2/18/15

11 กพ.2558: สาธารณสุขยโสธรนิเทศงาน_คปสอ.คำเขื่อนแก้ว

11 กพ.2558: สาธารณสุขยโสธรนิเทศงาน_คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 สาธารณสุขยโสธรร_นิเทศงาน_คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
วันนี้ผม นายพันธุ์ทอง  จันทร์สว่าง  ร่วมให้การต้อนรับ ภก.องอาจ  แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร(นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านส่งเสริมพัฒนา) และ คณะ จาก สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร
ที่ให้เกียรติ  ออกเยี่ยมให้ทีมงาน คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
                   กิจกรรม การนิเทศงานสาธารณสุขผสมผสาน ครั้งที่ 1/2558 ณ ห้องประชุมม่านเมฆา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
                   โดย นายวิทยา  เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว พญ.เพชรวันชัย จางไววิทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว นำคณะคณะจากโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว  และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ร่วมรับฟังคำแนะนำ จากคณะนิเทศงาน
                   หัวหน้าคณะโดย ภก.องอาจ  แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร(นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านส่งเสริมพัฒนา)
                   ทั้งนี้ เป็นการให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ในทุกระดับ ใน 3 ยุทธศาสตร์ 16 ประเด็น 91 ตัวชี้วัด
                   ภาคบ่าย   ภก.องอาจ  แสนศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร(นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านส่งเสริมพัฒนา) นำคณะ ออกเยี่ยมชม ให้กำลังใจ นางป้อมเพชร สืบสอน และคณะ ณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สงเปือย

มาที่คำเขื่อนแก้วทุกทีมีความประทับใจทุกครั้ง ในบรรยากาศการทำงานเป็นทีมที่ดีของ คปสอ.คำเขื่อนแก้ว
และมีความพึงพอใจในผลการปฏิบัติงานที่ดี ของทีมงานคำเขื่อนแก้ว ในทุกระดับ ”  นางสุนทรี รัศมิทัติ หัวหน้ากลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม สสจ. ยโสธร

ถ้าพูดถึง คำว่า TO BE NUMBER ONE ในชุมชน ทุกคนจะนึกถึง อำเภอคำเขื่อนแก้ว  โดย ชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนแคนน้อย ซึ่งปีนี้ ได้รับรางวัลชมรม  TO BE NUMBER ONE  ประเภทรักษามาตรฐานต้นแบบระดับเงิน ปีที่ 2 จนส่งผลให้ นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่น ด้าน TO BE NUMBER ONE ระดับประเทศ ประจำปี 2558 และ ขอแสดงความดีใจ ที่นายประวัติ ถีถะแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ได้พิจารณาคัดเลือกให้ นางมนัชยา กองทำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแคนน้อย ได้รับรางวัล ข้าราชการดีเด่น ประจำปี 2557 ” นางนิภาภรณ์ ภาคพรหม หัวหน้ากลุ่มงาน สสจ. ยโสธร

คนคำเขื่อนแก้ว อุ่นใจ มีญาติที่เข้าใจ เป็นหมอครอบครัว เป็นคำสร้างพลังที่ดี ในการปฏิบัติงานเรื่อง FCT ซึ่ง คปสอ.คำเขื่อนแก้ว ได้จัดวางโครงสร้างทีม FCT พร้อมแล้ว ทั้งทีมระดับ อำเภอ และระดับตำบล ในการนิเทศงานครั้งต่อไป ให้ FCT ทุกทีม นำเสนอผลการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้ คนคำเขื่อนแก้ว อุ่นใจ ได้อย่างแท้จริงต่อไปโดยสามารถประยุกต์แนวคิดและการปฏิบัติ soft size นำ Hard size จาก ลำสนธิ Model มาใช้ได้ ส่วน Service Plan ให้นำเสนอ Process ในการปฏิบัติงานในแต่ละระบบด้วย”  นางรักชนก น้อยอาสา            งานพัฒนาคุณภาพ และสสม. สสจ. ยโสธร

