์รวมและมุ่ง ไปสู่ารสร้างสุขภาวะ

DHSA หมวดที่ 10. ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ

เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอสรปุ ผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดหรือเกณฑ์การประเมินเชิงคุณภาพที่เครือข่ายร่วมกกัน กำหนด วิเคราะห์ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์และโอกาสในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ผลสัมฤทธิ์ควรครอบคลุมมิติด้าน - การพัฒนาโครงสร้างการบริหารจัดการภายในเครือข่าย เช่น ความสำเร็จในการจัดตั้งคณะกรรมการสุขภาพระดับอำเภอ (District Health Board), ความครอบคลุมของการมีแพทย์ประจ าครอบครัวในพื้นที่, การพัฒนากลไกการทำงานของเครือข่าย, การพัฒนาระบบการส่งต่อ - การจัดบริการสุขภาพ เช่น ผลงานการให้บริการตาม Essential care ที่เครือข่ายกำหนด, ผลงานการขยายศักยภาพหรือความครอบคลุม ของงานบริการ, ผลการพัฒนาระบบสนับสนุนงานบริการ เช่น ระบบยา ระบบควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ระบบเวชระเบียน - การดูแลผู้ป่วยรายโรค เช่น ผลงานตามตัวชี้วัด Quality Outcome Framework (QOF) ที่ สปสช. กำหนด, ผลการควบคุมระดับน้ำตาลใน ผู้ป่วยเบาหวาน, ผลการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง - สถานะสุขภาพของชุมชน เช่น อัตราการสูบบุหรี่ อัตราการติดสุรา อัตราการตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่น อายุคาดเฉลี่ยของประชากร คุณภาพ ชีวิตของประชาชน เป็นต้น

 

           

 

TQM   ปรับปรุงงานโดยบูรณาการทุกระดับ

 

 

ขอบคุณ ข้อ เขียนใน GotoKnow   โดย ศุภโชค กำเนิดงาม
 
ใน การบริหารสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ

ความว่า  การกำหนดเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ มีพื้นฐานจากแนวคิดและค่านิยมหลัก 11 ประการ ดังนี้

1. การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ 

องค์กรจะต้องมีเป้าหมายที่จะดำเนินงานอย่างชัดเจน(เป้าหมายเดียวกัน) มีทิศทางกระบวนการที่จะเดินไปสู่เป้าหมายนั้น และคนในองค์กรทุกคนต้องเดินไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

2.  ความรับผิดชอบต่อสังคม 

ทุกคนในองค์การจะดำเนินงานด้านใด ๆ ก็ตามจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสมอ พร้อมสร้างเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีจิตเป็นสาธารณะ

3.  การให้ความสำคัญกับบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ทุกคนในองค์กรจะต้องคำนึงถึงการให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกฝ่ายทุกแผนก ในการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีจิตใจบริการและเต็มใจที่จะให้บริการกับลูกค้าโดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้รับบริการ

4.  ความเป็นเลิศขององค์กรที่มุ่งเน้นผู้รับบริการ

มุ่งเน้นการให้บริการเป็นประการสำคัญ จะต้องสำรวจความต้องการของลูกค้าว่าเขาต้องการอะไรจากเราโดยการรับฟัง สอบถาม การสำรวจ และสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าให้ตรงตามวัตถุประสงค์

5.  การมุ่งเน้นอนาคต

ทุกคนในองค์กรจะต้องมองเป้าหมายขององค์กรไปให้ไกล ๆ และพยายามไปให้ถึงเป้าหมายนั้นให้ได้

6.  ความคล่องตัว

ทุกคนในองค์กรจะต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง เพราะองค์กรของเราะมีสิ่งใหม่ ๆ มีปัญหาใหม่ ๆ เข้ามาหาองค์กรตลอดเวลา หากเราไม่ปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ ๆ เราก็จะล้าหลัง พร้อมทั้งต้องลดกฎระเบียบ ขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็นลงเพื่อการบริหารจัดการที่ดีขึ้น

7. การเรียนรู้ขององค์การและแต่ละบุคคล

ทุกคนในองค์กรจะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาตนเองให้เป็นคนใฝ่รู้ ใฝ่เรียนรู้ เพื่อที่จะนำความรู้มาแก้ปัญหาใหม่ ๆ ขององค์กรให้ลุล่วงไปได้ ตลอดจนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (KM) Knowledge Management

8.  การจัดการเพื่อวัตกรรม

มีการสร้างวัตกรรมใหม่ให้องค์กรอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ เช่น มีวิธีการปรับปรุงการทำงานขององค์กรให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา หาแนวทางใหม่ ๆ มาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9.  การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง

 

 

องค์กรจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องของผู้บริหารและต้องไม่บิดเบือนข้อมูล

10. การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า

องค์กรจะต้องมีการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผลผลิตตลอดเวลา และมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน

11.  มุมมองเชิงระบบ

ทุกฝ่ายขององค์กรจะต้องมีการเชื่อมโยงและการประสานงานที่ดี เปรียบเสมือฟันเฟืองทุกตัวต้องหมุนไปพร้อมกัน

 

 

 

No comments:

Post a Comment