19กพ.2558:ครั้ง3ที่รพ.ยโสธร_ดร.มนพ คณะโต_พัฒนานักวิจัย
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 วันนี้ ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนางานวิจัยยาเสพติด
ครั้งที่ 3
ตาม
โครงการบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด จังหวัดยโสธร ณ ห้องประชุม 2 โรงพยาบาลยโสธร
วิทยากร โดย ดร.มนพ
คณะโต ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทน์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ต่อไปนี้
คือ บันทึก เตือความจำ ของข้าพเจ้า ในขณะรับฟังการบรรยายครับ
...
อาจจะไม่สามารถใช้อ้างอิงได้อย่างสมบูณ์แบบครับ
ประชากร >>> ตัวอย่าง >>>ปฏิบัติการวิจัย>>>ข้อค้นพบ(ข้อเท็จจริง+ความคลาดเคลื่อน)
ประชากร Population เป็นกลุ่มของสิ่งที่สนใจศึกษาวิจัย โดยแต่ละหน่วยของสิ่งนั้นเป็นอิสระต่อกัน
หน่วยของสิ่งจะ
ศึกษาอาจมีขนาดใหญ่มาก
เช่น จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
หรือมีขนาดกลาง
เช่น ครอบครัว บุคคล
และยังอาจมีขนาดเล็ก
เช่น จำนวนตัวอย่างในหลอดทดลอง
เกณฑ์
การคัดเลือกประชากร
เกณฑ์การคัดเลือก (Eligibility
Criteria)
เกณฑ์การคัดเลือกเข้า (Inclusion Criteria)
ประชากรเป้าหมาย (Target Population)
ลักษณะทางประชากร คุณลักษณะที่สนใจ
ประชากรที่เข้าถึงได้ (Accessible) การจัดการ ตามถิ่นที่อยู่ ตามช่วงเวลา
เกณฑ์การคัดออก (Exclusion Criteria)
ระบุคุณสมบัติย่อยที่จะไม่นับรวมเข้ามาในการศึกษา
หลังจากมีคุณลักษณะครบตามเกณฑ์คัดเลือกเข้าแล้ว
มีแนวโน้มจะติดตามไม่ได้
หรืออยู่ไม่ตลอดการศึกษา
(ออกกลางคัน)
มีแนวโน้มที่จะให้ข้อมูลไม่ได้
ไม่สมบูรณ์
มีความเสี่ยง อาจเป็นอันตราย
หากร่วมอยู่ในการศึกษา
ไม่สมัครใจร่วมในการศึกษา
ตัวอย่างเช่น
ประชากรเป้าหมายผู้ผ่านค่าย
เป็นกลุ่มผู้ผ่านค่ายที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ผ่านค่ายจากฐานข้อมูลของสำนักงาน
ป.ป.ส. ในระบบสารสนเทศยาเสพติดจังหวัด
ทั้ง 4 จังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ.
2555 - 2556
ผู้วิจัยจะขออนุญาตจากสำนักงาน
ป.ป.ส. นำรายชื่อจากทะเบียนมาจัดทำฐานข้อมูลในการประเมินผล
ยืนยันอัตลักษณ์
บุคคลของผู้ผ่านค่ายตามทะเบียนทั้งหมด
แล้วจึงกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก (Eligibility Criteria) ดังนี้
เกณฑ์คัดเข้า (Inclusion Criteria) ประกอบด้วย
ก) เป็นการบำบัดแบบค่าย
9 วันเท่านั้น ที่ดำเนินการใน จังหวัดเป้าหมาย 4 จังหวัด เฉพาะในปีงบประมาณ 2555-2556 จากการจัดค่ายทั้งหมด
339 ค่ายคาดประมาณว่าเป็นค่ายปรับ เปลี่ยนพฤติกรรม (9 วัน) ประมาณ 1 ใน 3 ทำให้มีค่ายที่อยู่ใน ข่ายได้รับการประเมิน ประมาณ 113 ค่าย
ข) เป็นคนไทยที่มีชื่อที่อยู่ในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ที่ผ่าน
การบำบัดแบบค่าย 9 วัน ใน 4 จังหวัด เฉพาะในปีงบประมาณ
2555-2556
เกณฑ์คัดออก (Exclusion Criteria) ประกอบด้วย
ก) รายชื่อผู้เข้าค่ายในทะเบียนที่ซ้ำซ้อน
ข) รายชื่อผู้เข้าค่ายที่มีทะเบียนบ้านอยู่นอกพื้นที่อำเภอที่จัดค่ายเนื่องจากการติดตามในระบบปกติเจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดตามได้
คาดประมาณผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนค่ายละ 100 คน คาดว่าจะได้ประชากรศึกษา
11,300 คน จะทำการศึกษาทุกรายไม่สุ่มตัวอย่าง คาดประมาณความร่วมมือในการติดตามและตอบกลับร้อยละ
50 ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างประมาณ 5,650 คน
การเลือกประชากรไปสู่กลุ่มตัวอย่าง
ประชากร> ใช้คำถามการวิจัย>> ได้ประชากรเป้าหมาย >ใช้เกณฑ์การคัดเลือก>> ประชากรศึกษา> ใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง>>
ได้ กลุ่มตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่าง Sample Size มีผลต่อความน่าเชื่อถือของงานวิจัย
ภายใต้คำถามที่ว่า
สุ่มอย่างไร กับ สุ่มเท่าไร
สุ่มอย่างไร
การตัดสินใจเลือกวิธีการสุ่มเพื่อให้
ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน (Representative
Samples)
Probability Sampling All Possible Sample
วิธีการเลือกตัวอย่างจากประชากรโดยอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น (Probability theory) มาเป็นแนวทางหลัก
ในการเลือก
กลุ่มตัวอย่างที่มีการกระจายตัวของคุณลักษณะสำคัญ
เหมือนกับการกระจายตัวของคุณลักษณะเดียวกันใน
ประชากร (จำเป็นต้องอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น)
วิธีการที่เชื่อถือได้มากที่สุดคือ สุ่มตัวอย่างโดยวิธความน่าจะเป็นที่ไม่มี
BIAS ในทุกขั้นตอน
ในทางสถิติ ให้การยอมรับวิธีการสุ่ม
แบบนี้ยอมให้มีการคลาดเคลื่อนได้ ร้อยละ 5 หรือ เชื่อมั่นได้ว่า สุ่ม 100
ครั้ง จะได้ค่า กลาง อยู่ระหว่างช่วงที่กำหนด 95 ครั้ง จึงเรียกว่า ช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% หรือ CI
95 %
สุ่มเท่าไร ขนาดตัวอย่างที่เหมาะสม
ก็ขึ้นอยู่กับ ประชากร ที่ศึกษา
ตัดสินใจเลือกวิธีการคำนวณขนาด
ตัวอย่างให้สอดคล้องกับการศึกษา
ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจเพื่อการประมาณสัดส่วนหรือค่าความชุกของโรค
กรณีไม่ทราบขนาดประชากร
ใช้สูตร
n = Z2α/2 P(1-P)
e2
n = ขนาดตัวอย่าง
Zα/2 = ค่ามาตรฐานภายใต้โค้งปกติบนค่าความเชื่อมั่นที่กำหนด
P = สัดส่วนของตัวแปร
(Primary outcome) (มีค่า 0-1)
e = ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นในการประมาณค่าสัดส่วน
ตัวอย่าง
ต้องการศึกษาเพื่อสำรวจถึงสัดส่วนของครอบครัวที่มีผู้ดื่มสุรา
ผู้วิจัยคิดว่าสัดส่วนนี้ควรมีค่าไม่เกิน 35%
ด้วยความเชื่อมั่น 95 % ควรสุ่มตัวอย่างมากี่ครัวเรือน
โดยให้มีความคลาดเคลื่อนในการประมาณ
สัดส่วนไม่เกิน 5 %
จากสูตร ด้านบน
n = ขนาดตัวอย่าง
Zα/2 = 1.96 (จากตาราง z 95% CI=1.96)
P = 35% = 0.35
1-P = 1-0.35 = 0.65
e = 5% = 0.05
แทนค่า n = (1.96x1.96)x(0.35)x(1-0.35) หารด้วย
(0.05 x 0.05)
n = (3.8416)x(0.35)x(0.65) หารด้วย (0.0025)
n = 349.6
แต่ ตัวเลขที่คำนวณได้
เป็นจำนวนต่ำที่สุด ที่ยอมรับได้ ฉะนั้น หากมีทศนิยม ใหห้ปัดขึ้นเสมอ
ฉะนั้น n = 350
นั่นคือ จะต้องใช้จำนวนตัวอย่าง
350 ครอบครัว เพื่อประมาณการครอบครัวที่มีผู้ดื่มสุรา โดยให้มีความคลาดเคลื่อนในการประมาณสัดส่วนได้ไม่เกิน
5%
No comments:
Post a Comment