7/31/23

1 ก.ค. 66 วินัย >สู่ >นิสัย สำเร็จได้ด้วย : HABITS Key Success Factor กิจวัตร ของคน Proactive

1 ก.ค. 66 วินัย >สู่ >นิสัย สำเร็จได้ด้วย : HABITS Key Success Factor กิจวัตร ของคน Proactive

วันที่ 1 กรกฎาคม  2566 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง  ตั้งเป้า ตั้งต้น ตั้งใจ ตั้งมั่น

บันทึก Key Success Factor    ของผู้คน Proactive  **

ขอตั้งชื่อว่า ชื่อ ว่า ความสำเร็จ เป็นผลิตผล ของนิสัย ที่ได้กระทำ จนเป็น กิจวัตร

ผม(พันธุ์ทอง)  ใช้ ภาษา ว่า  HABITS :  Key Success Factor

Head & Heart  มีแรงจูงใจ เชื่อมั่นอันแรงกล้า หรือ Trust yourself หรือ มี Self Esteem

Appreciation มองเห็นคุณค่า ของสิ่งที่ทำ ( คุณค่าตน คุณค่าคน คุณค่างาน ) คุณค่า คือ เพื่อตนเอง

Behaviors ทำไป ปรับไป  เริ่มจากจุดเล็กๆ สิ่งสำคัญคือ ทำทันที และ ต่อเนื่องสม่ำเสมอ SS :  Stat  Sustainable

Information มีข้อมูลสนับสนุนการกระทำ ..ทุกๆระยะ ที่มี Small success อย่าลืมให้รางวัลกับความสำเร็จ การพักไม่ทำอะไร ก็เป็นรางวัลอย่างหนึ่ง

Target แน่วแน่ ในเป้าหมาย และ เป้าหมายนั้นต้อง Focus & Clear  เช่น ให้คนอื่น อยู่ดี มีสุข   ให้แรงบันดาลใจคนอื่น

Sustainable ทำอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มุ่งมั่นจนสำเร็จ  ทำซ้ำๆ อย่างสม่ำเสมอ  คือ KSF ของ การกระทำ  

 

ผม(พันธุ์ทอง) สรุปว่า ผลสำเร็จที่ดีมาจาก การกระทำที่ดี การกระทำที่ดี มาจาก หลักคิดที่ดี

ผลสำเร็จที่ดี ( Target) มาจากการกระทำที่ดี ( HABITS ) การกระทำที่ดีมาจากหลักคิดที่ดี (  Head & Heart : Proactive thinking )

 

ไล่เรียง  ง่ายๆว่า มาจาก  แรงกระตุ้น กิจวัตร  และ จบด้วย รางวัล  จากนั้นจะ นำสู่ ผลสำเร็จ

  

 


หลักคิด :  การกระทำ นำสู่ผล ( สำเร็จ หรือ ไม่สำเร็จ )

การกระทำที่ดีมาจากหลักคิดที่ดี   หลักคิดที่ดีมาจากแรงบันดาลใจ ( แรงกระตุ้น ความโหยหา )

การกระทำบ่อยๆ จะกลายเป็นกิจวัตร กิจวัตรที่ทำประจำ จะเกิดเป็นวินัย ผู้ที่มีวินัย จะนำสู่ผลสำเร็จ

วินัย  คือ การลงมือกระทำ ในสิ่งที่ควรทำ แม้ในเวลาที่ไม่อยากจะทำ

การกระทำด้วยการมีวินัย เป็นสิ่งที่ดี แต่ ส่วนมากจะเหนื่อย และคนส่วนใหญ่ จะทำได้ไม่นาน ไม่ชิน

กลวิธีง่ายๆ หาก แปลงการกระทำ หรือ เปลี่ยนจาก วินัย ให้เป็น นิสัย ได้

จะเป็นการกระทำ ที่ประหยัด เวลา และ ทรัพยากร ได้เป็นอย่างมาก

หาก ยังไม่เป็นนิสัย จะทำได้ยาก ต้องอาศัย วินัย  เช่น การลดน้ำหนัก  การออกกำลังกาย