ขอชื่นชม สถานบริการ 7 แห่ง ที่ มีร้อยละการใช้ยาสมุนไพร ได้เกินกว่าร้อยละ 20 ประกอบด้วย อันดับ 1 รพ.สต.ทุ่งมน ร้อยละ 31 อันดับ 2 สงเปือย 3ดงแคนใหญ่ 4โพนทัน 5บกน้อย และ 6โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว โดยมีภาพรวมร้อยละ 14.86 ”  ภญ.จิตรทิพย์ ชนาเทพาพร งานเภสัชสาธารณสุข สสจ. ยโสธร













ภาคบ่าย นางป้อมเพชร  สืบสอน ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สงเปือย นำคณะ ไปเยี่ยม ชม เมืองโบราณ  สถานที่ท่องเที่ยว สำคัญ ของ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ณ เมืองโบราณ ดงเมืองเตย Unseen in Thailand
สาธารณสุขยโสธรร_เยี่ยมชม โบราณสถานดงเมืองเตย
รายละเอียดภาพ ที่นี่



ขั้นตอนการปฏิบัติงานปกติ ประกอบด้วย การกำหนด นโยบาย และแผน การถ่ายทอดเพื่อนำแผนไปปฏิบัติ
กิจกรรมวันนี้ จึงถือเป็น ขั้นตอน การ Monitoring ให้การปฏิบัติเป็นไปตามแผน โดยกิจกรรมวันนี้จะเน้น การสนับสนุนการปฏิบัติงาน ให้บรรลุผลสำเร็จตามแผนงาน จากทุกกลุ่มงาน โดย มีประเด็นการถ่ายทอดนโยบาย 5 เรื่อง คือ
เรื่อง1. นโยบาย นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง2. นโยบาย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง3. Road Map การพัฒนากระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ วิสัยทัศน์
ภายในทศวรรษต่อไป คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้น
เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั่งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน
เรื่อง4. นโยบาย นพ.สสจ ด้านการบริหารจัดการ
                   เรื่อง การนิเทศงานระดับอำเภอสู่ตำบล
คปสอ.นิเทศผสมผสานระดับอำเภอ 2 ครั้ง/รพ.สต/ปี
คปสอ.ตรวจสอบระบบบัญชี รพ.สต.ในสังกัด
เรื่อง5. แนวทางติดการตามประเมินผลของจังหวัด
5.1 การประเมินผลตามเป้าหมายตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์กระทรวง ทั้งตัวชี้วัดระดับกระทรวง (21 KPI) ตัวชี้วัดระดับเขต (35 KPI) และระดับจังหวัด (35 KPI) รวม 91 KPI
5.2 การกำกับ ติดตาม ประเมินผล ตามแผนยุทธศาสตร์ 16 ด้าน นโยบายรัฐมนตรี 10 ข้อ และนโยบายปลัดกระทรวง 4 ข้อ
5.3 การประเมินผลเชิงลึกในบางประเด็นที่เป็นปัญหา หรือ ในบางประเด็นที่ระดับนโยบายให้ความสนใจเป็นพิเศษในระดับพื้นที่
5.4 การประเมินการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขระดับอำเภอ ตำบล (Ranking) ปี 2558 จังหวัดยโสธร
ใน 3 ยุทธ์ 15 ประเด็น 26 ตัวชี้วัด
รพ.สต.ทุกแห่งต้องพร้อมรับการประเมิน
การประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับ คปสอ.จะออกประเมินผลพร้อมกับการนิเทศงานสาธารณสุขผสมผสาน ครั้งที่ 2 โดยมีรูปแบบการประเมิน ภาคเช้า ณ คปสอ. ภาคบ่าย ประธาน สุ่ม เลือกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 1 แห่ง เข้ารับการประเมิน ตาม KPI Ranking ใน3ยุทธศาสตร์ 15ประเด็น 26 ตัวชี้วัด
            โดยมุ่งเน้น การดำเนินงานแบบบูรณาการ 5 กลุ่มวัย ใน 4 ระบบการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
1.กลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย 2.กลุ่มเด็กวัยเรียน 3.กลุ่มเด็กวัยรุ่น 4.กลุ่มวัยทำงาน 5.กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ
บูรณาการ 1.ระบบบริการ  2.ระบบควบคุมโรค 3.ระบบคุ้มครองผู้บริโภค 4.ระบบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
Referral System เป็นตัวเชื่อม ให้เกิด Seamless ในระบบริการ  
ระบบริการ ประกอบด้วย DHS และ SERVICE Plan โดย มี ระบบ Referral System เป็นตัวเชื่อม ให้เกิด Seamless ในทั้ง 3 ระดับการบริการ Referral System คือ ตัวเชื่อม Seamless ตั้งแต่ ปฐมภูมิ ไป ทุติยภูมิ จนถึง ตติยภูมิ
(จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไป โรงพยาบาลชุมชน จนถึง โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ )


