วันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 วันนี้นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง เข้าร่วมอบรม เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายกับผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ปี 2562 ณ ห้องประชุม โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพมหานคร
บันทึก..Note .. ปัจจุบัน บริษัท หน่วยงานเอกชน หลายแห่ง มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้ อนุมัติให้เงินเพิ่มรายเดือน ให้กับ ผู้มีใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
เหลือเพียงหน่วยงานภาครัฐ ที่อยู่ระหว่างการออกระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยหากสำเร็จแล้ว ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ที่อยู่ในภาครัฐ จะได้รับ เงินเพิ่มตามหลักเกณฑ์ที่ องค์กรต่างๆกำหนด
ตัวอย่าง กระทรวงสาธารณสุข จะได้รับสิทธิ ตามกฎหมาย เช่น
1. เงินประจำตำแหน่ง ตาม พ.ร.ฎ. ที่ ก.พ. กำหนด เช่น ระดับ 7 รับ 3,500 ระดับ 8 รับ 5,600x2 ระดับ 9 รับ 9,900x2 เป็นต้น
2. เงิน พตส. หรือ ตาม ว. 505 หาก เป็นข้าราชการ มีใบประกอบวิชาชีพ จะได้รับจากเงินงบประมาณ
เป็นข้าราชการที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ให้เบิกจากเงินบำรุง
3. การออกชันสูตรพลิกศพ แพทย์ และเจ้าหน้าที่ผู้มีใบประกอบวิชาชีพ จะได้รับจากเงินงบประมาณ
เจ้าหน้าที่อื่น ที่ออกร่วมปฏิบัติงาน ให้เบิกจากเงินบำรุง
หนังสือกระทรวงสาธารณสุข หนังสือเลข ที่ สธ 0201.042.1/ว505 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2551
4. เงินค่าตอบแทน เงิน ฉ. ต่างๆ เช่น ฉ. 5 ฉ. 11
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ... หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552
ฉ. 11 ข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2559 ตามประกาศ ลงวันที่ 27 มีนาคม 2561
สถานการณ์ ณ 18 ตุลาคม 2562 มีจำนวนสมาชิกที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การสาธารณสุขชุมชน จำนวน 12,937 คน ประกอบด้วย
สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานภาครัฐ 12,550 คน
สังกัด กทม. หรือ อปท. 197 คน
สังกัดมหาวิทยาลัยภาครัฐ 61 คน
สังกัดมหาวิทยาลัยเอกชน 24 คน
สังกัดบริษัท หน่วยงานเอกชน 106 คน
สังกัดรัฐวิสาหกิจ 2 คน
สังกัดกระทรวงมหาดไทย 2 คน
สังกัดหน่วยงานอิสระ 35 คน
โดยมีผู้อยู่ระหว่างการรอการอนุมัติเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน จำนวน 6,583 คน
ทั้งนี้ หลายคนที่สมัครไม่ทัน ยังสามารถเข้ารับการอบรม จริยธรรมวิชาชีพหมออนามัย หรือ จริยธรรมและกฎหมายกับผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ได้ อีก ใน ครั้งที่ 2 วันที่ 11 - 12 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมพูลแมนขอนแก่น นะครับ ดูรายละเอียดและสมัครได้ สภาการสาธารณสุขชุมชน Council of Community – Public Health : CCPH
ประทับใจ มาตรฐานห้องน้ำ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เป็นตัวอย่างที่ดี ของห้องน้ำ ยุค Thailand 4.0 ครับ
ทั้งนี้ สภาฯกำลังเสนอ ( ร่าง )ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจประเมินและบำบัดโรคเบื้องต้น การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และการวางแผนครอบครัว พศ. … เนื้อหาสาระส่วนหนึ่ง ระบุให้ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนให้กระทำการตรวจประเมินและการบำบัดโรคเบื้องต้น ดังนี้