หากทำจนเป็นนิสัย จะง่ายต่อชีวิต

องค์ประกอบสำคัญ ส่วนที่ 3 คือ อย่าลืมให้รางวัลตนเอง ในขั้นตอนต่างๆ ทุกครั้งที่เกิด ชัยชนะเล็กๆ  Small Success  **  ในการกระทำที่สำเร็จ   ( รางวัลเล็กๆน้อยๆ ก็ได้เช่น ชื่นชมตนเอง  ดื่มกาแฟ หยิบโทรศัพท์เล่น Social Media 5 นาที หรือ ทานอาหารที่ชอบ เป็นต้น )

นิสัย เปรียบง่ายๆ กับ การแปรงฟัน การขี่จักรยาน หรือ การขับรถ

การขับรถ คนที่ทำเป็นนิสัยแล้ว จะเป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ ทั้งดูเส้นทาง เปิดวิทยุ ฟังเพลงไปพร้อมกันได้ แต่ คนที่ยังไม่ชิน ก็จะยาก มากๆ เช่นกัน

ฉะนั้น นิสัย คือ Key Success  ของผู้คน Proactive

ผม ( พันธุ์ทอง ) ขอ ใช้วลี นิสัย  ด้วย คำว่า HABITS  สำหรับ เตือนใจตนเอง

 

 ** Small Success สิ่งเล็กๆคือสิ่งดีที่ทรงพลัง

**ชัยชนะเล็กๆ( รางวัลเล็กๆน้อยๆ)  Small Success  ที่ได้จากการกระทำนำสู่ผลสำเร็จ   

ชัยชนะเล็กๆ เป็นสิ่งเล็กๆที่ทรงพลังมากพอที่จะกระตุ้นเราสร้างความสำเร็จได้ทั้งวัน

ชัยชนะเล็กๆคือ หมั่นใช้ประโยชน์จากข้อดี ขอได้เปรียบ จากสิ่งต่างๆเล็กๆน้อยๆอยู่เสมอ

ชัยชนะเล็กๆ คว้าได้ครั้งหนึ่งแล้ว จะเกิด แรงบันดาลใจ ในการคว้าชัยชนะเล็ก อื่นๆ อีกต่อไป

ทุกชัยชนะเล็กๆ ที่คว้าได้ จะกลายเป็น ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ ในแต่ละวัน แต่ละ สัปดาห์ แต่ละเดือน แต่ละปี ไม่มีที่สิ้นสุก 

 




ศักดิ์สิทธิ์  : SAKSIT  Model ของ พันธุ์ทอง 

การกระทำ ที่ดี มีวินัย จะส่งผลต่อความสำเร็จตามเป้าหมายได้ 

สิ่งที่ทำไปผลงานที่ทำได้ จะเกิด ความ ศักดิ์สิทธิ์  : SAKSITS 


ศักดิ์ คือ กำลัง  Power 

สิทธิ คือ สำเร็จ  Success :  Target 


  

การครองงาน หรือ แนวทางสู่ความสำเร็จ คือ อิทธิบาท 4

1. ฉันทะ (ความรัก และความพอใจ) 2. วิริยะ (ความเพียร) 3. จิตตะ (ความเอาใจจดจ่อ ความเอาใจใส่) 4. วิมังสา (การใช้ปัญญาไตร่ตรอง การตรวจสอบประเมินผล)

ประเทศญี่ปุ่น ใช้ Deming Cycle  : Plan Do Act Check

ความหมายก็เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

1. ฉันทะ  Plan   2. วิริยะ  DO   3.  จิตตะ Act  4. วิมังสา Check

 

ทั้งนี้ ผมเคยสรุป เนื้อหา คล้ายๆกันนี้ไว้  ผู้นำยุคใหม่ มือทอง ปากทอง สมองเพชร กลเม็ดครองโลก

หรือ 4 ต. ตั้งเป้า ตั้งต้น ตั้งใจ ตั้งมั่น   ฯลฯ   ที่ นี่ 

 

http://ptjsw.blogspot.com/2020/12/13-63-2563-5-p-3-p.html

 

 

 

โลกใบนี้ ทีมของผม  ประเทศของผม แวดวงของเรา

 

คำตอบของช่างก่ออิฐ 3 คน 

ช่างก่ออิฐ คนที่ 1 กำลังก่ออิฐ  : ก่ออิฐ เพื่อ  เลี้ยงชีพ

ช่างก่ออิฐ คนที่ 2 กำลังก่อกำแพง  : ก่ออิฐ เป็น  อาชีพ

ช่างก่ออิฐ คนที่ 3 กำลังสร้างบ้านให้พระเจ้า : ก่ออิฐ เพื่อสร้างกุศล 

 

