3/28/22

19 มี.ค.65 Combatting Plateau Declining( 3+1) Post pandemic 4 ระยะ : 3 ก ต่อสู้ Covid-19 เป็นโรคประจำถิ่น

19 มี.ค.65  Combatting Plateau Declining( 3+1) Post pandemic 4 ระยะ : Covid-19 เป็นโรคประจำถิ่น

วันที่ 19 มีนาคม 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา

            บันทึกเตือนความจำ เตรียมความพร้อม Covid-19 เป็นโรคประจำถิ่น

แต่ประชาชนยังต้องปฏิบัติตามมาตรฐานป้องกันโรคเช่นเดิม ทั้งมาตรการ VUCA  และ DMHTT

V-Vaccine, U-Universal Prevention, C-Covid-19 free setting และ A-ATK

ด้านวัคซีน เน้นสร้างความเข้าใจให้ประชาชนมีความเข้าใจว่า หากทุกคนได้รับวัคซีนครบถ้วน โดยเฉพาะบูสเตอร์โดส เข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) จะลดความรุนแรงของโรคได้ กลุ่มเป้าหมายหลักคือ กลุ่ม ผู้สูงอายุ หรือ กลุ่ม 608

            Combatting Plateau Declining( 3+1) Post pandemic

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

 รายละเอียดแผนการเข้าสู่โรคประจำถิ่น  หรือ Endemic approach ที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้เห็นชอบนั้น แบ่งออกเป็น 4 เดือน เรียกว่า 3 บวก 1 (3+1 = 4 ระยะ) ดังนี้

ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้นเม.ย.) เรียกว่า Combatting เป็นระยะการต่อสู้เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลงโดยมีมาตรการต่าง ๆ การดำเนินการให้กักตัวลดลง

ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.) เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ

ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.) เรียกว่า Declining คือ การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1-2 พันราย

อีกบวก 1 หรือระยะ คือ ตั้งแต่ 1 ก.ค.2565 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น โดยแผนดำเนินการทั้งหมดจะต้องการให้เกิดภายใน 4 เดือน ซึ่งหากเป็นไปตามแผนมาตรการที่วางไว้ ในวันที่ 1 ก.ค.65 เป็นต้นไป โควิดจะเข้าสู่โรคประจำถิ่น

            นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค

การควบคุมอัตราการเสียชีวิตเพื่อเข้าสู่โรคประจำถิ่นนั้น ต้องไม่เกิน 1 ในพันราย  หรือ 0.1 % โดยปัจจุบันเฉลี่ย 19-20 ต่อพันราย

(0.19% จนถึง 0.2%)  แต่ถ้าเข้าสู่โรคประจำถิ่นต้องประมาณ 0.1%

ปัจจุบัน คนเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็น 608 ซึ่งต้องลดให้ได้ 0.1%  




No comments:

Post a Comment