วันที่ 25
กุมภาพันธ์ 2558 วันนี้ผมนายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุมสัมมนาโครงการพัฒนาเครือข่ายวิชาการหมออนามัย
เพื่อสนับสนนุการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพชุมชน ณ หอประชุม
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช .) อาคารศูนย์ราชการ กรุงเทพมหานคร
โดยมีภาคเครือข่าย
หมออนามัย เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจาก สมาคมชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
สมาคมหมออนามัย และ เครือข่ายปลายปากกา หมออนามัย
ประธานการจัดประชุม โดย
นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วิทยากร ร่วม โดย นพ.ชูชัย ศรชํานิ
ประธานกลุ่มภารกิจสนับสนุนเครอืข่ายระบบบริการ ปฏิบัติงานแทนเลขาธิการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประสานการประชุมด้วยดี
โดย นายปริญญา ระลึก นักวิชาการกลุ่มภารกิจสนับสนุนเครือข่ายระบบบริการ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ภายใต้หลักคิด เราจะไม่ยอมจำนน
ต่อ ปัญหา ที่รุมเร้าที่เข้ามา สู่ รพ.สต.
สรุปการประชุมเครือข่ายหมออนามัย
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพชุมชน
วันที่
25 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09.00-12.30 น. ณ ห้องประชุม 401 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เริ่มประชุมเวลา
09.00 น.
1.Update
สถานการณ์ โดยนายแพทย์วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการ สปสช.
1.1
การทำงานร่วมกับเครือข่ายหมออนามัยของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
จะเป็นการหนุน
เสริมพัฒนาหมออนามัยและสาธารณสุขอำเภอ
โดยเฉพาะด้านวิชาการที่พบข้อจำกัดในการดำเนินงานผ่านกลไก
ระบบราชการปกติ
1.2
ทิศทางและแนวโน้มของรัฐบาลภายใต้ คสช. และสถานการณ์ด้านสังคม
ชาวบ้าน เปลี่ยนแปลงสู่ยุค
ของข้อมูลข่าวสาร
หมออนามัยต้องปรับตัว การถ่ายโอนของสถานีอนามัยไปอยู่กับองค์กรปกครองท้องถิ่น
50 แห่ง
บางแห่งถ่ายโอนแล้วไปได้ดี
บางแห่งยังขัดข้อง ดังนั้นวันที่ 18 มีนาคมนี้
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สปสธ.
(สนย.) จะเชิญผู้บริหารฝ่ายการเมืองของท้องถิ่น(นายก)ทั้ง 35 พื้นที่ ที่รับไปดูแลสถานีอนามัยถ่ายโอนมาหารือ
แลกเปลี่ยนกัน
ความคิดเห็น
1.คุณสำเริง จงกล นายกสมาคมชมรมสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันการทำหน้าที่ให้บริการตามที่
กฎหมายที่กำหนดหรือภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
มีเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป ควรมีการทบทวน ระเบียบ กฎหมาย ที่
เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชน
เช่น มาตรา 41 ของ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ เนื่องจากมีกรณี
การใช้ยา/วัคซีน แล้วแพ้ยาและคนไข้เสียชีวิต เป็นต้น
ข้อเสนอ
ควรมีเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่
เนื่องจากบางพื้นที่มีความซับซ้อน
หลากหลาย
เพื่อหนุนเสริมให้ รพ.สต.ทำงานได้มากขึ้นหรือทำเท่าที่ทำได้ มีมาตรฐาน ยกกรณีตัวอย่างต่างๆ มา
แลกเปลี่ยนกัน
2.บทบาทของชมรม สมาคม มูลนิธิหมออนามัยต่อการหนุนเสริมการทำงานของหมออนามัย
2.1
หมออนามัยตามพื้นที่ชายแดน
หมออนามัยที่ทำงานในพื้นที่ชายแดนติดประเทศเพื่อนบ้าน
เช่น พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย จะมีความ
