2/20/15

12กพ.2558:ยโสธรพัฒนานักวิจัย_ดร.มนพ คณะโต_วิทยากร



12กพ.2558:ยโสธรพัฒนานักวิจัย_ดร.มนพ คณะโต_วิทยากร
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 วันนี้  ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง  เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนางานวิจัยยาเสพติด ครั้งที่ 2
ตาม โครงการบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด จังหวัดยโสธร ณ ห้องมรกต โรงแรมเจพี เอมเมอรัลด์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
วิทยากร โดย ดร.มนพ คณะโต ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทน์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

            ต่อไปนี้ คือ บันทึก เตือความจำ ของข้าพเจ้า ในขณะรับฟังการบรรยายครับ
... อาจจะไม่สามารถใช้อ้างอิงได้อย่างสมบูณ์แบบครับ
แบบการวิจัย        คือ Design 
Method วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล คือ วิธีการเก็บข้อมูล คือ เชิงปริมาณ กับเชิงคุณภาพ
Mixed Method คือ วิธีการเก็บข้อมูล ผสมผสานทั้ง เชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ

สิ่งที่มุ่งหวังจากการการทำวิจัย คือ เพื่อให้ได้ องค์ความรู้
องค์ความรู้ ได้มาจากไหน ตามลำดับชั้น ของความน่าเชื่อถือ ดังนี้
องค์ความรู้ จากทฤษฎี
องค์ความรู้จากการวิจัยชั้นดีเยี่ยม คือ งานวิจัยที่ มีอคติน้อย (มีความคลาดเคลื่อนน้อย) และควบคุมตัวแปรได้ดี
องค์ความรู้จากการวิจัยทั่วไป
องค์ความรู้อื่นๆ เช่นจาก หนังสือพิมพ์ Internet Line เรื่องเล่า
            ( เป็นองค์ความรู้ที่ไม่สามารถทำซ้ำได้ )
ระดับความน่าเชื่อถือ ขององค์ความรู้ ตามลำดับดังนี้
การสังเคราะห์การวิจัย       
Experimental การวิจัยเชิงทดลอง สามารถควบคุมตัวแปรได้ทั้งหมด ยกเว้น Intervention ที่ ใส่เข้าไป
กลุ่มหนึ่งได้ กลุ่มหนึ่งไม่ได้ เป็นต้น
Cohort คือ การศึกษาไปข้างหน้า
            ศึกษษว่าบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งปอด หรือไม่ ศึกษาจาก เด็ก 2 กลุ่ม ศึกษาไป 40 ปี
            กลุ่มที่ 1 ไม่ให้สูบ
            กลุ่มที่ 2 ให้สูบบุหรี่
ครบ 40 ปี สรุปประเมินผล
Case Control คือการศึกษาย้อนไปย้อนหลัง
            ที่ให้น้ำหนักน้อยกว่า เพราะข้อเสีย ของ Case Control คือ ความทรงจำของคน มี Limit        อาจทำให้เกิดความเคลื่อนในการให้ข้อมูลได้ เช่น จำได้ไหมว่า เมื่อเริ่มสูบบุหรี่ เมื่อ 10 ปี่ที่แล้ว สูบวันละ กี่มวน
Comparative Crossectional การศึกษาเปรียบเทียบ
            คนที่มีระดับ การศึกษา ต่างกัน มี ฐานะต่างกัน
แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่า ร่ำรวยแล้ว ส่งให้มีการศึกษาสูง
หรือ มีการศึกษาสูงแล้ว ทำให้ร่ำรวย เป็นต้น
Descriptive        การศึกษาในกลุ่มเดียวเลย  
Case Report       ศึกษาเฉพาะกรณี  

ต้นแบบการวิจัยทางระบาดวิทยา
1 มี การแทรกแซง หรือไม่ Intervention       มี          เป็น การวิจัยเชิงทดลอง
นักวิจัยกำหนดมาตรการแทรกแซงและจัดการ
กระทำต่อกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา
เช่นกำหนด ได้ว่าจะให้รางจืดกี่เม็ดในแต่ละวัน
กรณี ที่สิ่งแทรกแซงนั้น มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เราไม่ได้ จัดกระทำ ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น  Intervention แต่เรียกว่า Exposure เช่น ฝุนหิน ฝุ่นละออง ใกล้ๆ โรงโม่หิน ที่มีอยู่แล้ว นักวิจัยไม่สามารถ Regulate Exposure เหล่านั้นได้ ก็จะเป็น เชิงวิเคราะห์

ถ้าไม่มี ตามต่อ
2 มี กลุ่มเปรียบเทียบหรือไม่ Compare         มี          เป็น การวิจัยเชิงวิเคราะห์
วิเคราะห์จากเหตุไปผล หรือ จากผลไปเหตุ ก็ได้
ถ้าไม่มี 
3 เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย   ผู้วิจัยศึกษาจากประชากรกลุ่มเดียว

