3/15/22

9 มี.ค.65 จังหวัดปลอดมาลาเรีย ประเมิน ณ สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

9 มี.ค.65 จังหวัดปลอดมาลาเรีย ประเมิน ณ สาธารณสุขจังหวัดยโสธร

วันที่ 9 มีนาคม 2565 นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง สาธารณสุขอำเภอเลิงนกทา และคณะ  เข้าร่วมกิจกรรม

การประเมินความพร้อมเป็นจังหวัดปลอดโรคมาลาเรีย  ณ ห้องประชุม 1 อาคารชั้น 4  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

หัวหน้าคณะ ตรวจประเมิน โดย  ดร.พญ.ฉันทนา ผดุงทศ ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อนำโดยแมลง

กรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข

นพ.ธีระพงษ์ แก้วภมร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร  มอบหมายให้ นพ.ภาณุพันธุ์ ธนปฐมสินธ์ชัย รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร นำคณะจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมกิจกรรม

           ประเทศไทยมีเป้าหมายกำจัดโรคมาลาเรียให้หมดไปจากประเทศ ภายในปี พ.. 2567

และได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก ( WHO) ภายในปี 2569

ภายใต้ความเชื่อมั่น 2 ประการ

ประการที่ 1 ให้เกิดระบบที่เข้มแข็งในการดำเนินงานกำจัดโรคและ

ประการที่ 2 เฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เกิดการกลับมาแพร่เชื้อใหม่

 

จังหวัดยโสธร มีผู้ป่วยย้อนหลัง 3 ปี ส่วนมากเป็นทหารเกณฑ์ ที่ไปปฏิบัติราชการ ณ ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ

ปี 2562 พบ 13 ราย ปี 2563 พบ 1 ราย ปี 2564 ไม่พบผู้ป่วย

อำเภอเลิงนกทา ผู้ป่วยย้อนหลัง 3 ปี ไม่มีผู้ป่วย


ข้อกังวลห่วงใย : การประสานข้อมูลกัน ระหว่าง กระทรวสาธารณสุข กับ หน่วยทหาร ในพื้นที่ 

อำเภอเลิงนกทา พบผู้ป่วยที่ตัดสินว่าติดเชื้อมาลาเรีย ในพื้นที่ รายสุดท้าย  เมื่อ 7 กรกฎาคม 2560

ผู้ป่วยชายอายุ 16 ปี 4 เดือน 35 หมู่ 7 บ้านหนองแคนน้อย ต.บุ่งค้า อ.เลิงนกทา

อาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ไอมีเสมหะ เป็นมา 7 วัน ไปรักษาที่ รพ.สต. อาการไม่ทุเลา

ส่งต่อไปที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา แพทย์วินิจฉัยและทำการส่งตรวจหาเชื้อมาลาเรีย

เมื่อตรวจพบเชื้อจึงส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธร เนื่องจากระบบการรักษาผู้ป่วยไข้มาลาเรียในพื้นที่จังหวัดยโสธร เมื่อพบผู้ป่วยทุกรายจะส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลยโสธร

การประเมินรับรองการปลอดจากการแพร่เชื้อในพื้นที่ 5 ด้าน ได้แก่

ด้านที่ 1 ระบบเฝ้าระวังโรค

ด้านที่ 2 การตรวจรักษาผู้ป่วย

ด้านที่ 3 คณะกรรมการป้องกันควบคุมโรค

ด้านที่ 4 การวางแผน กำกับติดตามและประเมินผล  

ด้านที่ 5 การระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม





No comments:

Post a Comment