แตกต่างจากพื้นที่ทั่วไป
ตัวอย่างที่ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ส่วนใหญ่พบว่าปัญหาจะมาจากเพื่อนบ้าน มีการขอ
ความช่วยเหลือจากประเทศไทย
หมออนามัยต้องพัฒนาตัวเองให้มีความพร้อม
(โดยเฉพาะในพื้นที่พิเศษด้วย) และ
พัฒนาเพื่อนบ้านด้วย
รองรับสถานการณ์ต่างๆ เช่น
-มีการเคลื่อนไหว เคลื่อนย้ายผู้คน
-ปัญหาจากการให้บริการคนที่ไม่มี ID 13 หลัก
-บางพื้นที่คนงานต่างด้าว (มีลูกหลาน) ต้องแจ้งเกิด โดยความร่วมมือกับมหาดไทย
สำหรับหมออนามัยเขตเมือง
เขต ปริมณฑล ซึ่งมีความซับซ้อน หลากหลาย มีแนวทางการพัฒนาโดยได้
บรรจุในโครงการทศวรรรษแห่งการพัฒนาบริการปฐมภูมิ
(Super PCU)
ข้อเสนอ
1.ควรมีกลไกสนับสนุน โดยจัดทำเป็นโครงการดูแลการให้บริการคนชายขอบ ชนเผ่า คนไร้รัฐ
รอพิสูจน์
สัญชาติ
ในลักษณะกลไกแม่ข่าย ลูกข่าย โดยให้ขึ้นรูปเค้าโครงให้ได้ในปี
2558 และดำเนินการเป็น Phasing
2.ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย)
ได้จัดทำคู่มือการให้บริการตรวจวินิจฉัยโรค
เบื้องต้น
เป็นภาษา AEC อาจนำต้นฉบับมาตีพิมพ์เผยแพร่มาต่อยอดขยายผล
ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
3.สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ท่านทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาตามชายแดนพื้นที่ชายแดน
เสี่ยงภัย
ท่านทรงเคยพบคนชายขอบและจัดให้คนชายขอบที่ไม่มี
ID เป็นคนจนประเภท 3 (ประเภท 1 : คนจนแต่เข้าถึง
บริการสาธารณสุข,
ประเภท 2 : คนจนเข้าไม่ถึงบริการ เนื่องจากห่างไกลกลไกที่รัฐมี)
ดังนั้นการจัดการให้คนชาย
ขอบไม่มี
ID 13 หลัก ซึ่งเป็นคนจนประเภท 3 ได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ
จึงเป็นการสร้างบุญกุศลเป็นอย่างสูง
กับคนที่อาศัยในแผ่นดินไทย
2.2
หมออนามัย กับการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น
หมออนามัยมีฐานะเป็นคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
มีบทบาทในการสนับสนุน
วิชาการต่อการไปหนุนเสริมให้ท้องถิ่น
ภาคประชาสังคมได้ทำหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในชุมชน กับอีกมุม
หนึ่งการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หมออนามัยต้องเรียนรู้การทำงานในมิติต่างๆ ของท้องถิ่นด้วย
ทั้งเรื่องทิศทางนโยบาย
เรื่อง กองทุนต่างๆ ที่ท้องถิ่นดูแล เรื่อง การจัดทำแผน เป็นต้น
สถาบันพระบรมราชชนก
(โดย วสส./วพบ.) เคยมีหลักสูตรการเรียนและส่งนักศึกษา
ลงพื้นที่ ในเขต
ชายแดน
และองค์กรปกครองท้องถิ่น ทำให้ได้เรียนรู้การทำงานของพื้นที่ได้จริง ควรมีการดำเนินการต่อเนื่อง
จะ
เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
มีข้อสรุปจากการประชุมเรื่อง
รพ.สต.ถ่ายโอนฯ
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 ณ กระทรวงสาธารณสุข
ได้ข้อสรุปเพื่อเป็นข้อเสนอของ
กลุ่ม รพ.สต.ที่ถ่ายโอนไปอยู่กับ
อปท. 3 ประเด็น คือ การขยายกรอบตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่งซี
8 และการไม่ขึ้นกับกองสาธารณสุข
ข้อเสนอ
อาจจัดทำโครงการเพื่อนำร่องจับคู่สถานีอนามัยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ภายใต้มิติการบริหาร
จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น
เป็นจังหวัด หรือ เขต หรือภาค เพื่อศึกษาเรียนรู้แลกเปลี่ยน และ
พัฒนา
ต่อไป
2.3
กำลังคนของสถานีอนามัย (รพ.สต.)