การเลือกแบบของการวิจัย ขึ้นอยู่กับ
ประเภทของปัญหาการวิจัย
องค์ความรู้ เกี่ยวกับปัญหาการวิจัย
ร้ปัญหา มากน้อยแค่ไหนหรือยัง
รู้สาเหตุของปัญหาหรือยัง
รู้วิธีการแก้ปัญหาหรือยัง
ทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว สำหรับการวิจัย
            งบประมาณ เวลา ความทุ่มเท
ความคิดสร้างสรรค์ของนักวิจัย
ประเภทของปัญหาการวิจัย
องค์ความรู้ เกี่ยวกับปัญหาการวิจัย

การทำงานที่ดี ต้องทำตามลำดับ
ร้ปัญหา มากน้อยแค่ไหนหรือยัง
รู้สาเหตุของปัญหาหรือยัง
รู้วิธีการแก้ปัญหาหรือยัง

แบบของการวิจัย มี 2 กลุ่มใหญ่
กลุ่มที่ 1 การวิจัยแบบปลอดการเข้าแทรกแซง (Non-Intervention Studies)
กลุ่มที่ 2 การวิจัยแบบเข้าแทรกแซง (Intervention Studies) หรือ การวิจัยเชิงทดลอง

แบบปลอดการเข้าแทรกแซง( Non Intervention)
            ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ เป็นแบบพรรณนา        
                        ตัดขวาง
                        ระยะยาว
มีกลุ่มเปรียบเทียบ แบบวิเคราะห์     
            Cross sectional
            Case Control
            Cohort

Cross sectional คือการศึกษา ณ ปัจจุบัน
Retrospective ศึกษาจากปัจจุบันย้อนไปในอดีต
ศึกษากผลไปหาเหตุ เรียกว่ Case Control
เอาผู้เป็นโรค กับ ผู้ไม่เป็นโรค มาศึกษา ย้อนหลัง หาปัจจัยว่า ปัจจัยใดก่อให้เกิดโรค
Prospective ศึกษาจากปัจจุบันไปในอนาคต
ศึกษากเหตุไปหาเผล เรียกว่ Case Control
เอาผู้เป็นโรค กับ ผู้ไม่เป็นโรค มาศึกษา ย้อนหลัง หาปัจจัยว่า ปัจจัยใดก่อให้เกิดโรค

แต่มีการศึกษา จาก อดีตมาถึงปัจจุบัน เรียกว่า Historical Cohort
            เช่น ศึกษาว่าที่ตั้งหมู่บ้านใกล้พื้นที่ปลูกกัญชา จะสูบกัญชา มากกว่า หมู่บ้านที่ห่างไกลหรือไม่
ศึกษาจาก เด็กอายุ 20 ปี ทั้ง 2 หมู่บ้าน มาตรวจปัสสาวะดูเลย เป็นต้น
            หรือ คนทานน้ำบ่อจะเป็นนิ่วมากกว่าคนที่กินน้ำประปา หรือไม่ เป็นต้น
            หรือ คนงานที่ทำงานในโรงงานผลิตไฟฟ้าถ่านหินป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจมากกว่า โรงงานผลิตไฟฟ้าเขื่อนภูมิพลเป็นต้น ตรวจสุขภาพคนงานแรกเข้า และตรวจอีกทีเมื่อถึงเวลาที่กำหนด เช่น 30 ปี เป็นต้น

ส่วนมาก จะเป็น
Prospective Cohort ศึกษาจากปัจจุบันไปในอนาคต หรือ
Historical Cohort การศึกษาจากอดีตมาถึงปัจจุบัน

แบบมีการเข้าแทรกแซง (ใส่Intervention)
            ทดลองใน Laboratory
            ทดลองใน Animal
            ทดลองใน มนุษย์
                        วิจัยทดลองในคลินิก Clinical Trial
                        วิจัยทดลองในสภาพกึ่งบังคับ
วิจัยทดลองในชุมชน Community Trial
            เช่น ใส่ Intervention ผ่านหอกระจายข่าว ให้
            ชุมชนนี้ให้ ชุมชนนี้ไม่ให้  แต่วัดผลในระดับบุคคล

การศึกษาแบบบรรยาย เป็นการเก็บข้อมูล และนำเสนอเพื่อให้ภาพปัญหามีความชัดเจน
            Case Study        ศึกษาอธิบายเฉพาะรายเชิงลึก
                                    เช่นศึกษา 5 Case ในกลุ่มที่ใช้ยา หลายๆตัว
                                    ทั้งประเภท ใช้ทดแทน ใช้แก้ขัด ใช้เสริม
                                    เช่น ถ้ากินเหล้า แล้ว ต้องสูบบุหรี่
 การสำรวจ Survey           เป็นการศึกษาว่า ข้อค้นพบเป็นอย่างไรในกลุ่มประชากร
            เช่น ในพื้นที่เรา ปัจจุบัน มีการใช้สารเสพติดมากน้อยแค่ไหน
                                    ใช้ประเภทใดบ้าง
                                    โดยส่วนมาก อยู่ในพื้นที่ไหน อยู่ในกลุ่มอายุใด เป็นต้น
            หรือ มีการใช้ยาปกติ ที่ผิดแบบแผน เพื่อวัตถุประสงค์ ในการเสพติด มากน้อยแค่ไหน
การแพร่ระบาด เขตเทศบาล กับเขต ชนบทต่างกันหรือไม่

