3/31/22

26 มี.ค.65ฉีดครบ วัคซีนทำได้ COVID กลายเป็นไข้หวัด self-isolation

26 มี.ค.65ฉีดครบ วัคซีนทำได้ COVID กลายเป็นไข้หวัด self-isolation   

วันที่ 26 มีนาคม 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา บันทึก คุณุปการของวัคซีน ป้องกัน COVID จนทำให้กลายเป็นไข้หวัด จากบทความของ พญ.ธนรรญา วงศ์สีนิล รามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์  ดังนี้

เรื่อง #self-isolation   








 อย่างที่ทราบ ยอด COVID เคสใหม่ ทำลายสถิติใหม่ทุกวัน เคสหนักก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว สุดท้ายระบบสาธารณสุขจะรองรับดูแลทุกคนที่ติดเชื้อไม่ไหว

 ดีที่เรารู้จักมันพอสมควรแล้ว เหมือนที่เรารู้ว่าต้องดูแลตัวเองอย่างไรเวลาเป็นหวัด

 ใช่ค่ะ วัคซีนทำให้โควิดกลายเป็นแค่ไข้หวัด

อายุ< 60 ปี BMI < 30 ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้วไม่เกิน 3 เดือน

คุณคือผู้ที่สามารถดูแลตนเองที่บ้านได้ค่ะ ไม่น่ากลัวเลย เรียกว่า self-isolation   

หากคุณเป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง อายุน้อยกว่า 60 ปี BMI < 30 ได้รับวัคซีนครบ กระตุ้นแล้วไม่เกิน 3 เดือน คุณคือผู้ที่สามารถดูแลตนเองที่บ้านได้ค่ะ ไม่น่ากลัวเลย

เกิดวันนึงมีอาการแสบคอ เจ็บคอ คัดจมูก ไอ ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วสงสัยว่าตัวเองจะเป็นโควิดมั้ยก็เอา ATK มาจิ้มจมูกให้สิ้นสงสัย ถ้าขึ้น 2 ขีดก็คือใช่ มงลงที่คุณค่ะ (ไม่ต้องไปสืบหาว่าติดมาจากไหน ชั้นไม่ได้ออกไปไหนเลยนะ ติดได้ยังไง… เพราะตอนนี้มันอยู่ทุกที่แล้ว เหมือนเวลาเป็นหวัด เราก็ไม่เคยไปหาว่าติดจากไหน คิดซะว่าออกไปตากฝนมาเนอะ)

พอขึ้น 2 ขีดแล้วตั้งสตินะคะ อย่ากรีดร้อง เดี๋ยวเชื้อฟุ้งกระจาย ค่อยๆดึงแมสก์ขึ้นมาปิดจมูกแล้วเดินเงียบๆเข้าห้องปิดประตูไป จากนั้นส่งไลน์กรุ๊ปครอบครัว และเพื่อนฝูงที่เราเจอในช่วง 3 วันที่ผ่านมา แจ้งให้ทราบว่า หนูมงลงแล้วนะคะ ช่วยตรวจ ATK ของตัวเองว่าใครเป็นบ้าง ใครที่เป็น ก็ทำแบบเดียวกันตามสเต็ปถัดไป ส่วนที่ยังไม่เป็นก็กักตัวค่ะ อีก 3 วันดูอาการแล้ว ATK อีกสักทีตอน 7 วัน กักต่อครบ 10 วัน ไม่มีอาการอะไรก็ได้ไปเวทีต่อไปค่ะ

 

หลังจากเข้าห้อง และแจ้งคนรอบตัวแล้วทำดังนี้นะคะ

1.โทรไปลางาน แจ้งที่ทำงาน เจ้านาย ลูกน้องให้เรียบร้อย

2. แจ้ง 1330 (โทรไม่ติดไม่เป็นไรนะคะ ค่อยๆโทร แค่โทรไปแจ้งว่าเราติดเฉยๆนะ ไม่ต้องพยายามหาเตียง หายาอะไร หรือถ้าโทรไม่ได้จริงๆ ข้ามข้อนี้ไปเลยค่ะ)

3. สังเกตอาการตัวเอง นึกดีๆว่าเราเริ่มมีอาการวันแรกวันไหน นับเป็น day 0 เก็บเอาไว้ในใจนะคะ

4. มีอาการอะไรก็กินยาตามนั้น ลดไข้ ลดน้ำมูก ยาอมแก้เจ็บคอ ลดเสมหะ แก้ไอ (เตรียมติดบ้านไว้เลยนะคะ)

5. ข้อนี้ไอเท็มเสริม ถ้ามีก็อุ่นใจขึ้น คือ ปรอทวัดไข้ กับ ที่วัดออกซิเจนปลายนิ้ว (มีติดไว้และฝึกวัดไว้ก่อน ตอนเป็นจะได้ไม่ลน) วัดวันละครั้งหรือสองครั้งเช้าเย็นก็พอนะ จะได้ไม่ ปสด มาก

ถ้าวัดได้ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ติดต่อรพ. หรือ 1330 นะคะ

- ไข้ > 37.5 องศาเซลเซียส เกิน 3 วัน

- รู้สึกเหนื่อย แน่นอก ไอมาก วัดออกซิเจนได้ < 96% หรือ วัดออกซิเจนหลังออกกำลังกายแล้วลดลง > 3%

6. นอนดูซีรีส์ หรือทำงานที่คั่งค้างให้เสร็จ หรือจะเข้าเรียนออนไลน์ ประชุมออนไลน์ อะไรก็ทำไปค่ะ นับวันไป พอถึง day 7 คุณหายแล้วค่ะ จากนั้นก็นอนต่อแบบสบายใจขึ้น ไปจนครบ 10 วัน

7. แจ้งที่ทำงานกับคนรอบข้าง ไปว่าครบ 10 วันชั้นจะกลับไปทำงานแล้วจ้า

เป็นอันครบกระบวนการ self isolation ที่บ้านแบบชิลๆ (ไม่ต้องพกฟาวิ กระชายขาว ฟ้าทะลายโจนอะไรไว้ก็ได้นะ เพราะระลอกนี้มันไม่ค่อยช่วยอะไร)

 

แต่ๆๆๆๆ ถ้าคุณมีโรคประจำตัวที่ทำให้ภูมิอ่อนแอ เช่น เบาหวานที่คุมไม่ดี น้ำหนักเกิน ไตวายเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง หอบหืด กินยากดภูมิ อายุเกิน 60 ยังไม่ได้วัคซีน หรือยังไม่ได้กระตุ้น ติดต่อรพ.เลยค่ะ

 

ถึงตอนนี้สิ่งที่ให้เตรียมไว้คือ

1. ที่แยกเพื่อกักตัว

2. ยาสามัญประจำบ้าน

3. ปรอทวัดไข้ และที่วัดออกซิเจนปลายนิ้ว

4. อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ (อย่าลืมที่ชาร์จ)

5. คนส่งอาหารถึงหน้าประตู

6. ถุงแยกขยะในห้อง กับถังใส่เสื้อผ้าซักแล้ว (เก็บไว้ซักทีเดียว ตอนกักตัวครบ)

 

ใครยังไม่ฉีดวัคซีน หรือยังไม่ได้กระตุ้น ไปฉีดซะนะคะ ที่นอนไอซียูตอนนี้ ไม่มีใครฉีดเลยค่ะ /เตือนแล้วนะ

 

พญ.ธนรรญา วงศ์สีนิล (Thananya Wongsinin)

Neuro med, รามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์

No comments:

Post a Comment