สถานการณ์ของบุคลากรใน
รพ.สต. นอกเหนือจากนักวิชาการสาธารณสุข
จพง./จนท.สาธารณสุข
-พยาบาลวิชาชีพ ใน รพ.สต. ครอบคลุมประมาณ
70-80%
-แพทย์แผนไทย ช่วงปี 2552 ภายใต้โครงการiไทยเข้มแข็ง ได้มีแนวทางให้ลูกจ้างของ รพ.สต.
มาเรียนเป็น
ผช.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
/ ผช.แพทย์แผนไทย ดำเนินการโดยวิทยาลัยการ
สาธารณสุข
วสส. เป็นเวลา 4 เดือน ทำให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ ออกมาให้บริการแก่
ประชาชนเป็นอย่างดี
แต่การเมืองเปลี่ยน โครงการจึงพับไป
-ทันตาภิบาล มีจำนวนทั้งสิ้น ประมาณ 3 พันคน และขณะนี้สถาบันพระบรมราชชนก
ไม่ผลิต
แล้ว
ทั้งๆ ที่มีความสำคัญและความจำเป็น และรองรับ
AEC ซึ่งกรณีทันตาภิบาล เป็นกรณี
ตัวอย่างที่ต้องมองถึงความก้าวหน้าและศักดิ์ศรีของทันตาภิบาลด้วย
-หมออนามัยติดปีก เป็นตัวอย่างโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลใน รพ.สต.ในพื้นที่
ห่างไกลทุรกันดารของจังหวัดตาก
โดยการเพิ่มทักษะและองค์ความรู้ด้านการรักษาพยาบาล
เบื้องต้นให้กับหมออนามัย
ลักษณะการจ้าง
มีทั้งเป็นลูกจ้าง พนักงาน และข้าราชการ
-การจ้างโดยการไม่มีตำแหน่ง อาจดำเนินการลักษณะพิเศษ โดยกลไกพิเศษ ไม่ใช่ระบบราชการ
-ต้องคิดนอกกรอบ จึงจะเติมเต็มความขาดแคลนบุคลากรของ รพ.สต. เช่น โครงการพยาบาล
แพทย์ชนบทคืนถิ่น
เป็นต้น)
ข้อเสนอ
(1)
นัดหารือกับ สถาบันพระบรมราชชนก เรื่อง หลักสูตร ผช.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข / ผช.แพทย์แผน
ไทย/หมออนามัยติดปีก (วันที่ 16 มีนาคม
2558 เวลา 09.00-12.00 น.)
(2)
มีตัวอย่าง มูลนิธิท้าวมหาพรหม ซึ่งได้ให้การสนับสนุนหน่วยงานด้านสาธารณสุขมากว่า
30 ปี ซี่ง
เครือข่ายหมออนามัย
อาจเสนอขอรับการสนับสนุนทุนการผลิต พัฒนากำลังคน ของ รพ.สต. โดย
ไม่ต้องรอระบบปกติ
(ระบบราชการ)
3.การออกแบบร่าง งานสาธารณสุขในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ โดยเครือข่ายหมออนามัย
คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
(กนพ.) ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2557
โดยมีหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) เป็นประธาน ได้ให้ความเห็นชอบพื้นที่ที่
มีศักยภาพเหมาะสมในการจัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรกของไทยใน
5 พื้นที่ชายแดน เพื่อให้
สามารถก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์ในปี
2558 ได้แก่
(1)
แม่สอด
(2)
อรัญประเทศ
(3)
ตราด
(4)
มุกดาหาร
(5)
สะเดา (ด่านศุลกากรสะเดาและปาดังเบซาร์)
คำสำคัญที่เกี่ยวข้อง
o
การให้สิทธิประโยชน์ การให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ มาตรการสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าว
o
ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน สาธารณสุขและความมั่นคงเสนอแนวทางจัดระบบการจ้างแรงงาน
ต่างด้าว
o
เตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจและการรับฟังความความคิดเห็นของภาคส่วนการพัฒนาในพื้นที่
ชายแดน
o
เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มการจ้างงานและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชน
นโยบายที่เกี่ยวข้อง
ของ รมว./รมช.สธ.