-ไข้ตัวร้อน
-ไข้ และมีผื่นหรือจุด
-ปวดท้อง
-ท้องผูก
-ท้องเดิน
-คลื่นไส้อาเจียน
-โรคขาดสารอาหาร
-อาหารเป็นพิษ
-โรคหวัด
-โรคผิวหนัง
-แผลในช่องปาก
-การชะล้างบาดแผล
-การให้น้ำเกลือผู้ป่วยอาเจียนจากการสูญเสียสมดุลของสารน้ำในร่างกาย
-ภาวะช็อกจากการสูญเสียสมดุลของสารน้ำในร่างกาย
-การทำคลอดปกติในภาวะฉุกเฉิน
-กระดูกหัก
-ข้อเคล็ด
-ข้อเคลื่อน
-ไฟไหม้
-น้ำร้อนลวก
-การช่วยฟื้นคืนชีพ
-เย็บบาดแผนที่ไม่สาหัด และในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตราย
นอกจากนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนสามารถวางแผนครอบครัวได้ คือ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว และการให้ยาคุมกำเนิดและถุงยางอนามัย เป็นต้น
🚨คดีหมา หมา ที่ ไม่ หมา อีกต่อไป ถ้าหมาจรจัดกัดคนใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ReplyDelete✨❄️🌸 ระหว่าง
คนที่ให้อาหาร เป็นครั้งคราวด้วยความเมตตา⁉
คนที่ให้อาหารหมา เป็นประจำ ⁉
หรือเทศบาล / อบต / กรมปศุสัตว์
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า
หมาจรจัด #ที่คนให้อาหารเป็นครั้งคราว เป็นบางครั้งบางโอกาส ด้วยความเมตตา #รวมถึงคนที่ให้อาหารประจำ แต่ไม่ใช่ผู้รับเลี้ยงรับผิดชอบชีวิต ของสุนัขจรจัด #ไม่ถือว่าเป็นเจ้าของสุนัขจรจัด
มี #คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 764/2556 ที่อธิบายในเรื่องนี้ว่า
การให้คำนิยามความหมายของคำว่า "เจ้าของสุนัข" หมายความรวมถึง "ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย" นั้น
"มีผลทำให้ประชาชนที่เพียงแต่ให้อาหารแก่สุนัขจรจัดเป็นประจำด้วยความเมตตา ต้องมีภาระหน้าที่ในการพาสุนัขจรจัดไปฝังไมโครชิปและจดทะเบียนสุนัข มิเช่นนั้น อาจทำให้บุคคลนั้นกระทำผิดกฎหมาย ทั้งที่หน้าที่ในการจัดการ ควบคุม ดูแลสุนัขจรจัด 🌸เป็นหน้าที่ของท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นกลับผลักภาระดังกล่าวมาให้กับประชาชน
ดังนั้น การให้บทนิยามดังกล่าว ที่ให้หมายความรวมถึง "ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย" จึงเป็นข้อบัญญัติที่
1. สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น
2. สร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
3. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้เพิกถอนข้อบัญญัติ ฯ ข้อ 5 เฉพาะที่ให้ความหมาย "เจ้าของสุนัข" ว่า ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย"
#แต่ถ้าหมาไม่มีเจ้าของกัดคนใครต้องรับผิดชอบ
เมื่อหมาจรจัดไม่มีเจ้าของ และจะไปบังคับคนที่เลี้ยงประจำมารับผิดชอบก็ไม่ได้
เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์ #ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
#คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีที่
อ.1751/2559
🎄ได้วินิจฉัยไว้ว่า เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์ ที่จะต้องรับผิดชอบในการจัดการดูแลสุนัขจรจัดซึ่งสุนัขเป็นสัตว์ควบคุมตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 เมื่อสุนัขจรจัดไปทำลายทรัพย์สิน หรือรุมกัดผู้อื่น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
องค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์จึงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ตามมาตรา 67 และ มาตรา 68 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ให้ราชการผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับเอกชนผู้ฟ้องคดีนั้น