หัวข้อ ที่ศึกษาแบบเปรียบเทียบ อาทิเช่น
การศึกษาเยาวชนในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข กับ สถานศึกษา สังกัดอื่นๆ
การศึกษาการดื่มเหล้า ของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข กับ ข้าราชการสังกัดอื่นๆ
           
Case Control      เช่น สูบบุหรี่ กับ มะเร็งปอด
            Case     คือ กลุ่มเป็นมะเร็งปอด       กับ Control กลุ่ม ไม่เป็นมะเร็งปอด
            ปัจจัย     คือ สูบบุหรี่ กับ ไม่สูบบุหรี่

Case Control      เช่น ปัจจัยที่ทำให้เสพซ้ำ
            Case     คือ กลุ่มที่เสพแล้วเสพซ้ำ   กับ Control คือกลุ่มที่เสพแล้วไม่เสพซ้ำ       
            ปัจจัย     คือ ปัจจัยเสี่ยง กับ ไม่ไม่ได้รับปัจจัยเสี่ยง
แล้วถามยย้อนหลังไป ทั้ง 2 กลุ่ม
            ข้อสังเกต 1.Case ที่เป็นกลุ่มเสพซ้ำ อาจจะไม่เพียงพอ
                        2. Control ที่เลือกมา นั้น ต้อง รู้ให้ได้ว่า ใครเป็น Case ใครเป็น Control ก่อนการสุ่มตัวอย่าง
หากสุ่มมาแล้ว จึงมา Define ไม่ใช่

ตัวอย่าง กรณีที่สรุปว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมเบาหวาน คือพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
            อย่างนี้ไม่ต้องทำการวิจัยก็ น่าจะรู้อยู่แล้ว เป็นต้น
หรือ สรุปเพศ มีผลต่อการเสพยาบ้า  เพศชายมากกว่า เพศหญิง อย่างนี้ไม่ต้องทำการวิจัยก็ มีข้อมูลอยู่แล้ว เป็นต้น


Cohort   ก็มี 2 กลุ่ม จาก กลุ่ม ที่ได้รับปัจจัยเสี่ยง กับ กลุ่มที่ไม่ได้รับปัจจัยเสี่ยง แล้วศึกษาไปข้างหน้า
            หลักการสำคัญคือ
ต้อง กำหนดให้ได้ว่า กลุ่มใด ที่ได้รับปัจจัยเสี่ยง กลุ่มใดไม่ได้รับปัจจัยเสี่ยง
แต่ ณ วันที่จำแนก ทั้ง 2 กลุ่ม ต้องยังไม่ป่วย
แล้วศึกษาไปข้างหน้า ถึงวันที่กำหนด วัดว่า 2 กลุ่ม ป่วยเท่าไร ไม่ป่วยเท่าไร
ข้อเสีย วิธีการนี้ คือ ใช้เวลานาน
ข้อแตกต่าง Cohort           กับ Experimental คือ
            การกำหนด Intervention ได้ เช่น จะให้ยาคนไข้กี่ ครั้ง ครั้งละ กี่เม็ด เป็นระยะเวลานานแค่ไหน เป็นต้น
ถ้ากำหนด Intervention ได้ เป็น Experimental
ถ้ากำหนด Intervention ไม่ได้ เป็น Cohort

            หมายเหตุ ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญกับ กลุ่มอายุ 30 ปี ขึ้นไป  เพราะ โดยสภาพแล้ว คนที่เสพ เมื่ออายุมากขึ้นก็จะหยุดเอง หรือหากต้องการเลิกก่อน 30 ปี เขาก็จะเดินเข้ามาหาเราเอง

การบ้าน
ปรับปรุงชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ ขอบเขต สมมุติฐาน
เพิ่มเติม ความสำคัญ แบบการวิจัย
ส่ง ในรูปแบบ  วัน อังคาร เที่ยงวัน  ในรูปแบบไฟล์ ดังนี้
Pantong_yaso_2type_18feb2558.doc
ส่งไปที่ manopkanato@gmail.com
Cc : pis_4444@outlook.com

ความสำคัญ         ทำไมต้องทำเรื่องนี้
แบบการวิจัย        มีกี่กลุ่ม วัดอย่างไร ทำกี่ครั้ง
Download โปรแกรม Winpepi
ให้ Download zip 5.8 Mb

คณะนักวิจัย จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
๑. นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
๒. นางมนัชยา  กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย
๓. นางรัศมี โซ่เงิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาหลู่
๔. นส.จิราภรณ์  ขอสุข      พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ย่อ
๕. ว่าที่ ร.ต.ทวีชัย  ค้าขาย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสิม
๖. นายณรงค์เดช บุญไธสง จพ.เภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดงแคนใหญ่

๗. นส.ศศิธร สมสะอาด จพ.ทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย

No comments:

Post a Comment