:13 กันยายน 2557
ข้อ
2.6 เร่งรัดพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการสุขภาพ และพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพ
สำหรับประชากรที่
มีความต้องการบริการรูปแบบพิเศษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าถึงบริการสำหรับคนพิการ ประชากรที่มีปัญหา
สถานะและสิทธิ์
ประชากรต่างด้าว/แรงงานต่างด้าว
ประชาชนตามพื้นที่พิเศษ เช่น ชายแดนห่างไกล 5 จังหวัด
ภาคใต้
และการสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานนอกระบบ
สถานการณ์สืบเนื่องด้านนโยบาย
วันที่
2 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ประชุมรับฟังความคิดเห็นทั่วไป
ภายใต้ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ
รร.เซนทราศูนย์ราชการฯ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้แลกเปลี่ยนกับแกนนำเครือข่ายหมอ
อนามัย
และให้มาช่วยกันคิดออกแบบการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยอาจเป็นลักษณะนำร่อง คู่ขนานไปกับ
การจัดทำแผนใหญ่ที่อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี
จึงเป็นที่มาของการยกร่างแผนนี้
สถานการณ์เมื่อเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษเต็มรูปแบบ
(ความเห็นของที่ประชุม) ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น
o
โรคติดต่อ
o
ผลิตภัณฑ์อาหารและยา
o
ขยะ
o
การมีหลักประกันสุขภาพ (ภาคสมัครใจ)
o
อัตรากำลังที่เหมาะสม
ร่าง
แผนการดำเนินงานช่วงปี 2558 (นำร่อง
ที่แม่สอดก่อน)
1.Work
shop เพื่อผลักดันให้เกิดรูปธรรมของแผนและการดำเนินการ (ประมาณ เมษายน 2558) กับ
1.1
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะเทศบาลใน 5 พื้นที่พิเศษ
1.2
กระทรวงสาธารณสุข (สสอ./เวชกรรมสังคม/ด่านควบคุมโรค)
1.3
กระทรวงแรงงาน (แรงงานจังหวัด)
1.4
นักวิชาการ
1.5
ฝ่ายการเมือง (ทีมงานที่ปรึกษา รมว./รมช.)
1.6
ภาคประชาชน ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่
1.7
รพ.สต.ในพื้นที่อำเภอของแม่สอด
1.8
ท้องที่ (นายอำเภอ ปลัด)
2.แผนการดำเนินการระยะใกล้ (มีนาคม-เมษายน 2558)
2.1
เครือข่ายหมออนามัย เป็น focal point
2.2
สปสช.สนับสนุนการจัดประชุม
2.3
จัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย
2.4
เชิญผู้บริหารลงพื้นที่
2.5
เสนอฝ่ายนโยบาย การเมือง
มติที่ประชุม
มอบผู้ประสานงานเครือข่ายหมออนามัยของ
สปสช.(คุณปริญญา ระลึก) ไปดำเนินการตามแผนที่เสนอ
4.การบริหารจัดการวารสารหมออนามัย โดยเครือข่ายปลายปากกา
วารสารหมออนามัยได้ก่อตั้งมา
20 ปี และปิดตัวลงเมื่อปลายปี 2554 จากนั้นได้เปิดตัวอีกครั้งในรูปแบบ
E-book
เมื่อกลางปี 2555 ปัจจุบันเดินมาถึงฉบับที่
10 (E book vol 10 หรือปีที่ 24 ฉบับที่
1 ประจำเดือน
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558) วารสารมีความต้องการเนื้อหาจากพื้นที่
และการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมที่เป็น
รูปธรรม
ต่อเนื่องจากหมออนามัย ซึ่งได้มีการรวมกลุ่มเครือข่ายปลายปากกา มีการจัดทำ
website และ face
book
เพื่อเผยแพร่เนื้อหาของวารสาร
ช่วงปลายปีที่ผ่านมา
ได้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ส่งบทความ เรื่องเล่าจากหมออนามัย ชิงรางวัล
ทำให้ได้มาซึ่งเนื้อหา
จำนวนหนึ่ง (18 เรื่อง) ได้ทยอยลงในวารสารมาระยะหนึ่ง และควรมีการจัดการให้ได้มาซึ่ง
เนื้อหาอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอ
ของที่ประชุม
(1)
