7/13/09

ร่วมให้กำลังใจคนดี ศรีสยาม ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์



วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 ร่วมให้กำลังใจคนดี ศรีสยาม ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ คว้ารางวัลแมกไซไซ 2552 ครับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2552 ... ตอนปี 2547 ท่านก็ ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก จาก Letten Foundation ประเทศนอร์เวย์ และได้รับการยกย่องจากนิตยสารรีดเดอร์สไดเจสต์ ให้เป็นบุคคลแห่งปีของเอเชีย ประจำปี พ.ศ. 2551. ขอบคุณ ข่าว และเนื้อหาดีๆ จาก Dailynews.co.th
เภสัชไทยเจ๋ง! คว้ารางวัล'แม็กไซไซ'2009
วันเสาร์ ที่ 11 กรกฎาคม 2552 เวลา 15:18 น
วันนี้ (11 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิแม็กไซไซ อวอร์ด ได้คัดเลือก ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ อดีตผอ.สถาบันวิจัยแลพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ผู้คิดค้นยาต้านไวรัสเอชไอวีรวมเม็ด และขณะนี้ตระเวนไปประเทศต่างๆ ในแอฟริกา เพื่อสอนการผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวีได้เอง เป็นผู้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2552

ดร.กฤษณา เปิดเผยว่า รู้สึกยินดีและซาบซึ้งที่ได้รับเกียรติคัดเลือกให้เป็นผู้รับรางวัลแมกไซไซในปีนี้ และขอขอบคุณ ซึ่งโดยส่วนตัวจะยังคงมุ่งมั่นการทำงานต่อไป โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้คนเข้าถึงยาไม่ว่าจะในประเทศใด เป็นเป้าหมายการทำงานที่ยึดมาโดยตลอด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เพียงแต่อาจเปลี่ยนประเทศ เปลี่ยนสถานที่ทำงาน เปลี่ยนคนที่ต้องติดต่อเท่านั้น ซึ่งก็ถือเป็นกำลังใจในการทำงานให้ตน และขณะเดียวกันตนก็จะเป็นกำลังใจในการทำงานให้คนอื่นๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะมีรางวัลหรือไม่ เราก็ยังต้องทำงานต่อไป เพราะการทำงานที่ผ่านมาก็ไม่เคยหวังที่จะได้รับรางวัลใดๆ เราทำงานของเราไป แต่ก็ดีใจที่คนเห็นเรา

สำหรับประวัติของ ดร.กฤษณา เป็นชาวเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี จบการศึกษาจากโรงเรียนราชินี และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และไปศึกษาต่อปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตราห์ไคลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ ประเทศอังกฤษ หลังจบการศึกษากลับมาทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จนเป็นหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมีในปี พ.ศ. 2524 และลาออกมาทำงานที่สถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม เป็นเวลา 22 ปี ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2542 ดร.กฤษณา ได้รับเชิญจากองค์การอนามัยโลก ไปที่แอฟริกาเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตยาไวรัสเอดส์ให้กับผู้ป่วยที่นั่น หลังจากได้เห็นความยากลำบากของ เธอจึงตัดสินใจลาออกจากองค์การเภสัชกรรมในปี พ.ศ. 2545 และเดินทางไปแอฟริกา เพื่อช่วยดำเนินงานจนสามารถจัดตั้งโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ชื่อ AFRIVIR ในประเทศคองโกได้เป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2548 และผลิตยารักษามาลาเรีย ชื่อ Thai-Tanzunate ในประเทศแทนซาเนีย

ก่อนหน้านี้ ดร.กฤษณา ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก ประจำปี พ.ศ. 2547 จาก Letten Foundation ประเทศนอร์เวย์ และได้รับการยกย่องจากนิตยสารรีดเดอร์สไดเจสต์ ให้เป็นบุคคลแห่งปีของเอเชีย ประจำปี พ.ศ. 2551.
และจาก bangkokpost.co.th
Hall of Fame Krisana Kraisintu. who helps poor African nations fight Aids and malaria, is named a recipient of the Ramon Magsaysay award.

No comments:

Post a Comment