วันที่ 20 เมษายน 2566 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะ
ร่วมงาน ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา
จังหวัดยโสธร
กิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการ ระดมสมอง วางแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอำเภอเลิงนกทา
โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)เลิงนกทา
จังหวัดยโสธร
ประธานโดย นายสุพิช
สามารถ นายอำเภอเลิงนกทา ในฐานะ ประธานคณะกรรมการ พชอ. เลิงนกทา
มีกลุ่มเป้าหมาย
ประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
และคณะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล
(พชต.) จาก 3 ตำบล เข้าร่วมงาน
ตำบลนำร่องประกอบด้วย สามแยก ตำบลกุดแห่
และตำบลกุดเชียงหมี (เขต รพ.สต.กุดแข้ด่อน )
ทั้งนี้เป็นกิจกรรมตามโครงการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ได้รับ งบประมาณดำเนินการจากศูนย์อนามัยที่ ๑๐
อุบลราชธานี
ความรู้และการปฏิบัติ
วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม Participatory
Action Research : PAR
กระบวนการขั้นตอน P A O R วิจัยเชิงปฏิบัติการ
1. Plan คือ การวางแผนหลังจากที่วิเคราะห์และกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข
2. Act คือ
การปฏิบัติตามแผนที่กำหนด
3. Observer คือ
การสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (การกำกับ ประเมินผล)
4. Reflect คือ การสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงานให้ผู้ที่มีส่วนร่วมได้วิพากษ์วิจารณ์
ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข
การปฏิบัติงานต่อไป
จุดเด่นคือ เชื่อมโยงช่องว่างระหว่างความรู้และการปฏิบัติ ผ่านการสอดแทรกทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย
Output:
รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอเลิงนกทา
จังหวัดยโสธร
Outcome1:
ไม่มี ผู้สูงอายุ ที่พลัดตกหกล้ม
Outcome2:
ไม่มี ผู้สูงอายุ ถูกทอดทิ้ง
KPI ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม : ได้รับการดูแล ตามแผนการดูแลสุขภาพดี Wellness
KPI ผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง : ได้รับการดูแล ตามแผนการดูแลสุขภาพ ตาม Care Plan
ขอบเขต การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 3 ด้าน
ด้านสุขภาพ ( ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ )
ด้านสังคม ( เศรษฐกิจ
ระบบดูแลช่วยเหลือ )
ด้านสิ่งแวดล้อม ( ที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
)
เนื่องจากจำกัดด้วยงบประมาณและ
เวลา จึง นำมาประเมิน 2 ด้าน คือ ด้านสังคม และ สิงแวดล้อม
No comments:
Post a Comment