การถ่านทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ
หลักการ 3 สามประการ การปฏิบัติงาน ของ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
            เรียบง่าย สามัคคี มีธรรมาภิบาล
นโยบาย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
เรื่องที่ 1. การจัดตั้งเขตสุขภาพ เป็น 13 เขต    (เขตที่ 13 คือ กรุงเทพมหานคร)
จังหวัดยโสธร สังกัด เขตสุขภาพที่ 10 หรือ เขต มุกศรีโสธรเจริญราชธานี (ประกอบด้วย 5 จังหวัด มุกดาหาร ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี)
นายแพทย์สุใหญ่ หลิ่มโตประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร ปฏิบัติหน้าที่ CHRO เขตสุขภาพที่ 10 (ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารงานบุคคล Chief Human Resource Officer: CHRO)
เรื่องที่ 2. การพัฒนากำลังคนและขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่
เรื่องที่ 3. ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง
เรื่องที่ 4. ธรรมาภิบาล
            เน้นการจัดซื้อจัดหาในภาพรวมทั้งกระทรวง ใน พัสดุ 5 กลุ่มคือ
1ยา 2วัสดุการแพทย์ 3วัสดุทันตกรรม 4วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ 5วัสดุสำนักงาน

ขอบพระคุณ คณะ นิเทศงานสาธารณสุขผสมผสาน จาก สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร ทุกท่านที่ได้คำแนะนำด้วยดี อาทิเช่น
นางสุนทรี รัศมิทัติ หัวหน้ากลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม สสจ. ยโสธร
นางประชุมพร กวีกรณ์        หัวหน้ากลุ่มงาน ควบคุมโรคไม่ติดต่อ  สสจ. ยโสธร
นางนิภาภรณ์ ภาคพรหม     หัวหน้ากลุ่มงาน สสจ. ยโสธร
ทพญ.ปิยนุช มาลัย           งานทันตสาธารณสุข สสจ. ยโสธร
ภญ.จิตรทิพย์ ชนาเทพาพร งานเภสัชสาธารณสุข สสจ. ยโสธร
นางรักชนก น้อยอาสา        งานพัฒนาคุณภาพ และสสม. สสจ. ยโสธร
นางณัทชุดา จิรทวีธรรม      งานประกันสุขภาพ สสจ. ยโสธร
นางพนมวรรณ คาดพันโน   งานควบคุมโรค สสจ. ยโสธร
นายอุดมศักดิ์ แก้วจันทร์วงษ์           งานบริหาร สสจ. ยโสธร
นางกันต์กนิษฐ์ ศรีวิเศษ     งานส่งเสริมสุขภาพ สสจ. ยโสธร
ทีมงานเลขานุการผู้ประสานงาน โดย
นางสุภาพร แก้วใสหัว        งานพัฒนายุทธศาสตร์ สสจ. ยโสธร
นางสิริพร พงศ์พัฒนโชติ     งานพัฒนายุทธศาสตร์ สสจ. ยโสธร
ดร.พัชรวาท พงษ์สนิท       งานพัฒนายุทธศาสตร์ สสจ. ยโสธร

ดร.ภูเบศร์ แสงว่าง            งานพัฒนายุทธศาสตร์ สสจ. ยโสธร เป็นต้น 

No comments:

Post a Comment