10 มี.ค.65 มาตรการ 1 3 7 ปลอดมาลาเรีย 1 แจ้ง 3 สอบ ตอบ 7 ณ รพ.สต.บ้านหนองแคนน้อย อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
วันที่
10 มีนาคม 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา นายไชยา ปาวะพรม และคณะร่วมกิจกรรม
การประเมินในพื้นที่
ประกอบความพร้อมเป็นจังหวัดปลอดโรคมาลาเรีย
ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแคนน้อย อำเภอเลิงนกทา
หัวหน้าคณะ
ตรวจประเมิน โดย
ดร.ประยุทธ์ สุดาทิพย์ รองผู้อำนวยการกองโรคติดต่อนำโดยแมลง
กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข
ประสานการปฏิบัติด้วยดี โดย นายรุ่งรัตน์ ผิวทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแคนน้อย
ประเทศไทยมีเป้าหมายกำจัดโรคมาลาเรียให้หมดไปจากประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2567
และได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก
( WHO) ภายในปี 2569
ภายใต้ความเชื่อมั่น 2 ประการ
ประการที่ 1 ให้เกิดระบบที่เข้มแข็งในการดำเนินงานกำจัดโรคและ
ประการที่ 2 เฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เกิดการกลับมาแพร่เชื้อใหม่
จังหวัดยโสธร มีผู้ป่วยย้อนหลัง
3 ปี ปี 2562 พบ 13 ราย ปี 2563 พบ 1 ราย ปี 2564 ไม่พบผู้ป่วย
อำเภอเลิงนกทา
มีผู้ป่วยย้อนหลัง 3 ปี ปี 2562 พบ 1 ราย
ปี 2563 พบ 1 ราย ปี
2564 ไม่พบผู้ป่วย
ในระดับพื้นที่
ตำบล เน้นการเฝ้าระวัง ป้องกันและ
ควบคุมโรคไข้มาลาเรีย ตามมาตรการ 1-3-7 คือ
เลข 1
นำข้อมูลผู้ป่วยมาลาเรียเข้าระบบมาลาเรียออนไลน์ได้ภายใน 1 วัน
เลข 3 สอบสวนผู้ป่วยมาลาเรีย
ได้ภายใน 3 วัน
เลข 7 ตอบโต้แหล่งแพร่เชื้อที่ติดเชื้อมาลาเรีย
ในพื้นที่ได้ ภายใน 7 พร้อม การจัดการกับการระบาด ให้สงบ
อำเภอเลิงนกทา
เป็นพื้นที่ที่พบผู้ป่วยที่ตัดสินว่าติดเชื้อมาลาเรีย ในพื้นที่
รายสุดท้ายของจังหวัดยโสธร
เมื่อ 7 กรกฎาคม 2560
ผู้ป่วยชายอายุ 16 ปี 4 เดือน 35 หมู่ 7 บ้านหนองแคนน้อย ต.บุ่งค้า อ.เลิงนกทา
อาการไข้ หนาวสั่น
ปวดศีรษะ ไอมีเสมหะ เป็นมา 7 วัน ไปรักษาที่ รพ.สต. อาการไม่ทุเลา
ส่งต่อไปที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา
แพทย์วินิจฉัยและทำการส่งตรวจหาเชื้อมาลาเรีย
เมื่อตรวจพบเชื้อจึงส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธร
เนื่องจากระบบการรักษาผู้ป่วยไข้มาลาเรียในพื้นที่จังหวัดยโสธร
เมื่อพบผู้ป่วยทุกรายจะส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลยโสธร
การเข้าศึกษาทางกีฏวิทยาพื้นที่อำเภอเลิงนกทา
จังหวัดยโสธร (
จับยุงในพื้นที่ไปตรวจ )
หมู่ที่
7 บ้านหนองแคนน้อย วันที่ 21-22กันยายน 2563
หมู่ที่
13 บ้านหนองแคนน้อย วันที่ 3-4 ธันวาคม 2563
หมู่ที่
16 บ้านช่องเม็ก วันที่ 21-22 กันยายน 2563
หมู่ที่ 9 บ้านศรีชุมพร วันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2563
ด้านที่ 1 ระบบเฝ้าระวังโรค
ด้านที่ 2 การตรวจรักษาผู้ป่วย
ด้านที่ 3 คณะกรรมการป้องกันควบคุมโรค
ด้านที่ 4 การวางแผน
กำกับติดตามและประเมินผล
ด้านที่ 5 การระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม
No comments:
Post a Comment