ควรมีการประชุมกองบรรณาธิการวารสารหมออนามัยก่อนขึ้นฉบับใหม่ทุกครั้ง
โดยเริ่มฉบับ e book ที่
12
เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2558
(2)
เนื้อหาของวารสาร อาจมีเรื่องราวของหมออนามัย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สาเหตุของงาน ANC ต่ำ
อาจมาจากการมีหมอพื้นบ้าน
ประเพณีทางศาสนา ค้นหาสาเหตุของปัญหา ผลงานการฉีดวัคซีนต่ำ
เนื่องจากสาเหตุอะไร
เพราะความเชื่อมั่นต่อ product หรือไม่ประชาชนในพื้นที่คิดอย่างไร
ผู้นำศาสนา
จะช่วยได้อย่างไร
(3)
อาจจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการของ รพ.สต..เฉลิมพระเกียรติ แล้วได้ผลงานมาลงวารสาร
(4)
อาจจัดกลุ่ม รพ.สต.ตามแนวชายแดน
โดยแบ่งเป็นภาค หรือ รพ.สต.แพทย์แผนไทย
แพทย์ทางเลือก
จับคู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้
Buddy ระหว่างภาค ข้ามภาค แล้วให้เขียนเรื่องราวมาลงวารสาร ทำไป เรียนรู้ไป
พัฒนาไป
จัดประเด็น จัดทีม มอบหมายงาน จัด event ออกสื่อ
ฯลฯ
(5)
อาจจัดการให้มีเวทีให้นักเขียนหน้าใหม่ นักเขียนหน้าเก่า มาพบปะแลกเปลี่ยนกัน
แล้วเขียนเรื่องออกมา
ให้ได้คนละเรื่อง
ในคราวนั้น
(6)
เรื่องราวในพื้นที่มีมากมาย หมออนามัยมีประสบการณ์มาก บางคนพูดเก่ง คุยเก่งแต่เขียนไม่เป็น
บางคน
เจอเหลี่ยมคนไข้
เช่น ทำหมันแล้ว แต่ยังมาขอยาคุมกำเนิด เป็นต้น
(7)
ที่อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา มีแนวทางให้ รพ.สต.เขียนเรื่องเล่า เป็นประจำทุกเดือน เป็นการพัฒนา
ทักษะและงานของเจ้าหน้าที่ไปในคราวเดียวกัน
(8)
สำี นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส.)
เป็นแหล่งทุนที่น่าสนใจ ที่เครือข่าย ชมรม สมาคม
หมออนามัย
ควรจัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนการดำเนินงาน
เลิกประชุมเวลา
12.30 น.
นายปริญญา
ระลึก บันทึก สรุปประชุม
รายนามผู้เข้าประชุม
1)
นายวีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2)
นายชูชัย ศรชำนิ ประธานกลุ่มภารกิจสนับสนุนเครือข่ายระบบบริการ สปสช.
3)
นายปรเมษฐ์ จินา ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
4)
นายสำเริง จงกล นายกสมาคมชมรมสาธารณสุข
5)
นายสาคร นาต๊ะ นายกสมาคมหมออนามัย
6)
นายธาดา วรรธนปิยกุล ประธานมูลนิธิเครือข่ายหมออนามัย
7)
นายสบโชค พูลสุข ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
8)
นายสุรศักดิ์ ชัยชนะ ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
9)
นายสมนึก จันทร์เหมือน สมาคมหมออนามัย
10)
นายมงคล เงินแจ้ง สมาคมหมออนามัย
11)
นายสุชาติ มงคล สมาคมหมออนามัย
12)
นางวิมาลา พุทธวัน มูลนิธิเครือข่ายหมออนามัย
13)
นายมานพ ทองตัน มูลนิธิเครือข่ายหมออนามัย
14)
นายบุญเลิศ ยอดสะเทิ้น สมาคมชมรมสาธารณสุข
15)
นายศุกรี รัตนประโคน สมาคมชมรมสาธารณสุข
16)
นายบรรจง ชัยกา สมาคมชมรมสาธารณสุข
17)
นายพีรพล เหนือเกาะหวาย เครือข่ายปลายปากกาหมออนามัย
18)
นายวันชัย บ่อเงิน เครือข่ายปลายปากกาหมออนามัย
19)
นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เครือข่ายปลายปากกาหมออนามัย
20)
นายทรนง ศรีมันตระ เครือข่ายปลายปากกาหมออนามัย
21)
นายชัยวัฒน์ ภูทอง เครือข่ายปลายปากกาหมออนามัย
22)
นายสฤษดิ์ ผาอาจ เครือข่ายปลายปากกาหมออนามัย
23)
นางจงกลนี นวลทา เครือข่ายปลายปากกาหมออนามัย
24)
นายปริญญา ระลึก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
25)
นางดวงกมล อิทธิสารนัย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
26)