** คน Proactive:
คนที่มีสติทันต่อความคิด ควบคุมการกระทำของตัวเองได้ และตัดสินใจเลือกตอบสนองสิ่งที่ดีที่สุดต่อตนเองและผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะรับผิดชอบผลจากการตัดสินใจนั้นด้วย ชีวิตคือ ‘ผลผลิตจากการตัดสินใจ’ ของตนเอง แม้รู้ดีว่าบางเรื่องอาจควบคุมได้ยาก แต่จะทุ่มเทพลังไปยังเรื่องที่เขาสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เท่านั้น

คน Reactive:
คนที่ปล่อยให้อารมณ์ ความรู้สึก และสิ่งรอบข้างเป็นตัวควบคุมการตอบสนองของเขา มองว่าตัวเองเป็นเหยื่อของสถานการณ์ มองว่าชีวิตได้ ‘ถูกกำหนด’ ไว้แล้ว แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างจากนี้ไม่ได้ สุดท้ายมักจะลงเอยด้วยการโทษคนอื่น โทษสถานการณ์ โทษทุกอย่างที่ยกเว้นตัวเอง

 

น้ำเปล่า กับ น้ำอัดลม

Proactive:
คนโปรแอคทีฟเหมือนน้ำเปล่า ที่เขย่าแรงแค่ไหนก็ไม่ระเบิด

Reactive:
คนรีแอคทีฟเหมือนน้ำอัดลม ที่เขย่านิดเดียวก็พร้อมระเบิด

คุณ หรือ คนที่คุณคบ  เป็นคน Proactive หรือ Reactive?

ให้สังเกตภาษาที่ใช้และวิธีการที่เลือกตอบสนองในสถานการณ์ต่างๆ 2 สิ่งนี้จะเป็นตัวสะท้อนที่ชัดเจนที่สุดว่าเราเป็นคนแบบไหน แน่นอนว่าเมื่อวิธีการมอง เข้าใจและตีความสิ่งต่างๆ รอบตัวของคน Proactive หรือ Reactive ต่างกันแล้ว ภาษา การกระทำ รวมถึงผลลัพธ์ที่ได้ก็ย่อมไม่เหมือนกัน

ภาษาที่ใช้

ภาษาของคน Proactive สะท้อนออกมาจากความคิดที่ว่า ‘ตัวเราเอง’ มีอิสระที่จะเลือกควบคุมสิ่งที่เราทำหรือพูด

คน Proactive มักจะพูดว่า:

ฉันเลือกที่จะทำ…    ฉันเชื่อว่าฉันทำได้

ฉันจะลองทำดู    ฉันควบคุมอารมณ์ได้

มีทางไหนที่พอทำได้บ้าง


ในขณะที่ภาษาของคน Reactive เต็มไปด้วยการบ่ายเบี่ยง ปัดความรับผิดชอบ หากคุณชอบใช้ภาษาแบบ Reactive นั่นแปลว่าคุณกำลังหยิบยื่นอำนาจในชีวิตให้ผู้อื่นอย่างเต็มใจ เพราะไม่อาจควบคุมความรู้สึกหรือการกระทำได้

คน Reactive มักจะพูดว่า:

ฉันจำต้องทำ…  ฉันทำไม่ได้

ฉันเป็นของฉันแบบนี้   คนอื่นทำให้ฉันโกรธ

เราคงเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้


วิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ

Proactive:

เมื่อต้องตัดสินใจ – หยุดคิดแล้วตัดสินใจเลือกด้วยตัวเอง

เมื่อโกรธ – ควบคุมอารมณ์ได้ คิดก่อนแล้วจึงพูดหรือทำอะไร

เมื่อทำพลาด – คิดว่าตัวเองปรับปรุงแก้ไขอะไรได้บ้าง


Reactive:

เมื่อต้องตัดสินใจยังไงก็ได้ แล้วแต่คนอื่นแล้วกัน

เมื่อโกรธ – ขอพูดให้สะใจ ใครจะรู้สึกอย่างไร ไม่สนใจ

เมื่อทำพลาด – คิดแต่ว่าคนอื่นต้องแก้ไขอะไรบ้างโดยลืมย้อนมองตัวเอง

 

ขอบคุณ แหล่งที่มา  แนวคิด Proactive vs Reactive   จาก

 

https://www.pacrimgroup.com/th/proactive-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-reactive-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AB/

 

 


No comments:

Post a Comment