นางสาวกนกวรรณ ปั่นสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
27)
นางสาวอาภาพร พงพิละ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สรุปเนื้อหาสาระ จากการประชุม อาทิเช่น
หมออนามัยควรจะร่วมกันผลักดันและสนับสนุน
ในประเด็นการส่งเสริมการปฏิบัติงานของหมออนามัย
เรื่องที่ 1. การจัดเวทีเกี่ยวกับ ระเบียบ กฎหมาย ที่เอื้อ
หรือ สนับสนุนการปฏิบัติงาน
เช่น กฎหมาย กำหนดให้การปฏิบัติงานกับบุคคล
แบบแยกส่วน และบางครั้ง แยกมากๆ เป็นอวัยวะ เลย
เช่น การตรวจโรค โดยแพทย์ การให้ยา โดย
เภสัชกร การบริการโดย พยาบาล การฟื้นฟูสภาพ โดย นักกายภาพบำบัด
การนวด โดย นักการแพทย์แผนไทย การดูแลฟัน
โดย ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล การป้องกันโรค การให้วัคซีน
โดย นักสาธารณสุข เป็นต้น
ความจริง
ถ้ามีคนไข้เดินมา ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1
คน และมีเจ้าหน้าที่ ที่อยู่ปฏิบัติงาน เพียง 1 คน จะเลือกปฏิเสธ การให้บริการได้ไหม หรือ ต้องส่งต่อ
แต่ระยะทางที่จะเดินทางไป ข้าเขา ข้ามป่า ระยะทางประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง จะทำอย่างไร
เช่น
จะมาทำคลอด ใครจะทำ จะทำได้ไหม ทั้งๆที่ เดิม
พวกเราเคยให้บริการเหล่านี้ให้กับเขาได้
ถ้าเกิดความบกพร่องจากการให้บริการ หากปรึกษา
นิติกร แทนที่ นิติกร จะช่วยเรา ให้หายเครียด เชาก็จะช่วย ซ้ำเติม เราอีก ว่า
ไปทำได้อย่างไร มันผิดกฎหมาย เป็นต้น
เรื่องที่ 2. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร รพ.สต.
2.1 การประชุม เวทีความร่วมมือ ระหว่างประเทศ ของ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.
ความเดิม สายวิชาชีพอื่นๆ เช่น
แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ ที่ปฏิบัติงาน ใน โรงพยาบาล มี โอกาสเข้าประชุม
เวทีความร่วมมือ ระหว่างประเทศแต่ ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ไม่มี คำว่าไม่มี
คือไม่มีแม้ แต่โอกาส
2.2 การคัดเลือก บุคลากร รพ.สต. เพื่อไปศึกษาต่อ ฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ
ความเดิม
สายวิชาชีพอื่นๆ เช่น แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ ที่ปฏิบัติงาน ใน โรงพยาบาล มี
โอกาส ศึกษาต่อ ฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ แต่ ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ไม่มี คำว่าไม่มี
คือไม่มีแม้ แต่โอกาส
เรื่องที่ 3 . เวทีการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ให้เป็นระบบ
ปัญหาการปฏิบัติงานของ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชายขอบ
หรือ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตเมือง เป็นต้น
ปัญหาการขาดแคลน
คน ขาดแคลน เงิน ขาดแคลนทรัพยากร
ปัญหาการขอเลขประจำตัวประชาชน
คนงานต่างด้าว (มีลูกหลาน) ต้องแจ้งเกิด
ต้องมีความร่วมมือกับ กระทรวงมหาดไทย
ให้เป็นระบบ ปัจจุบัน บางแห่งสามารถแจ้งเกิดได้ บางแห่งได้
บางแห่งได้โดยมีเงื่อนไขพิเศษต่างๆ เป็นต้น
เรื่องที่ 4 . เวทีการประสานให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กับภาคท้องถิ่น
สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้เป็นเครือข่าย
และเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับตำบล จนถึงระดับกรม ระดับกระทรวง โดยประสานร่วมมือกับ
สถาบันพระบรมราชชนก ที่มีความเชี่ยวชาญ ในการพัฒนาคน
ให้เป็นเจ้าภาพหลักในเรื่องนี้ เป็นต้น
โดยสามารถแก้ไขปัญหา
ความขาดแคลนบุคลากร ใน รพ.สต.ได้ เช่น โครงการความร่วมมือ กับ อปท.
เพื่อการผลิต หมออนามัย 1
ตำบล 1 ปี 1 คน เป็นต้น (
โดยคัดเลือก จากคนในนพื้นที่ไปเรียน)
เรื่องที่ 5 . เวทีการประสานให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กับภาคท้องถิ่น
สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้เป็นเครือข่าย
และเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับตำบล จนถึงระดับกรม ระดับกระทรวง โดยประสานร่วมมือกับ
สถาบันพระบรมราชชนก ที่มีความเชี่ยวชาญ ในการพัฒนาคน
ให้เป็นเจ้าภาพหลักในเรื่องนี้ เป็นต้น
เรื่องที่ 6 . เวทีการแก้ปัญหา ความขาดแคลน คน ใน รพ.สต.
โดยพัฒนาเป็นเครือข่าย
และเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับตำบล จนถึงระดับกรม ระดับกระทรวง โดยประสานร่วมมือกับ รูปธรรมที่
สามารถเป็นตัวอย่างได้ เช่น การแก้ปัญหา การขาดแคลน ทันตาภิบาล โดยการคิดนอกกรอบ
ของ นพ.วุฒิไกร มุ่งหมาย อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด อุบลราชธานี ผลิตร่วมกับวิทยาลัย โยให้ โรงพยาบาลเป็นครู
การแก้ปัญหา
ผู้ให้การบริบารผู้ป่วย โดย Care Team ที่ ลำสนธิ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น
ภาพและข่าว
อยู่ระหว่างการปรับปรุง
การรื้อฟื้น
การพัฒนาลูกจ้าง รพ.สต. เข้ารับการอบรม 4
เดือน หลักสูตร ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย เป็นต้น (
วสส.ฝึกอบรมให้กับ ลูกจ้า รพ.สต. ตามโครงการไทยเข้มแข็ง
แต่ผลิตเพียงรุ่นเดียว)
District Health
ขอเพียงให้มี งบดำเนินการ และ งบ
Fixed Cost ให้เขาดำเนินการ รสอ.หรือ DHS จะประสบผลสำเร็จ
แน่นอน
อำเภอ ละ 1,000,000
Fixed Cost 50% งบดำเนินการ 50%
จุดอ่อน หรือ จุดบอด ของ
DHS ปัจจุบัน คือ ที่
สสอ.ไม่มีงบบริหาร สำหรับ การดำเนินงาน
หน่วยบริการ ทุกระดับ มีงบสำหรับดำเนินการ
แล้ว
ปัจจุบัน
งบประมาณ ของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช .) ทั้งหมด ร้อยละ 80
ทุ่มไปกับด้านการรักษา
อีก
ร้อยละ 10 กว่า ๆ
เป็นด้านการส่งเสริมป้องกัน
แต่
ในส่วนนี้ ส่วนมาก โอนไป ในโรงพยาบาล
ไม่มีงบประมาณ สำหรับ ให้ สาธารณสุขอำเภอ
บริหาร ให้เป็นไปตามนโยบาย ได้เลย
หากมี
งบประมาณ สำหรับการบริหารจัดการ ให้กับ สาธารณสุขอำเภอ เพื่อควบคุมกำกับ งบ PP
ของ หน่วยบริการ และ
ควบคุมกำกับ การใช้ งบประมาณ ของกองทุน ร่วมกับท้องถิ่นด้วย
สรุป ข้อคิดเห็น อื่นๆ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557